SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทรนด์หนึ่งในวงการอาหารที่ถูกพูดถึงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ‘Plant-Based Food’ หรือ ‘เนื้อสัตว์จากพืช’ อาหารทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ถามว่าร้อนแรงแค่ไหน ลองดูได้จากมูลค่าตลาด Plant-Based Food ทั่วโลกในปี 2562 ที่อยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 4.98 แสนล้านบาท และมีอัตราเติบโต 10% ต่อปี

ขณะที่ในประเทศไทย ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกรุงไทยระบุว่า ตลาด Plant-Based Food เมืองไทยปี 2562 มีมูลค่า 2.8 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตจนมีมูลค่าสูงถึง 4.5 หมื่นล้านบาทในปี 2567

สิ่งที่ชวนสงสัยคือ ทำไมอาหารทางเลือกถึงกลายเป็นที่นิยมขนาดนี้ ลองไปดูกัน

ทำความรู้จัก Plant-Based Food

ก่อนจะไปหาเหตุผล อาจต้องทำความรู้จักกับ Plant-Based กันสักนิด

Plant-Based Food คืออาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก ซึ่งใช้วัตถุดิบที่ทำจากพืชที่ให้โปรตีนสูง เช่น ถั่ว, เห็ด, สาหร่าย, ข้าวโอ๊ต, อัลมอนด์, ธัญพืช, แครอท, ฟักทอง, บีทรูด เป็นต้น

ซึ่งถ้าถามว่าแตกต่างจาก ‘โปรตีนเกษตร’ ที่เราคุ้นเคยกันในอาหารเจอย่างไร คงต้องบอกว่าอาหารกลุ่ม Plant-Based อาศัยนวัตกรรมมาพัฒนาโปรดักต์ให้ก้าวหน้าไปกว่านั้นมาก คือมีรสชาติ กลิ่น และสีสัน เหมือนกับผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

แล้วทำไมอาหารกลุ่มนี้ถึงได้รับความนิยมและคนยอมจ่าย ทั้งๆ ที่มีราคาแพงกว่าเนื้อสัตว์แบบปกติ?

คือราคาเริ่มต้นที่ราวๆ กิโลกรัมละ 300 บาท ไปจนถึงหลักพันบาทก็มี ขณะที่ราคาเนื้อหมูอยู่ที่ราว 145-155 บาท/กิโลกรัมเท่านั้น

สาเหตุหลักๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น

-การหันมาสนใจกับสุขภาพและให้ความสำคัญกับอาหารการกินมากขึ้น โดยลดการกินเนื้อสัตว์แล้วหันมาบริโภคโปรตีนจากพืชแทน

-เทรนด์ของกลุ่ม Flexitarian หรือกลุ่มที่พยายามกินเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราวก็มีมากขึ้น ส่งผลให้อาหาร Plant-Based ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเช่นกัน

-สาเหตุอีกส่วนยังมาจากกระแสรักษ์โลกและความสนใจในสวัสดิภาพสัตว์ของผู้บริโภคที่มากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตภัณฑ์จากพืชนั่นเอง

-รวมไปถึงสถานการณ์โควิด-19 เองก็ทำให้ผู้บริโภคกังวลต่อการกินเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น เพราะกลัวการปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ จึงหันมาบริโภคโปรตีนจากพืชแทน

ปัจจัยเหล่านี้เป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้ตลาดเติบโตจนมีมูลค่าอย่างที่กล่าวไป ทั้งแนวโน้มตลาดที่ยังดูเหมือนจะไปไกลได้อีก ทำให้ผู้ประกอบการในไทยทั้งรายเล็กรายใหญ่ต่างดาหน้าเกาะเทรนด์นี้ตามกันมาเป็นขบวน ส่งผลให้ตลาดคึกคัก การแข่งขันระอุขึ้นมาถนัดตา

ใครเป็นใครในสังเวียนนี้

หากพูดถึงในตลาดโลก แน่นอนว่าผู้นำในธุรกิจนี้คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Beyond Meat และ Impossible Food

โดยเฉพาะรายแรกที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2552 และก้าวมาไกลจนปัจจุบันสินค้าของ Beyond Meat ไม่เพียงแต่จะวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกรวมถึงในไทย แต่ยังถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเมนู Plant-Based Meal ในร้านอาหารมากมาย เช่น สตาร์บัคส์, แมคโดนัลด์, ทาโก้เบลล์, พิซซ่าฮัท รวมถึงเคเอฟซีด้วย

ขณะที่มูลค่ากิจการก็เติบโตไปมากเช่นกัน โดยปัจจุบันอยู่ที่ 8.53 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 2.65 แสนล้านบาท รายได้สุทธิปี 2563 อยู่ที่ 406.8 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 36.6% ส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 122.3 ล้านเหรียญ

ข้ามฝั่งมาที่ประเทศไทยกันบ้าง ที่ในตอนนี้เรียกได้ว่าทั้งรายใหญ่ทุนหนา และสตาร์ทอัพรายเล็กๆ ต่างตบเท้าเข้าสังเวียนกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น

-Meat Avatar หรือ มีท อวตาร บริษัทเล็กๆ ที่พัฒนาโปรดักต์และเริ่มวางจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2562 โดยปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลักๆ คือ เนื้อหมูจากพืชที่มาในชื่อหมูกรอบและหมูสับจำแลง

-Let’s Plant Meat จากบริษัทเครื่องปรุงและเครื่องเทศจากเชียงใหม่อย่าง บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด ก็ได้เปิดตัวเบอร์เกอร์เนื้อและเนื้อจากพืชบด วางขายทั้งช่องทางออนไลน์และโมเดิร์นเทรดกว่า 150 สาขา ทั้งเทสโก้ โลตัส, ฟู้ดแลนด์ และกูร์เมต์ มาร์เก็ต เป็นต้น

-More Meat สตาร์ทอัพที่เปิดตัวในปี 2563 มีสินค้าเป็นหมูสับที่ทำมาจากเห็ดแครง โดยมีบริษัทของ ‘อภิรักษ์ โกษะโยธิน’ อย่าง ‘วี ฟู้ดส์’ ที่ขายข้าวโพดฝักและน้ำนมข้าวโพดในเซเว่นฯ ตัดสินใจลงทุนและออกโปรดักต์คือเมนูลาบทอดจากพืช

-ซีพีแรม (CPRAM) บริษัทผู้ผลิตอาหารพร้อมกินส่งเข้าเซเว่นฯ เปิดตัวแบรนด์ VG for Love ในเดือน ก.พ. 2564 โดยส่งอาหาร Plant-Based พร้อมทานจำนวน 10 เมนูเข้าสู่ตลาด เช่น ข้าวกะเพราะหมูพีบี, ข้าวคะน้าหมูกรอบพีบี, ข้าวผัดกะเพราขี้เมาเห็ดออรินจิพีบี, ข้าวผัดแกงเขียวหวานไก่พีบี เป็นต้น

-เนสท์เล่ ที่ในเดือน ก.พ. 2564 ประกาศนำอาหาร Plant-Based ภายใต้แบรนด์ Harvest Gourmet ของบริษัทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีโปรดักต์เป็นเบอร์เกอร์เนื้อ , ไส้กรอก, นักเก็ต, เนื้อสับ เป็นต้น โดยเน้นจำหน่ายให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและโรงแรม

-ไทยยูเนี่ยน ที่สนใจอาหาร Plant-Based มาสักระยะ ล่าสุดในเดือน มี.ค. 2564 ก็ได้ฤกษ์ส่งแบรนด์ OMG Meat (โอเอ็มจี มีท) เข้าสู่ตลาด โดยมีทั้งรูปแบบอาหารทะเลจากพืช ได้แก่ หอยจ๊อปู ขนมจีบปู เนื้อปู นักเก็ต และรูปแบบไม่ใช่อาหารทะเล อย่างเนื้อหมู ไก่ จากพืช ได้แก่ ซาลาเปาหมูแดง และนักเก็ตไก่

-ซีพีเอฟ (CPF) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการอาหาร ที่ในเดือน พ.ค. 2564 ได้ส่งเปิดตัวแบรนด์ MEAT ZERO โดยมีสินค้าครอบคลุมทั้งกลุ่มอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

-ปตท. ส่งบริษัทย่อยอย่างอินโนบิก (เอเซีย) เข้าร่วมทุนกับ NRF จัดตั้งบริษัทร่วมทุนมาผลิตและจำหน่ายโปรตีนทางเลือก ซึ่งคาดว่าโรงงานที่มีกำลังการผลิต 3,000 ตันต่อปี จะก่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปี 2565

ศึกนี้ใครจะชนะ

ถ้าหากมองในตอนนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า รายแรกๆ ที่เข้ามาสู่ตลาดอย่าง Meat Avatar ก้าวนำคู่แข่งไปแล้วพอสมควร เพราะเริ่มเป็นที่รู้จักและวางขายแล้วในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ฟู้ดแลนด์, ท็อปส์, แมคโคร, วิลล่ามาร์เก็ต, บิ๊กซี ฯลฯ รวมถึงร่วมมือกับอีกหลายกิจการ เช่น รส’นิยม, กับข้าว’ กับปลา, สดอร่อย, ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ, Black Canyon, Audrey Cafe เป็นต้น

แต่ที่ต้องจับตาคือความแข็งแกร่ง, เครือข่ายแน่น และสายป่านที่ยาวของบริษัทรายใหญ่ๆ ทั้งหลาย ที่นอกจากจะมีช่องทางการขายของตัวเองอยู่แล้ว เช่น ซีพีแรมที่มีเซเว่นฯ และแมคโคร, ซีพีเอฟ มีเซเว่นฯ, แมคโคร และโลตัส ก็ยังมีเม็ดเงินที่พร้อมสำหรับการขยายกำลังการผลิตในอนาคต

รวมไปถึงเป้าหมายของแบรนด์ใหญ่ที่ไม่ได้คิดจะเติบโตแค่ในประเทศไทยเท่านั้น อย่างบริษัทร่วมทุนของ ปตท. ก็ตั้งเป้าว่าโรงงานที่จะสร้างจะเป็นศูนย์กลางผลิตและจัดจำหน่าย Plant-Based ในอาเซียน

ฟากฝั่งซีพีเอฟก็วางแผนว่าจะส่ง MEAT ZERO ไปยังกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยอาศัยฐานตลาดต่างประเทศที่มีอยู่แล้วเป็นตัวช่วย ทั้งยังมั่นใจว่าจะก้าวสู่เบอร์ 1 ในตลาดเนื้อทางเลือกเอเชีย และติดท็อป 3 ผู้นำเนื้อทางเลือกของโลกได้ภายในเวลา 3-5 ปี

ท้ายที่สุด ณ ขณะนี้อาจยังบอกไม่ได้ว่าใครกันแน่ที่จะอยู่ในฐานะผู้นำและเจ้าตลาดที่แท้จริง ด้วยความที่ศึกเพิ่งเริ่มต้น และคู่แข่งบางรายก็เพิ่งลั่นกลองรบ

แต่สิ่งที่เป็นไปได้ก็คือ ยิ่งการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น คนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือผู้บริโภค ที่น่าจะได้ซื้อสินค้าในราคาถูกลง แต่มีคุณภาพมากขึ้น และหลากหลายมากขึ้นอีกในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า