SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เศรษฐา’ ต้อนรับ ‘ปธน.เยอรมนี’ หารือเอกชน นำเสนอข้อมูล ‘แลนด์บริดจ์’ ขณะที่ผู้นำเยอรมนี ยินดี ‘พิธา’ ได้คืนกลับเป็น สส. ถือเป็นสัญญาณที่ดี การเมืองไทย

วันนี้ (25 ม.ค. 67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง พร้อม พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน ภริยา ให้การต้อนรับ ดร.ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (H.E.Dr. Frank-Walter Steinmeier) ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล

การเยือนอย่างเป็นทางการครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประธานาธิบดีเยอรมนี ในรอบ 22 ปี ไทยกับเยอรมนี มีความสัมพันธ์กันมากว่า 162 ปี โดยเยอรมนีเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในอียู (EU) ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ในอาเซียน ทั้ง 2ประเทศ ยังเห็นพ้องกำหนดเป้าหมายในการยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership)

นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านความยั่งยืน การรับมือกับภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ทั้งนี้ เยอรมนีพร้อมสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าเป็นร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2040 และขยายการลงทุนในอุตสาหกรรม อีวี (EV) เพื่อให้ไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาค รวมทั้งยังยินดีส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืนในไทยอย่างต่อเนื่อง และพร้อมให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5

การเยือนไทยอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ ประธานาธิบดีเยอรมนียังได้นำคณะภาคเอกชนร่วมเดินทางมาด้วยประกอบด้วยผู้แทนจาก 12 บริษัท ใน 5 สาขา ได้แก่

1. สาขานิทรรศการงานแสดงสินค้านานาชาติ

2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์

3. พลังงานหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม

4. บริการ ดิจิทัลและการศึกษา

5. วัสดุก่อสร้าง การก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน

โดยในระหว่างการพบกับภาคเอกชน นายกฯ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพด้านเศรษฐกิจของไทยและโอกาสใหม่ๆ รวมทั้งยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและโครงการต่างๆ อาทิ โครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) โครงการยกระดับการขนส่งระบบรางและโลจิสติกส์ของไทย Ease of Doing Business และการสร้างทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านอาชีวศึกษา โดยภาคเอกชนแสดงความสนใจในด้านงานสินค้านานาชาติ การรีไซเคิลและการผลิตเม็ดพลาสติกจากขยะ ซึ่งไทยพร้อมพิจารณาเพื่อสนับสนุนการลงทุนจากเยอรมนีต่อไป

ส่วนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรีขอการสนับสนุนสำหรับการเจรจากับสหภาพยุโรป เพื่อให้บรรลุขอยกเว้นตรวจลงตรา สำหรับการเดินทางเข้าเขตเชงเกนให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาไทย โดยไทยถือเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวชาวเยอรมันชื่นชอบ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยเมื่อปี พ.ศ. 2566 กว่า 700,000 คน และชาวเยอรมันได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา 30 วันแล้วด้วย

เย็นวันนี้ ประธานาธิบดีเยอรมนี ยังมีกำหนดเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และจะไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำไฮบริด เขื่อนสิรินธร และโครงการเกษตรยั่งยืนที่เป็นความร่วมมือระหว่างเยอรมนีกับไทย รวมทั้งเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติผาแต้มในวันพรุ่งนี้ (26 ม.ค. 67) ซึ่งนายกรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นโอกาสเปิดศักราชความสัมพันธ์และความร่วมมือ นำไปสู่ความร่วมมือที่ใกล้ชิด เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในทุกมิติอย่างแน่นแฟ้น

ขณะที่ นายเศรษฐา นายรัฐมนตรี มีกำหนดจะเดินทางเยือนเยอรมนีอย่างเป็นทางการ ในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อสานต่อและผลักดันความร่วมมือ นำไปสู่การสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันต่อไป

‘ปธน.เยอรมนี’ ยินดี ‘พิธา’ หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีหุ้นไอทีวี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการแถลงร่วมของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และ ดร.ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทางประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ยังได้กล่าวว่า ได้มีการหารือเรื่องสิทธิบทบาทของภาคประชาสังคม ตนรู้สึกยินดีภายหลังได้รับฟัง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีคดีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โดยคำพิพากษา ถือว่า ออกมาถือเป็นสัญญาณที่ดี ในการดำเนินการทางการเมืองที่ดีของไทย

ภาพจาก สำนักโฆษกฯ ทำเนียบรัฐบาล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า