Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากฝ่ายค้านเปิดประเด็นเรื่อง การถวายสัตย์ปฏิญาณของรัฐบาล “ประยุทธ์ 2” ไม่ได้กล่าวถ้อยคำตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ที่ว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้

“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ผู้เปิดประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า ถ้อยคำที่หายไปตอน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม นำกล่าวคือ “ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” โดยเติมคำว่า “ตลอดไป”เข้าไปแทน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตอบคำอภิปรายของฝ่ายค้านเรื่องนี้ในระหว่างการแถลงนโยบายต่อรัฐบาลว่า “พิธีถวายสัตย์เสร็จสิ้นด้วยความเรียบร้อยแล้ว ผมจะไม่กล่าวถึงอีก”

วิษณุ เครืองาม

ส่วนวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ได้ตอบคำถามนักข่าวเรื่องนี้ว่าไม่ขอตอบ เนื่องจากเสร็จเรียบร้อยกระบวนการครบถ้วน และผ่านพ้นไปแล้ว ถือว่าทุกอย่างผ่านตามขั้นตอนแล้ว จนเมื่อถูกถามซ้ำในวันต่อมาจึงพูดประโยคสำคัญว่า “สักวันหนึ่ง จะรู้ว่า ไม่ควรพูด”

และอธิบายในภายหลังว่า เป็นโวหารที่ทำให้ยังไม่ต้องตอบคำถาม

 

น่าสนใจตรงที่ว่า วิษณุ เครืองาม คือผู้ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังคณะรัฐมนตรีชุดต่างๆ มามากมาย ในตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเมื่อเป็น รัฐมนตรีเอง ก็เป็นผู้ที่ชี้แนะระเบียบปฏิบัติซึ่งถือได้ว่าแม่นยำที่สุดผู้หนึ่ง รวมทั้งเคยเขียนหนังสือไว้ จนถูกนำมาย้อนในวันนี้ว่า เคยเขียนเรื่องนี้ไว้เอง

วิษณุ เคยเขียนหนังสือชุด เรื่องเล่าจากเนติบริกร จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชนไว้ ชุดนี้มี 3 เล่ม คือ โลกนี้คือละคร, เล่าเรื่องผู้นำ และหลังม่านการเมือง

ในเล่มที่ 3 “หลังม่านการเมือง”  มีบทหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่อง “การถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่” ซึ่งเขียนบรรยายและยกตัวอย่างไว้อย่างน่าอ่าน โดยระบุว่า

รัฐมนตรีใหม่ผู้ใดยังไม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ ในทางกฎหมายถืว่าผู้นั้นยังเป็นรัฐมนตรีไม่สมบูรณ์ ยังใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีไม่ได้ และยกตัวอย่าง กรณีของ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น รมช.กลาโหม แต่ระหว่างขึ้นเครื่องบินไปเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณที่เชียงใหม่ถูกยึดอำนาจก่อน ซึ่งหากไปสั่งราชการอะไรไว้ก่อนบินอาจจะต้องมาตีความว่าใช้ได้หรือไม่

สำหรับถ้อยคำปฏิญาณ วิษณุ เขียนไว้หลายจุดว่า ต้องเปล่งวาจาด้วยถ้อยคำที่กฎหมายกำหนด “จะพูดน้อยหรือยาวกว่านี้ไม่ได้”

การกล่าวนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้กล่าวนำ “ความสำคัญจึงอยู่ที่นายกฯ ซึ่งจะผิดไม่ได้” ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพิมพ์ลงบัตรแข็งให้อ่านเพื่อจะไม่ผิดพลาด “ขืนท่องจำผิดๆ ถูกๆ ตกคำว่า “และ” หรือคำว่า “หรือ” ไปสักตัวก็อาจต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ว่าถวายสัตย์ฯ ครบถ้วนหรือยัง จะยุ่งเปล่าๆ”

วิษณุ ยังเขียนอีกตอนด้วยว่า “ในระหว่างการเปล่งวาจาถวายสัตย์ปฏิญาณ ช่างภาพโทรทัศน์จะบันทึกภาพอยู่ด้วยทุกระยะ รัฐมนตรีแต่ละคนจึงควรระมัดระวังโลกยุคสารสนเทศในมาก…รัฐมนตรีต้องระวังให้มากขึ้นแล้วละครับ เพราะดีไม่ดีจะกลายเป็นเรื่องต้องเปิดเทปส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทีนี้ล่ะยุ่งกันใหญ่!”

น่าสนใจว่า รองนายกรัฐมนตรี ยังเขียนถึงกรณีของต่างประเทศที่แก้ไขในกรณีที่กล่าวคำปฏิญาณตนไม่ตรงเอาไว้ด้วย คือ กรณีบารัค โอบาม่า เข้ารับตำแหน่งในปี 2009 และต้องกล่าวตามประธานศาลสูงสุด ที่งกๆ เงิ่นๆ พูดนำผิดๆ ถูกๆ โอบาม่า ได้พูดตามไปเพราะไม่อยากให้อายระหว่างการถ่ายทอดสด และได้ไปทำพิธีปฏิญาณซ้ำอีกครั้ง ให้หมดปัญหาไม่ต้องตีความ

ใน “หลังม่านการเมือง” ยังได้ระบุถึงขั้นตอนที่รัฐมนตรีจะได้เริ่มงาน ต้องผ่านเงื่อนไขตามลำดับ คือ
– ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
– นายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี
– นายกรัฐมนตรีนำรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ
– นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเริ่มเข้ารับหน้าที่
– คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
– คณะรัฐมนตรีเริ่มเข้าบริหารราชการแผ่นดินได้

น่าสนใจว่าข้อทักท้วงของฝ่ายค้าน กรณีการถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนจะมีผลกระทบใดๆ ต่อรัฐบาลหรือไม่ และจะมีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่ เหมือนที่ วิษณุ เครืองาม เขียนไว้ใน “หลังม่านการเมือง” ว่า

“ขืนท่องจำผิดๆ ถูกๆ ตกคำว่า “และ” หรือคำว่า “หรือ” ไปสักตัวก็อาจต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ว่าถวายสัตย์ฯ ครบถ้วนหรือยัง จะยุ่งเปล่าๆ”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า