SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนประวัติและความสำคัญของ ‘บ้านพิษณุโลก’ บ้านประจำตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีของไทย

บ้านพิษณุโลก ชื่อเดิมชื่อว่า บ้านบรรทมสินธุ์ เป็นบ้านที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานให้กับ พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) อดีตอธิบดีกรมมหาดเล็กและอดีตผู้บัญชาการกรมมหรสพ น้องชายเจ้าพระยารามราฆพ เจ้าของ ‘บ้านนรสิงห์’ ปัจจุบัน คือ ทำเนียบรัฐบาล ใช้อยู่อาศัย บนที่ดินเนื้อที่ 50 ไร่ บนถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาลีประจำกระทรวงโยธาธิการ ซึ่งมีผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หลายแห่ง อาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล สะพานมัฆวานรังสรรค์ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

(ภาพ วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix)

ลักษณะเด่นของบ้านพิษณุโลก ตึกนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นตึกประธานของบ้าน มี 3 ชั้น (ไม่รวมห้องใต้ดิน) โดยชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงใหญ่ และมีห้องรับรองแขก 2 ห้อง ต่อมาที่ชั้น 2 เป็นห้องนอน 2 ด้าน ซึ่งเคยเป็นห้องนอนของพระยาอนิรุทธเทวา และชั้น 3 เป็นห้องพระใหญ่ใต้โดมหน้าตึก ด้านหลังของห้องพระมีห้องนอน

มีรูปปั้นนารายณ์บรรทมสินธุ์ สัญลักษณ์พระราชทานของตระกูล ประดิษฐานอยู่บนแท่นศิลาในอ่างน้ำพุ และมีตึกบริวาร ได้แก่ ตึกเย้าใจ เรือนคู่ใจ เรือนณรงค์ เรือนกลัมพากร และโรงรถ

จุดเปลี่ยนของบ้านพิษณุโลก ตามประวัติพบว่า ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ตระกูลอนิรุทธเทวา ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ พระยาอนิรุทธเทวา ได้ทูลเกล้าฯ ถวายบ้านบรรทมสินธุ์ เพื่อให้เป็นราชสมบัติ เนื่องจากเกินกำลังในการบำรุงรักษา แต่ได้รับการปฏิเสธ พระยาอนิรุทธเทวา และครอบครัว ได้ย้ายออกไปอยู่อาศัยต่างจังหวัด และไม่ได้ใช้บ้านบรรทมสินธุ์อีก

เส้นทางสู่เรือนรับรองแขกสำคัญของรัฐบาลไทย

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ใช้บ้านบรรทมสินธุ์เป็นบ้านรับรอง นายพลฮิเดกิ โทโจ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และได้ติดต่อขอซื้อหรือเช่าจากพระยาอนิรุทธเทวา เพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นซื้อไปเป็นสถานทูต เนื่องจากบ้านพิษณุโลกอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ให้กองพันทหารราบที่ 3 พระยาอนิรุทธเทวา แบ่งขายให้ 25 ไร่ ในราคา 5 แสนบาท เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2485 รัฐบาลจอมพล ป. ใช้บ้านบรรทมสินธุ์เป็น กรมประสานงานไทย-ญี่ปุ่น และเปลี่ยนชื่อครั้งแรกว่า ‘บ้านไทย-พันธมิตร’ แต่หลังจากญี่ปุ่นแพ้สงคราม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘บ้านพันธมิตร’ ก่อนที่จอมพล ป. จะเปลี่ยนชื่อบ้านอีกครั้งว่า ‘บ้านพิษณุโลก’ ตามชื่อถนนที่ตั้งของบ้าน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ปรับปรุงบ้านพิษณุโลก ใช้เป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งแรก

นายกฯ คนไหนเคยนอนบ้านพิษณุโลก

บ้านพิษณุโลก เป็นบ้านพักประจำตำแหน่ง นายกฯ ก็จริง แต่มีนายกฯ มาอยู่ มาใช้น้อยมาก โดยหลังปรับปรุงบ้านเสร็จในปี พ.ศ. 2524 นายกฯ คนแรก ที่มาประเดิม คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่อยู่ได้เพียงไม่กี่วัน พล.อ.เปรม ก็ย้ายออกไปพักที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ ถนนศรีอยุธยา โดยไม่ระบุเหตุผล

(ภาพจาก หนังสือ รัฐบุรุษชื่อเปรม)

ต่อมา ยุคพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ใช้เป็นที่ทำการของคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี จนทำให้ที่ปรึกษาของพล.อ.ชาติชาย ได้ฉายาว่า ‘ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก’ แต่ไม่ใช้เป็นที่พัก

สำหรับนายกฯ ที่พักในบ้านพิษณุโลกได้นานที่สุด คือ นายชวน หลีกภัย โดยเข้าพักขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 เนื่องจากบ้านที่ซอยหมอเหล็งซ่อมแซม เล่ากันว่า นายกฯ ชวน ใช้โซฟาในห้องทำงานซึ่งอยู่ด้านหน้าห้องนอนเป็นที่นอน ไม่ใช้ห้องนอนและไม่นอนบนเตียง โดยช่วงเช้านายกฯ ชวน ก็มักวิ่งรอบบริเวณบ้านด้วย

ภาพจาก เฟซบุ๊ก : โบราณนานมา

ขณะที่ยุคของทักษิณ ชินวัตร ใช้บ้านพิษณุโลก รับรองแขกจากนานาชาติ และบุคคลกลุ่มต่างๆ ส่วนนายกฯ คนอื่นๆ ไม่ค่อยได้ใช้จนถึงไม่ได้ใช่ รวมทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยเข้าไปนั่งทำงาน และเกือบจะเข้าพักที่บ้านพิษณุโลก หากศาลมีคำวินิจฉัยไม่ให้พักบ้านหลวง ภายในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ถ.วิภาวดีรังสิต

เหตุผลที่มีความเป็นไปได้มาก ที่นายกฯ ส่วนใหญ่ ไม่ใช้เป็นบ้านพัก เพราะว่า บ้านพิษณุโลก เป็นบ้านเปล่า ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันนัก

หรือจะเพราะ เรื่องเร้นลับของบ้าน ที่เล่าต่อๆ กันมา

มีรายงานข่าว ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 16 มีนาคม 2544 ว่า เมื่อคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (นามสกุล ชินวัตร ในขณะเป็นภริยาของนายทักษิณ ชินวัตร) นำคนงานเข้าไปทำความสะอาดในบ้านพิษณุโลก จู่ๆ คนงานหญิงคนหนึ่ง ก็มีอาการแปลกๆ ล้มตัวลงนั่งหลังค่อมคล้ายผู้สูงอายุ เช็ดถูพื้นบริเวณชั้นล่างของบ้าน พร้อมบ่นพึมพำว่า “รกหูรกตาไปหมด อะไรๆ ก็สกปรก ไม่เห็นจะทำความสะอาดกันเลย”

ทำให้คนงานอื่นๆ พากันไปตามคุณหญิงพจมาน คุณหญิงพจมานใช้มือตีไปที่ไหล่เพื่อเรียกสติคนงานคนดังกล่าวแต่ไม่ได้ผล จนต้องให้ไปเอาลูกประคำมาคล้องคอและให้ดื่มน้ำมนต์ ปรากฏว่าคนงานหญิงคนนั้นตวาดเสียงดังว่า “เอาอะไรมาให้ฉันกิน” ก่อนเทน้ำมนต์ทิ้งแล้วจึงกลับคืนสติอีกครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีเสียงเล่าลือกันว่า มักมีคนเห็น ผู้หญิงชุดไทยโบราณในบ้าน เสียงม้าร้อง ม้าวิ่ง เชื่อกันว่ามาจากรูปปั้นม้าทองแดง สนามหญ้าหน้าบ้าน นอกจากนี้ภายในบ้านยังมีศาลเจ้าพ่อพิรัญ (ท้าวหิรัญพนาสูร) ด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เคยเปิดเผยกับสื่อมวลชนถึงปัญหาของบ้านพิษณุโลก โดยสรุปว่า บ้านพิษณุโลกเป็นบ้านที่ไม่เก็บเสียง คนเดินก็มีเสียงดังอื้ออึง ถ้ามีประชุมอยู่ข้างล่าง มีคนนอนอยู่ข้างบน คนข้างบนได้ยินหมด ตนก็เคยนอนที่บ้านพิษณุโลกก็ไม่เจออะไร แล้วยังเคยคุยกับคุณเฟื่องเฉลย ลูกชายพระยาอนิรุทธเทวา ท่านเจ้าของบ้านเดิม ก็ยืนยันว่า บ้านไม่มีผึ ไม่เคยเจอ เที่ยวลือกัน และว่าเมื่อปี พ.ศ. 2557 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว สมัยเป็น คสช. เป็นประธานในการซ่อมแซม แต่ซ่อมไปซ่อมมาก็มีปัญหาอีก

(ภาพ วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix)

ฟื้นเป็น ‘กองบัญชาการ’ ที่ปรึกษานายกฯ เศรษฐา

มาถึงรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน กลับมาใช้บ้านพิษณุโลกอีกครั้ง โดยเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2566 ได้เปิดบ้านพิษณุโลกเป็นครั้งแรก ประชุมนโยบายปราบปรามยาเสพติด พร้อมมีดำริจะใช้เป็นที่ทำงานของคณะที่ปรึกษานายกฯ ‘9 อรหันต์’ และอาจใช้ในงานจัดเลี้ยงบ้าง คล้ายในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย แต่นายกฯ เศรษฐา ก็ไม่นอนบ้านพิษณุโลก แต่จะนอนทำเนียบรัฐบาล ด้วยเหตุผลว่า เพื่อความสะดวกของทีมรักษาความปลอดภัยและไม่ต้องการรบกวนเพื่อนบ้าน

อ้างอิงข้อมูล

ย้อนตำนานอาถรรพ์ “บ้านพิษณุโลก” จาก “ป๋าเปรม-ชวน” – “หญิงอ้อ” สู่ปมบ้านพักทหารของ “พล.อ.ประยุทธ์”

“บ้านพิษณุโลก” เรื่องเล่าผีเฮี้ยน บ้านพักนายกฯ เมิน ใช้งบดูแลหลายสิบล้าน

“วิษณุ” ยัน “บ้านพิษณุโลก” ไม่มีผี แค่ออกแบบไม่เก็บเสียง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า