SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เพื่อไทย’ เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ยกเลิกอำนาจ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี และมาตรา 159 ให้สภาเลือกนายกรัฐมนตรีจากส.ส. ได้ คาดจะพิจารณาได้ในสมัยการประชุมนี้

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยสมาชิกพรรคเพื่อไทย จำนวน 101 คนร่วมลงชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายสุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับมอบ โดยมีสาระสำคัญคือการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 ว่าด้วยเรื่องการให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และ มาตรา 272 ยกเลิกมิให้สมาชิกวุฒิสภา ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี  

นพ.ชลน่าน กล่าวว่าด้วยพรรคเพื่อไทย มีความมุ่งหมายมาตลอดในการขอแก้รัฐธรรมนูญปี 2560 โดยเฉพาะในมาตราที่เห็นว่า เป็นปัญหาที่สุดในการบังคับใช้ และมีผลต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้พยายามเสนอการแก้ไขในหลายครั้งแม้จะไม่สำเร็จก็ตาม ในครั้งนี้เราเห็นว่ามาตราสำคัญที่ควรถูกแก้ไขมีอยู่ 2 มาตรา คือมาตรา 272 และมาตรา 159 

โดยที่มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนั้น เท่ากับให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมิได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีสิทธิในการเลือกผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย ย่อมขัดต่อหลักการและประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งให้นายกรัฐมนตรีมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง

นอกจากนั้นจำนวนสมาชิกวุฒิสภา 250 คน จะมีส่วนสำคัญในการลงมติสนับสนุนให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองที่อาจไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากมาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลได้ ทั้งๆ ที่ขัดต่อความต้องการของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง 

ดังจะเห็นได้จากการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่ผ่านมา และที่สำคัญคือจะทำให้เกิดปัญหาในฝ่ายนิติบัญญัติ กรณีที่รัฐบาลมิได้ครองเสียงข้างมาก หรือมีเสียงข้างมากที่ก้ำกึ่งกันในสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกได้รับการคัดเลือกและเสนอชื่อโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งสิ้นสุดลงแล้วตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 259 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้พ้นระยะห้าปีตามกำหนด จึงไม่ควรให้สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเลือกผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป 

นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่านอกจากนั้นการให้ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีจำกัดเฉพาะผู้ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเท่านั้น เป็นการไม่สอดคล้องตามหลักการประชาธิปไตยและประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

การเลือกผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในครั้งต่อๆ ไป จึงควรให้เป็นไปตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ด้วย จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272 จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  

นพ.ชลน่าน กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อมีการยื่นหนังสือกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วนั้น โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะนำเอกสารดังกล่าวไปตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนการก่อนนำกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อโปรดพิจารณาบรรจุในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาได้ในสมัยการประชุมสมัยนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า