Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคใต้ ยังน่าห่วง กรมควบคุมมลพิษ เผย พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชม. มีค่าอยู่ระหว่าง 7–70 ไมโครกรัม/ลูกบากศ์เมตร มีเกินมาตรฐาน 2 สถานี ได้แก่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ อ.เมือง จ.ยะลา เตือนประชาชนสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง และงดกิจกรรมกลางแจ้ง

วันนี้ (19 ก.ย.62) นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคใต้ วันนี้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชม. มีค่าอยู่ระหว่าง 7–70 ไมโครกรัม/ลูกบากศ์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) มีเกินมาตรฐาน 2 สถานี ได้แก่ ที่อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบค่าสูง 70 มคก./ลบ.ม. และอําเภอเมือง จังหวัดยะลา พบค่าสูง 58 มคก./ลบ.ม. เกินค่ามาตรฐาน และเมื่อพิจารณาข้อมูลรายชั่วโมง ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในภาคใต้ พบว่าฝุ่นละอองเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 18 กันยายน 2562 จึงทําให้ค่าเฉลี่ย 24 ชม. มีแนวโน้มสูงขึ้น

จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย ลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง และหากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ให้รีบไปพบแพทย์

นายประลอง กล่าวว่า สถานการณ์จุดความร้อนในภูมิภาคอาเซียนตอนล่าง มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากภาพถ่ายดาวเทียม NOAA-20 ตั้งแต่วันที่ 15-17 กันยายน 2562 พบจุดความร้อนในพื้นที่สุมาตรา และกาลิมันตัน จาก 579 จุด ลดลงเหลืออยู่ 288 จุด และในวันที่วันที่ 18 กันยายน 2562 พบจุดความร้อนเพิ่มขึ้นที่ 589 จุด ทั้งนี้ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยไม่พบจุดความร้อนการแจ้งเตือนและรับมือสถานการณ์

โดยสํานักงานเลขาธิการอาเซียนได้ประกาศยกระดับการแจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควันในภูมิภาคอาเซียนตอนล่างให้อยู่ในระดับที่ 3 (จุดความร้อนเกิน 250 จุด ต่อเนื่อง 2 วัน ขึ้นไป และมีกลุ่มควันหนาแน่น สภาพอากาศแห้งแล้ง ประกอบกับมีลมซึ่งสามารถพัดกลุ่มควันเข้าประเทศสมาชิก) โดยขอความร่วมมือประเทศสมาชิกรายงานการแก้ไขปัญหาของแต่ละประเทศ เพื่อสํานักงานเลขาธิการอาเซียนจะสรุปผลในภาพรวมของภูมิภาคอาเซียนเป็นประจําทุกวัน

ทั้งนี้ คพ. ได้ประสานงานสํานักงานเลขาธิการอาเซียนได้รับการยืนยันว่าอาเซียนยังคงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องตาม SOP ของข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (AATHP) ซึ่งอยู่บนหลักการ ประเทศที่ก่อให้เกิดปัญหาจะต้องแก้ไขโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกอื่นๆและประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศเพิ่มเติมได้ที่ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/ แอปพลิเคชั่น Air4Thai และข้อมูลจุดความร้อน http://asmc.asean.org/home/

ขณะที่  ดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI ที่จากเว็บไซต์ Airvisaul.com เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (19 ก.ย.) ระบุว่า จังหวัดสงขลา ค่า AQI อยู่ที่ 162 ส่วนค่าฝุ่น PM 2.5 วัดได้ที่ 77 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ อ.เบตง จ.สงขลา ค่า AQI อยู่ที่ 173 ส่วนค่าฝุ่น PM 2.5 วัดได้ที่ 98.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีมลพิษทางอากาศสูงสุดในประเทศ  ส่วน อ.เมือง จังหวัดยะลา ติดอันดับ 3 คุณภาพอากาศแย่ที่สุดในประเทศ ค่า AQI อยู่ที่ 153 ส่วนค่าฝุ่น PM 2.5 วัดได้ที่ 59 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า