Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลอาญา ยกฟ้อง ‘ช่อ พรรณิการ์’ ปมพาดพิงสถาบันฯ พร้อมเผยร่างคำพิพากษาอธิบาย

นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในฐานะทนายความของ น.ส.พรรณิการ์ วานิช ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า วันนี้ (19 พ.ค. 66) ที่ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญาถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษา ในคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.พรรณิการ์ ในความผิด พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14(2)

สำหรับคดีนี้เจ้าหน้าที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้เเจ้งความร้องทุกข์ไปยังกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตั้งเเต่ช่วงปี 2564 กรณีที่ พรรณิการ์มีการโพสต์ข้อความสมัยเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยจุฬาฯในช่วง ปี tel:2556-2557 ซึ่งต้องมามีการเเจ้งความว่าข้อความดังกล่าวโดยการนำเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นบทกวีมีลักษณะพาดพิงสถาบันฯ

ซึ่งศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้ว เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามความผิด พ.ร.บ.คอมฯ ที่โจทก์ฟ้อง เพราะไม่ใช่การทำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยประการที่จะก่อความเสียหายหรือตื่นตระหนกต่อสังคมแต่อย่างใด

โดยข้อความทั้งสองข้อความที่โจทก์ฟ้องจำเลยมานั้น เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯตามที่โจทก์ฟ้องได้เลย เพราะทั้งสองข้อความไม่ได้เป็นกรณีที่จำเลยเจตนาจะนำความเท็จมาเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจผิด

นอกจากนี้แล้ว โดยในร่างคำพิพากษายังมีการอธิบายด้วยว่า สำหรับข้อความแรกนั้นเป็นการเปรียบเปรยถึงสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น และข้อความที่สอง ก็เป็นคำทำนายเพลงยาวพยากรณ์ซึ่งสาธารณชนทั่วไปรับรู้อยู่แล้ว มีการเผยแพร่และตีพิมพ์ทั่วไป

ข้อความที่ 1 ระบุว่า ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปัตย์ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นอาวุธ

ข้อความที่ 2 เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา

ศาลพิเคราะห์ว่า แม้ข้อความที่ 1 จะมีคำว่าพระมหากษัตริย์ แต่เป็นเพียงการเปรียบเทียบโดยเล่นคำ วิญญูชนพึงทราบว่าประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ถือเป็นความเท็จ ส่วนการมีคำว่าพระมหากษัตริย์ อาจทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกไปได้หลายทางตามอัตวิสัยของแต่ละบุคคล แต่การตัดสินคดีความพึงใช้ตัวบทกฎหมาย พิจารณาองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย ไม่สามารถขึ้นอยู่กับทัศนคติหรือความรู้สึกของคนใดคนหนึ่งได้ จึงเห็นว่าข้อความดังกล่าวไม่เข้าข่ายความผิดพรบ คอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 14 (2)

โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้ว เห็นว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามความผิด พรบ.คอมฯ ที่โจทก์ฟ้อง เพราะไม่ใช่การทำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยประการที่จะก่อความเสียหายหรือตื่นตระหนกต่อสังคมแต่อย่างใด

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า