SHARE

คัดลอกแล้ว

กลับมาเป็นที่สนใจวงกว้าง สำหรับกรณีของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ ที่ถูกยื่นฟ้องโดยโจทก์ คือ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งศาลอาญาคดีทุจริตฯ นัดฟังคำพิพากษา ในวันพรุ่งนี้ (6 ก.พ.)

 

สืบเนื่องในปี 2566 มีผู้บริโภคร้องเรียนไปยัง กสทช. หลังใช้บริการแอปพลิเคชัน TrueID แล้วพบโฆษณาแทรก จนต่อมา กสทช. พิจารณาเห็นว่า ขัดต่อหลัก Must Carry ที่จะมีเนื้อหาอื่นแทรกไม่ได้ เลยเป็นที่มาให้ กสทช. ส่งหนังสือแจ้งเตือนไป

อย่างไรก็ดี ทางทรูเห็นต่าง มองว่าหนังสือเตือนฉบับนั้น ทำให้บริษัทเสียหาย และอาจส่งผลให้ผู้รับใบอนุญาตช่องโทรทัศน์ ตัดสินใจระงับการเผยแพร่เนื้อหาผ่านแพลตฟอร์มของบริษัท

อีกทั้ง ยังกล่าวถึง การกำกับดูแลกิจการ OTT (การให้บริการเนื้อหา ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต) ระบุ กสทช. ยังไม่มีระเบียบที่ใช้บังคับโดยเฉพาะ จึงไม่ถือว่าเป็นองค์กรที่อยู่ใต้กำกับดูแล

เช่นนี้เอง คำตัดสินของศาลในวันพรุ่งนี้ (6 ก.พ.) จึงน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะไม่เพียงจะตัดสินว่า อ.พิรงรอง อาจหลุดจากเก้าอี้ทันที หากศาลตัดสินว่าผิดและไม่ให้ประกันตัว แต่แวดวงวิชาการต่างเห็นว่า นี่อาจกลายเป็นคดีตัวอย่าง ที่ กสทช. ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค แต่กลับถูกตัดสินว่าเป็นความผิด

[อ.พิรงรอง ว่าอย่างไรบ้าง?]

ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้า สภาองค์กรของผู้บริโภค ก็มีการขอรวบรวมรายชื่อเครือข่ายนักวิชาการ สื่อชุมชน ผู้บริโภค และกลุ่มเพื่อนพิรงรอง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต่อไป

โดยในคำอธิบายที่มาตอนหนึ่ง ของการรวบรวมรายชื่อ ยังอ้างถึง อ.พิรงรอง ที่ยืนยันว่า เป็นการทำหน้าที่ เพื่อสร้างการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติ ต่อผู้ประกอบกิจการรายหนึ่งรายใดเป็นพิเศษ

“ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ได้ยืนยันการทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แทรกโฆษณาในช่องรายการทีวีดิจิทัล ที่นำไปเผยแพร่บนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีข้อร้องเรียนเข้ามายังคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช.”

“เพื่อเป็นการดูแลลิขสิทธิ์ในเนื้อหาของผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลให้เกิดการแข่งขันเสรี และเป็นธรรม มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง” 

นอกจากคำยืนยันที่ สภาองค์กรของผู้บริโภค ยกขึ้นมาแล้ว ยังเล่าถึงการทำงานของ อ.พิรงรอง ในฐานะ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ที่ผ่านมาว่า ได้พยายามพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรม และผู้ผลิตสื่อ ทั้งยังส่งเสริมผ่านกฎเกณฑ์และมาตรการต่างๆ ให้มีการผลิตรายการที่เลือนหายไปจากผังโทรทัศน์ไทย อย่าง รายการเด็ก รายการส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นต้น

[จุดตั้งต้นของการฟ้องร้องเป็นคดีความ]

ในปี 2566 เกิดกรณีร้องเรียนจากผู้บริโภค ถึงความผิดปกติบางประการมายัง กสทช. ทางคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ จึงพิจารณาและเสนอความเห็น ก่อนจะออกหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการ ที่ได้รับใบอนุญาต ให้ปฏิบัติตามประกาศ กสทช. และเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตอย่างเคร่งครัด ตามหลัก Must Carry 

แต่กลับนำไปสู่การฟ้องร้อง จนในวันที่ 14 มี.ค. 2567 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำสั่งชั้นไต่สวน โจทก์คือ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้องจำเลย ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ขณะนั้น ทางโจทก์มองว่า จำเลยซึ่งก็คือ อ.พิรงรอง ทราบดีอยู่แล้ว ว่าการให้บริการของโจทก์ เป็นการให้บริการประเภท OTT ที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จึงยังไม่ยื่นขออนุญาต

ต่อมา กสทช. ประกาศว่า การประกอบกิจการดังกล่าว ต้องผ่านการอนุญาตก่อน ทางโจทก์ก็ไม่ขัดข้อง เเต่จำเลยกลับสั่งการให้รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. ในขณะนั้น ออกหนังสือแจ้งไปยังผู้รับใบอนุญาต จำนวน 127 ราย ด้วยข้อความที่ทำให้เข้าใจไปว่า โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการที่ยังไม่ได้รับอนุญาต

นี่เองที่ทำให้ โจทก์ เห็นว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหาย 

การไต่สวนดำเนินไป โดยที่ศาลมองว่า พฤติการณ์ของจำเลย ส่อแสดงเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบมิชอบ คดีโจทก์มีมูลจึงให้ประทับฟ้อง และนัดไต่สวนต่อไป

อย่างไรก็ดี ในเดือน เม.ย. 2567 บริษัท ทรู ดิจิทัลฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ อ.พิรงรอง ยุติการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช. และประธานอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีนี้ แค่ท้ายสุดก็ยกคำร้องไป

[ความเคลื่อนไหวในสังคม]

เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่การขยับตัวของเครือข่ายผู้บริโภค สร้างการพูดคุยในโลกออนไลน์เป็นวงกว้าง จนเกิดเป็นแฮชแท็ก #saveพิรงรอง #freeกสทช หวังสร้างขวัญกำลังใจ ให้กับศาสตราจารย์กิตติคุณรายนี้

โดยไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้า สภาองค์กรของผู้บริโภค ก็มีการขอรวบรวมรายชื่อเครือข่ายนักวิชาการ สื่อชุมชน ผู้บริโภค และกลุ่มเพื่อนพิรงรอง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต่อไป

ด้วยประสบการทำงานในแวดวงวิชาการ ตั้งแต่การเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบเนื่องมาจนรับตำแหน่งเป็น กรรมการ กสทช. จึงได้เห็นบรรยากาศ นักวิชาการที่มีชื่อเสียง ออกมาแสดงความคิดเห็นอยู่ไม่น้อย

เช่นที่ ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ คณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความเอาไว้ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว

“ถ้าการปฏิบัติหน้าที่ ตามตำแหน่งที่รับผิดชอบ ด้วยความสุจริตจะกลายเป็นความผิดทางอาญาแล้วไซร้ ในระยะยาว จะเหลือใครทำงานให้กับส่วนรวม”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า