SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 10 ก.ย.62 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงในการร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยมี 12 หน่วยงานเข้าร่วมได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การจัดทำบันทึกข้อตกลงวันนี้ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ระหว่างปี 2562 – 2567 เนื่องจากทุกฝ่ายได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนฐานการบูรณาการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการควบคุม กำกับดูแล และลดการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด พัฒนาเครื่องมือ กลไกการบริหารจัดการ เพิ่มศักยภาพด้านวิชาการ สื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เพื่อรักษาคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

โดยทุกฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ โดยการควบคุมและลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดในช่วงวิกฤตสถานการณ์ฝุ่นละออง
2. ป้องกันและลดการเกิดมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยควบคุม กำกับดูแล และลดการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด รวมถึงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง
3. เพิ่มศักยภาพด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง การเชื่อมโยงและพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบเฝ้าระวัง เครื่องมือตรวจวัด พัฒนาองค์ความรู้ การสื่อสารประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ และกลไกการบริหารจัดการเชิงรุก

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า การคมนาคมเป็นปัจจัยหลักต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นแหล่งกำเนินหลักของ PM 2.5 ซึ่งกระทรวงคมนาคม มีแผนดำเนินการลด PM 2.5 ในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางบก มีมาตรการตรวจควันดำรถสาธารณะ ไม่ให้รถที่มีมลพิษออกมาสู่สาธารณะ มาตรฐานของเครื่องยนต์ ก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ขสมก. มีมาตรการควบคุมรถควันดำออกมาให้บริการ เปลี่ยนไปใช้รถ NGV แทนเช่นกัน

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นี่เป็นโอกาสดีที่เราเห็นความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ โดยกระทรวงสาธารณสุขมี 3 มาตรการ ในการจัดการที่ต้นเหตุในการเกิดฝุ่น คือ 1.ช่วยการจัดการในพื้นที่ ตาม พ.ร.บ.การจัดการสาธารณสุข ในพื้นที่ 2.เชื่อมโยงข้อมูลเฝ้าระวังกับกรมควบคุมมลพิษ และสื่อสารต่อประชาชน ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบหรือไม่ ทำให้ประชาชนตื่นตัว 3.การสื่อสาร การป้องกัน ปกป้องตัวเอง สำหรับประชาชน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า