Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 จาก 11 ประเทศ อาเซียนและติมอร์-เลสเต ด้วยระบบออนไลน์ การนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นประธานเปิดการประชุม ทรงย้ำ “โควิด-19 ถึงแม้โรงเรียนจะปิดแต่การศึกษานั้นปิดไม่ได้” บทบาทของครูมีความสำคัญมากต่อชีวิตของเด็ก การเป็นครูนั้นไม่ง่าย การเป็นครูดีเด่นยิ่งไม่ง่าย เพราะการเป็นครูที่ยอดเยี่ยมต้องใช้ความทุ่มเท เสียสละ

เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 และทรงฟังการอภิปรายพิเศษจากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีทั้ง 11 ประเทศ ในหัวข้อที่ 1. Community Engagement หัวข้อที่ 2. Special Education และหัวข้อที่ 3.Teaching Methods that Enhance Learning & Inspire Students to Learn
สำหรับการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบผสมคือใช้สถานที่จริงในช่วงพิธีเปิด โดยมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กราบบังคมทูลรายงาน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กราบบังคมทูลถวายรายงาน พร้อมกับประชุมระบบออนไลน์ข้ามประเทศในระบบ Zoom Meeting ร่วมกับครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จาก 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต โดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กองทุนเพื่อความเสมอภาคภาคทางการศึกษา กรมประชาสัมพันธ์ หน่วยภาครัฐและเอกชน และสถานทูตไทยประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ซึ่งเป็นการประชุมเป็นรูปแบบผสม โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมลงทะเบียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประชุมในระบบออนไลน์ กว่า 2,000 คน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 ตุลาคม 2563

ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า การเป็นครูนั้นไม่ง่าย การเป็นครูดีเด่นยิ่งไม่ง่าย เพราะการเป็นครูที่ยอดเยี่ยมต้องใช้ความทุ่มเท เสียสละ ข้าพเจ้าก็เป็นครู มีความตั้งใจอยากเป็นครูตั้งแต่เด็ก และเป็นครูมา 30 ปีแล้ว จึงเข้าใจว่าการเป็นครูที่ดีเด่นมีความยากอย่างไร การเป็นครูมีความรับผิดชอบหลายอย่าง เพราะนอกจากการศึกษาแล้วยังต้องเตรียมเด็กไปสู่อนาคต พวกเราในฐานะครูจะต้องให้ความรู้ บ่มเพาะ ให้ความรักและเคารพกับเด็กของเรา เพื่อให้เขาเชื่อมั่นในตัวเอง และเป็นคนที่ดีเท่าที่เขาจะเป็นได้

“จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าที่ได้ทำในเรื่องพัฒนาการศึกษามากว่า 40 ปี จึงเข้าใจในบทบาทของครูที่มีความสำคัญมากต่อชีวิตของเด็ก ครูจึงมีบทบาทหลายอย่างโดยเฉพาะครูที่อยู่ในท้องถิ่นธุรกันดาร เช่น ครูเป็นทั้งพ่อ เป็นทั้งแม่ หมอ พยาบาล คนสวน ช่างไม้ ช่างไฟ แม้แต่ผู้ให้คำแนะนำกับชุมชน บางครั้งก็เป็นผู้ไกล่เกลี่ยในชุมชน ข้าพเจ้าจึงให้การสนับสนุนครูอย่างเต็มที่เพื่อให้ครูได้ทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ครูได้ช่วยเด็กและชุมชน การประชุมวิชาการครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจะเป็นตัวอย่างให้กับครูท่านอื่นโดยการแบ่งปันเทคนิคการสอน และเป็นโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้ฟังเรื่องราวของท่านถึงการขยายผลการทำงานของครู เพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักเรียน และครูท่านอื่น”

นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีตอนหนึ่งว่า ในระหว่างที่โรงเรียนปิดเนื่องจากโควิด-19 ถึงแม้โรงเรียนจะปิดแต่การศึกษานั้นปิดไม่ได้ ครูทั้งหลายได้เล่าถึงการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบออนไลน์ แต่มีครอบครัวอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีทีวี ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ครูของแต่ละโรงเรียนจึงมีการจัดหาเทคโนโลยีเพื่อให้เด็กได้เรียน หรือเดินทางไปแจกจ่ายตำรา แบบฝึกหัด โดยใช้รถจักรยานยนต์ รถกระบะ ซึ่งเป็นการเดินทางที่ยากลำบากเพื่อส่งตำราเรียนให้กับเด็ก มีการให้การบ้าน ไปตรวจการบ้านเด็ก ๆ ซึ่งท่านก็เป็นตัวอย่าง และข้าพเจ้าก็ขอขอบใจ
สำหรับตัวอย่างประสบการณ์การสอนของครูที่หลากหลายที่จะมาแบ่งปันสุดยอดเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อาทิ เรียนรู้การสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ผ่านเทคนิคการสอนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โดยครูวิรัก ลอย (กัมพูชา) ได้ออกแบบเทคนิคการจัดสอนแบบ IBL ระดมสมอง การจัดสเต็มศึกษา (STEM) การทดลองทางวิทยาศาสตร์ และสื่อประดิษฐ์ ครูเล ทัน เลียม (เวียดนาม) การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนเผ่า เพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่สามารถใช้ในชีวิตและชุมชน ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กเวียดนามในพื้นที่ชายแดน และครูรูดี ฮาร์ยาดี (อินโดนีเซีย) การจัดการสอนมัธยมแบบประสมสร้างยุววิศวกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยนวัตกรรม “PEPPERMINT” Model โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนบนฐาน E-learning /Media based learning และกิจกรรมหลากหลายที่เน้นให้ผู้เรียนในสร้างสรรค์ชิ้นงาน

ส่วนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้เป็นห้องเรียนแห่งความสุขเพื่อกระตุ้นให้เด็กรักเรียน ตัวอย่างการจัดการสอนของ ครูลูร์เดส รันเจล กอนซัลเวซ (ติมอร์-เลสเต) จัดการเรียนรู้สำหรับเด็กประถมศึกษาบนพื้นที่สูง โดยใช้สื่อและบริบทแวดล้อมเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างทักษะคิดคำนวณและทักษะสำคัญของการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรม active learning และห้องเรียน “เพื่อนเด็ก” ครูสุเทพ เท่งประกิจ (ประเทศไทย) ออกแบบการศึกษาเพื่อการมีงานทำจากพื้นที่ชายแดนใต้ หลักสูตรศึกษาท้องถิ่นเพื่อสร้าง “ทักษะสำคัญ ทำงานเป็น เห็นอนาคต” บูรณาการแหล่งเรียนรู้และทรัพยากรชุมชน สานพลังพ่อแม่และชุมชน เพื่อสร้างการเรียนรู้ตอบโจทย์ชีวิตจริงเด็กทุกช่วงวัยและชุมชน
นอกจากนี้ยังมี รูปแบบการจัดการสอนผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ กรณีการสอนของครูสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน และนวัตกรรมการสอนเด็กที่ตกหล่นทางการศึกษา ของครูฟิลิปปินส์ โดยใช้นวัตกรรม “push cart knowledge รถเข็นความรู้ที่ออกไปจัดกิจกรรมสำหรับเด็กตกหล่น/หลุดระบบ เพื่อสร้างทักษะพื้นฐาน “อ่านออกเขียนได้คิดคำนวณเป็น”

การประชุมในวันที่ 23 ตุลาคม 2563 มีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การเจาะลึกแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนร่วมกับครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศ เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนครูในยุคโควิด-19 เวทีสะท้อนความคิดของเยาวชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับโควิด “My School & COVID-19” และเวทีวิชาการผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนไทยในยุคโควิด-19 งานวิจัยจากธนาคารโลก สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าร่วมออนไลน์ฟรีได้ที่ www.PMCAFORUM.in.th

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า