Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘พิธา’ แถลงเดินหน้าโรดแมป ‘ก้าวไกล’ ปี 67 เผย เดือนเมษายน หลังสงกรานต์ จะเริ่มคิดเปิดซักฟอกรัฐบาล

ภาพ เจมส์ วิลสัน/Thai News Pix

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดแถลงข่าว แผนการทำงานของพรรคก้าวไกล (MFP’S Strategic Roadmap) ประจำปี 2567 ที่อาคารรัฐสภา ในเวลา 9.30 น. วันนี้ (26 ม.ค. 67)

โดยการแถลงข่าวแบ่งเป็น 3 หัวข้อคือ

1. What “วาระ” ของประเทศไทยในแบบฉบับของก้าวไกล

2. How “วิธี” ในการทำงานของพรรคก้าวไกล

3. “หมุดหมายสำคัญ” ในการทำงานของพรรคก้าวไกล

นายพิธา กล่าวว่า ตั้งแต่ปีที่แล้วที่หาเสียงก่อนเดือนพฤษภาคม ประชาชนได้เห็น 300 นโยบายของพรรคก้าวไกลแล้ว เมื่อจัดลำดับเป็นเป้าหมาย 6 บิ๊กแบง (Big Bang) ที่จะทำให้ประชาชนได้เห็นในแบบฉบับของก้าวไกล ได้แก่ 1.ประชาธิปไตยเต็มใบ 2. ยกระดับคุณภาพชีวิต 3. หยุดแช่แข็งชนบทไทย 4. ปฏิรูปรัฐครั้งใหญ่ 5. เรียนรู้ทันโลก และ 6. เติบโตแบบมีคุณภาพ

คำถามต่อมาที่สำคัญกว่า สำคัญยิ่งกว่าเราจะทำอะไร คือเราจะทำอย่างไร เวลาที่จะปฏิรูป ตั้งสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข เศรษฐกิจ พรรคก้าวไกลตกผลึกออกมา เป็น 4 ปัจจัย ความสำเร็จ ที่จะนำไปปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิด ความสัมฤทธิผล ทำให้วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลายเป็นความจริง

ปัจจัยแรก ‘กฎหมาย’ พรรคก้าวไกล ผลักดันกฎหมาย 47 ฉบับ แบ่งเป็น บรรจุเข้าวาระประชุมสภาฯ 21 ฉบับ ในจำนวนนี้ เป็นกฎหมายที่สภาฯ กำลังพิจารณา คือ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม, พ.ร.บ.ฝุ่นพิษและมลพิษข้ามแดน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งรอเวลาอภิปราย อีก 17 ฉบับ อาทิ แก้รัฐธรรมนูญยกเลิก มาตรา 272 พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ร.บ.โคนมและผลิตภัณฑ์นม ส่วนอีก 26 ฉบับ ยังไม่ได้เข้าวาระประชุมสภาฯ

ปัจจัยที่สอง ‘แผนปฏิบัติการ’ พรรคก้าวไกล มีประธานคณะกรรมาธิการ 8 คน ทุกคนทำแผนส่งมาให้ตนแล้ว เช่น นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ตั้งเป้าหมายของกมธ.การทหาร ในปี 2567 เพื่อกองทัพที่มีสิทธิมนุษยชน การตายในค่ายทหารต้องเป็นศูนย์ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ตั้งเป้าหมายของกมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งร่างกฎหมายเพื่อเสนอเข้าสภาฯ

ปัจจัยที่สาม ‘งบประมาณ’ ต้องปรับให้วาระของพรรคไม่มีข้อติดขัดทางงบประมาณ ปฏิรูปอำนาจเงินด้วย ‘5 ก้าว’ คือ

1. “จัดทำ” โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม

2. “อนุมัติ” ตามหลัก ประชาชนได้ประโยชน์

3. “มาตรการ” = หัวจักรของเงิน “ใน” งบประมาณ

4. “ฐานศูนย์” ทำได้ ถ้า “ทำเป็น”

5. “ภารกิจนำ” ไม่ใช่ “ยุทธศาสตร์ (ชาติ) นำ”

และปัจจัยที่สี่ ‘บุคลากร’ เตรียมทีมงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์รองรับเนื้อหาที่ตามมา ปฏิรูปโครงสร้างพรรคให้สมาชิก ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งจากรากฐาน “คน-ความคิด-เครือข่าย” เชื่อมโยง สส. กลไกในสภา ทีมงานพื้นที่/สมาชิกพรรค ท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ

ส่วนหมุดหมายสำคัญของพรรคก้าวไกลในปีนี้ ในตอนหนึ่ง นายพิธา ได้กล่าวว่า เดือนเมษายน หลังสงกรานต์ เป็นไปได้ที่เราจะเริ่มคิด ถึงการจะอภิปรายทั่วไปหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เพราะเป็นช่วงที่เราคิดว่า เวลาน่าจะเหมาะสมกับการทำงานของรัฐบาล ซึ่งในเดือนเมษายนนี้เช่นกัน จะมีการประชุมใหญ่สามัญพรรคก้าวไกล จะปรับโครงสร้างองค์กร ทบทวนแกนนำการทำงาน รูปแบบในการทำงานใหม่

“ต้องพูดให้ชัดก่อนว่าไม่ได้หมายความเดือนเมษาจะอภิปราย พอไม่อภิปรายแล้วบอก ทำไมไม่อภิปราย คุณเคยสัญญาไว้ ผมใช้คำพูดว่า เริ่มคิดได้ เริ่มเข้าโซนว่าผ่านไป 8-9 เดือนใน 1 ปี เป็นโซนที่ต้องใช้สิทธิในการใช้มาตรา 151 152 ในการอภิปราย” นายพิธา กล่าวตอนหนึ่ง

(ภาพ พรรคก้าวไกล)

ผู้สื่อข่าวถามถึงจุดยืนการทำงานในฐานะฝ่ายค้านซึ่งต้องตรวจสอบรัฐบาล โดยสรุป นายพิธา กล่าวว่า จะมีการทำงานร่วมกัน ทั้งพรรคไทยสร้างไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเป็นธรรม และพรรคร่วมฝ่ายค้านพรรคอื่น ต้องนำรวมกันและแจกจ่ายให้เหมาะสม และต้องรอแผนประจำปีของพรรคอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้ามีเหตุการณ์สำคัญที่เราคิดว่ารอไม่ได้ถึงเดือนเมษายน เราจะใช้กลไกสภาฯ เช่น กระทู้ และการทำงานกับสื่อมวลชน แถลงข่าว เพื่อให้ทิศทางการบริหารราชการแผ่นดินเป็นประโยชน์ เป็นธรรมและเป็นประโยชน์กับประชาชน

เมื่อถามถึง คดีของพรรคก้าวไกล เกี่ยวกับการหาเสียงแก้ไข มาตรา 112 ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยในวันพุธ ที่ 31 ม.ค.นี้ มีการเตรียมฉากทัศน์อะไรไว้หรือไม่ นายพิธา ตอบว่า มีการคิดเป็นฉากทัศน์ รวมถึงฉากทัศน์ที่แย่ที่สุด แต่ถึงแม้แย่ที่สุด พรรคก้าวไกลก็ยังบริหารจัดการได้ และไม่ได้ทำให้ภาพใหญ่ทั้งปีสะดุดลง ส่วนรายละเอียด ตนคงลงลึกไม่ได้ เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พูดไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

“การทำงานการเมืองของผมไม่ได้มีแค่ฝ่ายผมกับฝ่ายรัฐบาล การทำงานของผมมีประชาชน อาสาสมัคร มีพี่น้องข้าราชการ มีเอกชน มีเอ็นจีโอ (NGO) องค์กรระหว่างประเทศ ถ้าผมไม่พูดอย่างโปร่งใสว่าผมต้องการจะทำอะไร ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนก็จะไม่เข้าใจว่าผมต้องการทำอะไร เขาก็คิดว่ามันก็สะเปะสะปะ แล้วก็ไม่รู้ว่าจะเข้าร่วมตรงไหน กับใคร ยังไง แล้วก็มองว่าการเมืองแห่งความเป็นไปได้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร…” นายพิธา กล่าวตอนหนึ่ง

เมื่อถามย้ำถึงรูปแบบฝ่ายค้านของพรรคก้าวไกลจะไม่เหมือนในอดีตใช่หรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า เราอยู่ฝ่ายนิติบัญญัติ การผ่านกฎหมายเป็นหน้าที่ของเรา เราเป็น Law maker กฎหมายที่ก้าวหน้าเป็นหน้าที่ของเรา แน่นอนก็ต้องตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมาเต็มที่อยู่แล้ว ตรวจสอบยังไม่พอ ยังต้องมีการแนะนำด้วย และขณะเดียวต้องเรียนรู้ในกระบวนการเมื่อเราเป็นรัฐบาลจะได้มีข้อติดขัดและสามารถทำงานได้เลย

เมื่อถามถึงมุมมองต่อกระบวนการตรวจสอบพรรคก้าวไกลค่อนข้างอ่อนแอลง หลังพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องนายทักษิณ ชินวัตร โดยสรุป นายพิธา ตอบว่า ไม่เป็นความจริง เราทำอย่างตรงไปตรงมา นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล ก็ได้ตั้งกระทู้ถามในสภาฯ ตนมองเรื่องเป็น เรื่องของระบบ ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง และไม่ต้องการที่จะทำให้กลายเป็นเรื่องที่เกิดความสะใจ แต่ต้องการพูดเรื่องระบบที่ควรจะมีความเสมอภาคกัน คนที่โดนกลั่นแกล้งทางการเมือง ลี้ภัยในหลายประเทศ ก็มีหลายคนที่แสดงออกความเห็นทางการเมือง ยังไม่สามารถกลับบ้าน ควรได้โอกาสกลับเข้าสู่การเท่าเทียมกัน ไม่ต้องการให้เห็นประเทศไทยเป็นนิติรัฐของอภิสิทธิ์ชน

เมื่อถามว่า มีการเปรียบเทียบ พรรคก้าวไกล กับ วุฒิสภา (สว.) ด้วยว่า สว. อาจจะทำหน้าที่ฝ่ายค้านมากกว่าด้วยซ้ำ นายพิธา ตอบว่า อายุเวลาตอนนี้ไม่เท่ากัน เรายังมีเวลาในการทำงาน การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้หมายความว่าใครทำก่อนทำหลัง แต่ประสิทธิภาพในการทำงานคือใครทำงานได้ตรงเป้าหมายมากกว่ากัน ถ้าวุฒิสภา เห็นว่าเวลาที่เหมาะสมคือตอนนี้ และทำก่อนพรรคก้าวไกล การทำก่อนฝ่ายค้าน ก็เป็นสิทธิของวุฒิสภา แต่ที่น่าแปลกคือประชุมมาหลายปี เพิ่งเห็นครั้งแรกใช่หรือไม่ ไม่เคยตรวจสอบรัฐบาลก่อนหน้านี้ ก็ต้องตั้งคำถามกลับไป แต่ของเรา อภิปรายไม่ไว้วางใจทุกปี และไม่เคยทำประชาชนผิดหวัง อย่างน้อยเต็มที่เท่าที่เราทำได้ ไม่มีการออมมือ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า