Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในลมหายใจเฮือกสุดท้าย ผู้ประกอบการภูเก็ตเค้นทั้งความคิดและระดมสรรพกำลังอย่างเข้มข้นเพื่อดัน ‘Phuket First October’ ออกสู่สายตาสาธารณชน หวังจะได้รับความยินยอมจากรัฐและการสนับสนุนของประชาชน เพื่อให้ภูเก็ตในวันพรุ่งนี้ยังสามารถมีชีวิตต่อได้

‘Phuket First October’ คืออะไร มีที่มาจากไหน และจะสามารถไปถึงฝั่งฝันได้หรือไม่ workpointTODAY รวบรวมมาดังนี้

1) จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดท่องเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศไทยที่มีรายได้กว่า 94% ของจังหวัดมาจากการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละประมาณ 4.4 แสนล้านบาท ทำให้เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งผู้ประกอบการและแรงงานจำนวนมากขาดรายได้ต่อเนื่องกว่า 8 เดือน

2) ระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการภายในจังหวัดภูเก็ตเกือบทุกรายมีปัญหาในการจัดการธุรกิจ ประชาชนและภาคธุรกิจขาดเงินสดหมุนเวียนต้องกู้ยืมจากเจ้าหนี้ทั้งในและนอกระบบเพื่อประคองชีวิตและธุรกิจ

3) ในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2563 คณะรัฐมนตรีได้เดินทางไปประชุม ครม. สัญจร และรับทราบปัญหาจากภาคเอกชนภูเก็ต พร้อมรับปากว่าจะดำเนินการแก้ไข บรรเทา เยียวยา และหาหนทางให้ภูเก็ตกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เร็วที่สุด

4) แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 2 ในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2563 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอีกครั้ง ประชาชนงดการเดินทาง สายการบินตัดสินใจปรับลดเที่ยวโดยสาร ทำให้เอกชนภูเก็ตสูญเสียรายได้อีกครั้ง โดยผู้ประกอบการภูเก็ตประกาศว่าครั้งนี้จะหนักและสาหัสกว่าครั้งแรก

5) ผลวิจัยจากคณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต คาดการว่าหากสถานการณ์ดำเนินไปในทิศทางนี้ รายได้ต่อหัวของประชากรภูเก็ต ระหว่างเดือน ก.พ. – ก.ย.2564 จะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1,984 บาทต่อเดือน ต่ำกว่าเส้นความยากจนของไทยที่ 3,044 บาทต่อเดือน

6) ณ ช่วงปลายเดือน ม.ค. 2564 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยขอให้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ถูกต้อง

7) เอกชนจังหวัดภูเก็ตจึงประชุมหารือร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และตัดสินใจว่าขณะที่ภูเก็ตเผชิญวิกฤตอย่างฉับพลันนี้ ‘วัคซีนคือทางออก’ และตัดสินใจก่อตั้งโครงการ Phuket First October ขึ้นร่วมกัน

8) โครงการ Phuket First October มีวัคซีนเป็นกุญแจสำคัญของโครงการ โดยเอกชนภูเก็ตจะเดินหน้าฉีดวัคซีนให้กับประชาชนและบุคลากรทางด้านท่องเที่ยวอย่างน้อย 70% ของจังหวัด เพื่อให้ภูเก็ตสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ภูเก็ตให้ได้ภายในวันที่ 1 ต.ค. 2564 โดยไม่มีเงื่อนไขกักตัวเป็นเวลา 14 วัน

9) โดยภาคเอกชนภูเก็ตจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการจัดหา จัดซื้อ และฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนและบุคลากรภาคท่องเที่ยวทั้งหมด โดยไม่ใช้งบประมาณของภาครัฐ

10) นายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า “หากพลาดโอกาสในการเปิดการเดินทางให้นักท่องเที่ยวเข้าสู่ภูเก็ตรอบนี้ไปก็จะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาลแล้ว พวกเราจะทำทุกอย่างให้คนสามารถมาท่องเที่ยวภูเก็ตอีกครั้งให้ได้ภายใน 1 ต.ค. ปีนี้ โดยเป็นความพยายามครั้งสุดท้าย ที่เรารวบรวมกำลังทั้งหมดที่มี เป็นลมหายใจเอกสุดท้ายที่เหลือ และหวังว่ารัฐบาลจะเข้าใจและสนับสนุน”

11) วันที่ 5 ก.พ.2564 จังหวัดภูเก็ตจึงได้ส่งหนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ทางปลัดกระทรวงมหาดไทย นำเสนอยุทธศาสตร์ Phuket First October ต่อศบค. เพื่อพิจารณาให้จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดอื่นๆ ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

12) อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่า ไม่สามารถให้เอกชนจัดซื้อวัคซีนเองได้ตามคำวินิจฉัยของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากทางรัฐบาลจะได้รับวัคซีนมาเป็นจำนวนน้อยมาก ยังไม่สามารถกระจายการฉีดยาให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เกรงว่าจะเกิดปัญหาขึ้นได้

13) ก่อนวันที่ 10 ก.พ. 2564 เอกชนภูเก็ตจะได้ร่วมกันส่งหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอความกรุณาได้โปรดพิจารณาเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินใหม่ โดยหวังว่าจะได้รับการพิจารณาอีกครั้งและเปิดทางให้สามารถดำเนินการได้ต่อไป

14) โดยเอกชนภูเก็ตยืนยันในประเด็นความปลอดภัยของวัคซีนว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอาหารและยาเป็นผู้พิจารณาอนุมัติว่า ภาคเอกชนและ อปท. ยังคงจำเป็นต้องซื้อวัคซีนที่สำนักงานอาหารและยาได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จึงไม่สมควรเป็นเหตุมิให้ภาคเอกชนและ อปท.จัดซื้อวัคซีน

15) ยืนยันในประเด็นการบริหารจัดการว่า ในการฉีดให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขในการบริหารวัคซีนที่ได้จองซื้อตามแผนอยู่แล้ว ภาคเอกชนและ อปท.เป็นเพียงส่วนเสริมให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงไม่สมควรเป็นเหตุห้ามมิให้ภาคเอกชนและ อปท.จัดซื้อวัคซีน

16) ยืนยันในประเด็นติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีนว่า วัคซีนที่ซื้อมาจำเป็นต้องถูกนำไปฉีดโดยโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ซึ่งโรงพยาบาลที่เป็นผู้ฉีดนั้นมีหน้าที่ติดตามอาการไม่พึงประสงค์อยู่แล้ว จึงไม่สมควรเป็นเหตุห้ามมิให้ภาคเอกชนและ อปท.จัดซื้อวัคซีน

17) พร้อมกล่าวถึงประเด็นคำวินิจฉัยว่า คำวินิจฉัยระบุว่า “ในระยะแรกนี้ภาครัฐเท่านั้นที่จะดำเนินการจัดซื้อและบริหารจัดการวัคซีนและกระจายวัคซีน” ทางผู้ร้องเรียนขอให้โปรดชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ในระยะแรก” หมายถึงช่วงเวลาใด จนถึงช่วงเวลาใด

18) จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการตอบรับจากทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมถึงยังไม่มีความเคลื่อนไหวจากหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐเช่นกัน จึงยากจะบอกได้ว่าสุดท้าย Phuket First October จะถึงฝั่งฝันหรือไม่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า