SHARE

คัดลอกแล้ว

กองทัพภาคที่ 3 แถลงผลตรวจทหาร 18 นาย สังกัดกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ใกล้ชิดกับเพื่อนทหารที่เป็นกรรมการมวยเวทีลุมพินี ทั้งหมดไม่พบเชื้อโควิด-19 แต่ให้กักตัวเองที่บ้านพักต่อให้ครบ 14 วัน พร้อมเข้าซักประวัติติดตามอาหารครอบครัวทหารทั้งหมดด้วย

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 22 มี.ค.2563 ที่อาคารวงศ์วานิช กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 (บชร. 3) ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อ.เมือง จ.พิษณุโลก กองทัพภาคที่ 3 พลตรีกิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ  ผบ.บชร. 3 พันเอกรุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3 พันเอกนพ.วิโรจน์  ชนม์สูงเนิน โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ นพ.รัฐภูมิ  ชามพูนท รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก แถลงข่าวสื่อมวลชน กรณีมีนายทหารสัญญาบัตร สังกัดกองพันทหารขนส่งที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ที่เป็นกรรมการมวยเวทีลุมพินี ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID -19) และนายทหารคนดังกล่าวได้เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวมาที่กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 และใกล้ชิดกับเพื่อนทหารในค่ายรวม 18 นาย จนนำมาสู่การคัดกรอง กักตัว และส่งตรวจหาเชื้อทหารทั้ง 18 นาย ทั้งนี้ ผลตรวจออกมาแล้วว่า นายทหารทั้ง 18 นาย ที่ใกล้ชิดกับกรรมการมวยเวทีลุมพินี ไม่พบเชื้อโควิด-19

สำหรับไทม์ไลน์ของการตรวจโควิด-19 ในค่ายสมเด็จพระเอการทศรถ จ.พิษณุโลก เริ่มจาก นายทหารสัญญาบัตรดังกล่าว ได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินกีฬาชกมวย ณ สนามมวยลุมพินี กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 6 มี.ค. 2563 โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ที่มีการระบาดและมีผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ COVID-19 เป็นกลุ่มก้อน และได้เดินทางกลับมาในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเตรียมการทำเรื่องปรับย้ายไปยังหน่วยทหารแห่งใหม่ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 ได้ทำการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ก่อนการปรับย้าย ในช่วงเย็นของวันที่ 11 และ 12 มี.ค. 2563   โดยมีเพื่อนร่วมงานมาร่วมในงานเลี้ยงดังกล่าว

 

นายทหารสัญญาบัตรดังกล่าว ได้เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 13 มี.ค. 2563 เวลาประมาณ 10.00 น. และได้พบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติ ในวันที่ 18 มี.ค.2563 โดยมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวคล้ายเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ถ่ายเหลว จึงได้ไปตรวจหาเชื้อโคโรนาไวรัส ในวันที่ 19 มี.ค. 2563 ณ โรงพยาบาลบำราศนราดูร อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้แจ้งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2563 เวลา 16.00 น. ว่ากำลังพลดังกล่าว มีผลยืนยันติดเชื้อ COVID -19 และได้รับการเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำราศนราดูล เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2563 เป็นต้นมา

พลตรีกิตติพงษ์  แจ่มสุวรรณ  ผบ.บชร. 3 เผยต่อว่า หลังจากทราบข่าว กองทัพภาคที่ 3, กองบัญชาการช่วยรบที่ 3, โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก และชุดเวชกรรมป้องกัน กองพันทหารเสนารักษ์ที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 จึงได้ดำเนินการลงพื้นที่คัดกรองประเมินกลุ่มเสี่ยงกำลังพลในหน่วย รวมทั้งทำการสอบสวนโรค  เพื่อหากลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสผู้ป่วยในทันที เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2563 เวลา 16.30 น. โดยพบว่ากลุ่มเสี่ยงสูงเป็นกลุ่มที่ได้ร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์และสัมผัสมือ จำนวนทั้งสิ้น 18 นาย โดยได้มีมาตรการในการดำเนินการกักบริเวณ เพื่อควบคุมป้องกันโรคกับกำลังพลดังกล่าว รวมถึงครอบครัวที่บ้านพักอีกจำนวน 6 วัน จึงจะครบจำนวน 14 วัน หลังจากที่ได้สัมผัสโรคครั้งสุดท้าย เก็บสิ่งส่งตรวจ จากกำลังพลดังกล่าว เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 วัดไข้และตรวจร่างกายในเบื้องต้น พบว่ากำลังพลทั้งหมดไม่มีไข้ มีเพียงแต่อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย จำนวน 5 นาย

 

ทั้งนี้ ได้จัดตั้งกลุ่มไลน์ ในกลุ่มผู้ต้องสงสัยเข้าข่ายใกล้ชิดสัมผัส ติดตามการวัดไข้ และอาการแสดง เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อโควิด-19 โดยให้ผู้เข้าข่ายสงสัยสัมผัสใกล้ชิดรายงานการปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน พร้อมทั้งทำความสะอาดหน่วย ด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ (ไฮเตอร์) ผสมน้ำ ในอัตรา 1 : 9 ทำความสะอาดบริเวณทุกพื้นที่ให้สุขศึกษากับหน่วยเกี่ยวกับอาการแสดงของโรค แนวทางการป้องกันควบคุมโรค รวมถึงแนวทางการทำความสะอาด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ และ เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2563 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แจ้งผลการตรวจกำลังพลกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง 18 นาย ผลไม่พบเชื้อ ทั้ง 18 นาย แต่ยังคงใช้มาตรการให้กักอยู่ที่บ้าน การป้องกันโรคส่วนบุคคลและดูอาการผิดปกติต่อจนครบ 14 วัน ในวันที่ 27 มี.ค. 2563 และจะทำการซักประวัติ ครอบครัวของกำลังพบทั้ง 18 นายด้วย

นายแพทย์รัฐภูมิ  ชามพูนท รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ของจังหวัดพิษณุโลก ว่า ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรคทั้งหมด 69 ราย ซึ่งผลตรวจไม่พบเชื้อ 69 ราย ผู้ที่อยู่ระหว่างกักกันและคุมไว้สังเกตอาการเฝ้าระวังทั้งหมด 234 ราย พ้นระยะการเฝ้าระวัง 146 รายอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 88 ราย ในการดำเนินการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของจังหวัดพิษณุโลกถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ขอให้ประชาชนสบายใจได้ พิษณุโลกมีทั้งโรงพยาบาลศูนย์คือโรงพยาบาลพุทธชินราช มีโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร รวมถึงมีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก ที่สามารถตรวจเชื้อได้อย่างรวดเร็ว  ข้อสำคัญคือ ประชาชนต้องให้ความร่วมมือในการดูแลตนเอง ไม่จำเป็นอย่างเข้าไปอยู่ในกลุ่มชุมชนมาก ๆ ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกไปข้างนอก เพราะสถานการณ์ขณะนี้ แม้จังหวัดพิษณุโลกจะยังไม่พบผู้ติดเชื้อ แต่ต้องช่วยกันระวัง เพราะเชื้อมองไม่เห็น ถ้าเราสวมหน้ากากอนามัยเมื่อไอ จาม ก็จะไม่แพร่ให้ผู้อื่น และโอกาสที่จะรับเชื้อจากผู้อื่นก็น้อยลงด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า