SHARE

คัดลอกแล้ว

3 ช่องทางแหล่งเงิน ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ แจกเงินหมื่นคนไทย 50 ล้านคน ปลายปีนี้ เปลี่ยนอีกเงื่อนไข ‘ร้านค้า’ ถอนเงินได้รอบ 2 

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นำแถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (ดิจิทัลวอลเล็ต) ครั้งที่ 3/2567 ในวันนี้ (10 เม.ย. 67) ที่ทำเนียบรัฐบาล

“วันนี้รัฐบาลมีความยินดีที่จะประกาศให้พี่น้องประชาชนทราบว่า นโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งเป็นนโยบายเรือธงของรัฐบาล เป็นนโยบายที่จะยกระดับเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศและประชาชน ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว รัฐบาลได้ใช้ความพยายามสูงสุดฟันฝ่าอุปสรรคและข้อจำกัดทั้งหลาย จนวันนี้ได้มาถึงวันที่รัฐบาลสามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับพี่น้องประชาชนส่งมอบนโยบายที่จะพลิกชีวิตพี่น้องประชาชนและที่สำคัญเป็นไปตามตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ รวมทั้งอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ เป็นไปตามตัวบทกฏหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ รวมทั้งอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด โดยจะสามารถยืนยันตัวตนได้ในไตรมาส 3 และเงินจะส่งตรงถึงประชาชนในไตรมาส 4 ปีนี้” นายกฯ กล่าว

โดยคณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบกรอบหลักการ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นต้น เพือให้ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

“ส่วนความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการฯ การให้สิทธิแก่ประชาชน จำนวน 50 ล้านคน คิดเป็นจำนวนเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 5 แสนล้านบาท และกำหนดให้ใช้จ่ายในร้านค้าที่กำหนดซึ่งจะเป็นการเติมเงินลงสู่ฐานราก โดยจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยประมาณร้อยละ 1.2 – 1.6 จากกรณีฐาน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดเงื่อนไขของโครงการฯ” นายก กล่าวฯ

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้แถลงชี้แจงประเด็นแหล่งเงิน ที่จะใช้ในโครงการฯ นี้ กล่าวโดยสรุปว่า วงเงิน 5 แสนล้านบาท สามารถบริหารจัดการผ่านกระบวนการงบประมาณได้ทั้งหมด เป็นการจัดการงบประมาณ ปี 67 และ ปี 68 แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

1. ขยายกรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท

2. เติมเงินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ จำนวน 172,300 ล้านบาท โดยใช้มาตรา 28 ให้ ธ.ก.ส. ดูแลกลุ่มประชาชนที่เป็นเกษตรกร จำนวน 17 ล้านคนเศษ ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณของปี 2568

3. บริหารจัดการเงินงบประมาณ ปี 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท รัฐบาลต้องพิจารณาว่า รายการไหนปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงงบกลางอาจมีการนำมาใช้เพิ่มเติมถ้าวงเงินไม่เพียงพอ

ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวด้วยว่า ขอยืนยันการดำเนินการเรื่องแหล่งเงินเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายวินัยการเงินการคลัง กฎหมายงบประมาณ หรือกฎหมาย พ.ร.บ.เงินตรา ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ข้อกังวล โดย ณ วันที่เริ่มโครงการในช่วงปลายปี จะมีเงิน 5 แสนล้านบาทอยู่ทั้งก้อน ไม่ได้มีการใช้เงิน สกุลอื่นหรือว่าเป็นการใช้มาตรการอื่นแทนเงิน มีเงิน 5 แสนล้านบาทในวันเริ่มต้นโครงการ

จากนั้น นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช. คลัง ได้แถลงรายละเอียดเงื่อนไข และการพัฒนาระบบที่จะใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต สรุปได้ว่า

1. กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน โดยจะมีเกณฑ์ ได้แก่ อายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษีและมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

2. เงื่อนไขการใช้จ่าย

2.1 ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น

2.2 ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้า

“การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า”

3. ประเภทสินค้า สินค้าทุกประเภทสามารถใช้จ่ายผ่านโครงการฯ ได้ ยกเว้น สินค้าอบายมุข น้ำมัน บริการ และออนไลน์ เป็นต้น และสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม

4. คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้

– ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8 ) แห่งประมวลรัษฎากร

– ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)

“ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป”

5. การจัดทำระบบ จะเป็นการพัฒนาต่อยอดของรัฐบาลดิจิทัล โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายให้เป็น Super App ของรัฐบาล โดยการใช้งานจะพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่นๆ ในลักษณะ open loop ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำของภาครัฐ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ความรู้สึกของนายกฯ โครงการดิจิทัลวอลเลตที่แถลงในวันนี้ผิดจากความตั้งใจในตอนหาเสียงอย่างไรบ้าง ซึ่งนายเศรษฐา ตอบว่าระยะเวลาที่จะเกิดขึ้น แต่ว่าแน่นอนเราเป็นรัฐบาลที่จะต้องรับฟังเสียงของพี่น้องประชาชน ที่เราคาดว่าทีแรกจะออกมาได้ต้นปีนี้ก็ดีเลย์ไปถึงปลายปี แต่อย่างที่เรียนเราต้องฟังเสียงของทุกๆ คนที่เข้ามาให้ข้อแนะนำให้คำแนะนำเสนอแนะและพยายามที่จะเรื่องของการตั้งคณะกรรมการต่างๆ มา ต้องดูอย่างละเอียด เพื่อให้เป็นโครงการที่โปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต  ผลประโยชน์ทุกบาททุกสตางค์ตกอยู่ที่ประชาชน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามรายละเอียดการเบิกถอนเงินของร้านค้า ที่กำหนดให้ทำได้ตั้งแต่รอบ 2 ขึ้นไป นายจุลพันธ์ ชี้แจงประเด็นนี้ว่า กลไกการใช้จ่ายเงินดิจิทัลต้องใช้ 2 รอบ เป็นอย่างต่ำเพื่อให้เกิดตัวคูณทางเศรษฐกิจอย่างที่เหมาะสม เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

“รอบแรกประชาชนใช้กับร้านค้าขนาดเล็ก จะเป็นร้านหน้าบ้าน ร้านก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ใช้แล้วร้านค้านั้นก็นำไปซื้อสินค้าทุนกับร้านค้าอื่นๆ ต่อไปอีกหนึ่งทอดจึงจะขึ้นเงินได้” รมช.คลัง กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าแบงก์ชาติ) ไม่ได้มาเข้าร่วมประชุมบอร์ดชุดใหญ่ 2 ครั้งติด จะทำให้เกิดคำถามหรือไม่ นายจุลพันธ์ ตอบว่า ไม่น่ามีปัญหาอะไร มีการส่งตัวแทนมา ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายถูกต้องทุกประการ และมีอีกหลายท่านที่ไม่ได้มาในวันนี้ แต่สื่อไม่ได้ถาม

เมื่อถามว่า นายกฯ ก็ไม่ได้ซีเรียสเรื่องที่ผู้ว่าแบงก์ชาติไม่ได้เข้ามาร่วมประชุมด้วยใช่หรือไม่ นายเศรษฐา ตอบว่า “ก็ท่านติดภารกิจ ท่านบอกว่าท่านติดภารกิจ ก็รับทราบ อย่างที่ท่านรัฐมนตรีช่วยบอกไปก็เป็นไปตามกฎหมาย ท่านมีการส่งมอบตัวแทนมาก็ถือว่าชอบธรรมถูกต้องครับ”

เมื่อถามว่า อย่าง 7-Eleven และ แม็คโคร ถือว่าเป็นร้านค้าขนาดเล็กตามโครงการฯ นี้หรือไม่ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า รายละเอียดสุดท้ายต้องมีการสรุปกันอีกรอบหนึ่ง เบื้องต้น ร้านสะดวกซื้อลงมาคือร้านค้าขนาดเล็ก แม็คโคร หรือว่าเป็นห้างสรรพสินค้า แน่นอนว่าไม่รวม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

‘ศิริกัญญา’ อัดรัฐบาลเลือดเข้าตา ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ออกทะเลไปไกล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า