SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เศรษฐา’ รับหนังสือกับมือ จากตัวแทน ‘เครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น’ เรียกร้องฟังเสียงคนในพื้นที่ ชะลอโครงการ ‘แลนด์บริดจ์’

วันนี้ (22 ม.ค. 67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นำคณะลงพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแหลมสน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง จุดที่โครงการแลนด์บริดจ์ จะผ่าน

ได้มีตัวแทนเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น ดักรอยื่นหนังสือ ขอให้ชะลอโครงการแลนด์บริดจ์ และเรียกร้องให้ฟังเสียงคนในพื้นที่ด้วยความจริงใจ

“ที่มะอยากมาวันนี้ อยากจะจับมือกับท่านนายกฯ เพราะเห็นว่าท่านนายกฯ เป็นคนดี และช่วยด้วยนะคะ แล้วทะเลสวยไหมคะ ที่แลนด์บริดจ์จะลงมาทำท่าน้ำลึก มันตรงกับบ้านมะ เป๊ะๆ เลย แล้วที่ทำกินของมะ อยู่ตรงนั้น ท่านขอชะลอไปก่อนได้ไหมคะ” ตัวแทนเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นกล่าวกับนายกฯ ‘เศรษฐา’

“ไม่ต้องห่วงครับ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญนะครับ แลนด์บริดจ์เป็นโอกาส แต่ว่าการมีโอกาสก็ต้องมีการให้โอกาสกับคนพื้นที่ด้วยเหมือนกันที่จะต้องแสดงคิดเห็น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนทุกคน” นายกฯ ‘เศรษฐา’ กล่าวตอบตัวแทนเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น

นายเศรษฐา รับฟังบรรยายสรุปโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเล อ่าวไทย – อันดามัน (Landbridge ชุมพร – ระนอง) จากทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม โดยเปิดเผยว่า วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ลงพื้นที่บริเวณนี้ พร้อมได้รับฟังการนำเสนอถึงวิธีการโดยภาพรวม รวมทั้งการคาดการณ์ว่าจะมีการถมทะเลเท่าไหร่ มีระยะห่างออกไปเท่าไหร่ และยังมีการสร้างสะพานที่มีต่อม่อ ทำให้เรือประมงของพี่น้องประชาชนยังคงสามารถประกอบอาชีพได้ ทั้งนี้ ในการริเริ่มโครงการใหญ่ๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรับฟังความเห็น และชี้แจงประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ซึ่งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่มีโครงการใหญ่ Mega Project เลย โดยในช่วงอดีต นายกรัฐมนตรี ดร. ทักษิณ มีโครงการขนาดใหญ่ที่สำเร็จและสร้างประโยชน์ให้ประเทศมหาศาล คือสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศทำให้ไทยพัฒนาถึงทุกวันนี้ได้

ทั้งนี้ โครงการ แลนด์บริดจ์ (Landbridge) เป็นโครงการเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอันดามัน บริเวณแหลมอ่าวอ่าง จังหวัดระนอง และอ่าวไทย บริเวณแหลมริ่ว จังหวัดชุมพร ด้วยเส้นทางมอเตอร์เวย์ และรถไฟทางคู่ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังระบบรถไฟในประเทศได้ เพิ่มศักยภาพการขนส่งของไทย ร่นระยะเวลาขนส่งข้ามช่องแคบมะละกาที่แออัด รองรับปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และสามารถขยายท่าเรือ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ โครงการนี้จึงถือว่าสำคัญ เพราะจะนำความเจริญมาสู่ประเทศ สร้างแรงจูงใจให้บริษัทขนาดใหญ่ระหว่างประเทศมาตั้งฐานผลิตรถยนต์ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในไทย สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ประเทศ

อย่างไรก็ดี สำหรับข้อกังวลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจะมีการศึกษาถึงผลกระทบในขั้นต้น และต่อไปจะเริ่มศึกษาลงไปที่แหล่งน้ำพุร้อน แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ต่อไป ในส่วนของการจ้างงาน ให้มองว่าเป็นเรื่องของโอกาส โดยท่าเรือที่สร้างขึ้นมาไม่ใช่แค่ท่าเรือขนสินค้าเท่านั้น แต่รวมถึงเรือสำราญ ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญทั้งเป็นของชาวระนองและจังหวัดแถบอันดามัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคใต้ทั้งภูมิภาค ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียืนยันว่า ในการทำ Mega Project นี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำการศึกษาอย่างละเอียดในทุกมิติควบคู่กันไป

ทั้งนี้ นายเศรษฐา ยังได้เปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการแลนด์บริดจ์ผ่านแอปพลิเคชั่น X ส่วนตัวด้วย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า