Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กสม.แถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อ แนะปฎิรูปองค์กรตำรวจ ชี้เหตุตำรวจซ้อมทรมานผู้ต้องขังถึงแก่ความตายละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนอย่างชัดแจ้ง แนะรัฐบาลเร่งผลักดันร่างกฎหมายซ้อมทรมานฯ

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ ตามที่ปรากฏข่าวและคลิปของเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มหนึ่งในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ ใช้ถุงพลาสติกคลุมศีรษะและซ้อมทรมานผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อเรียกรับผลประโยชน์กระทั่งผู้ต้องหารายดังกล่าวได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต นั้น

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เห็นว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ต้องหาในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอาจได้รับอันตรายจนถึงแก่ชีวิต จึงถือว่าขัดต่อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ตลอดจนไม่สอดคล้องตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment – CAT) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม

กสม.มีความเห็นว่ากรณีดังกล่าวเชื่อมโยงให้เห็นถึงปัญหาการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งยังคงปรากฏเป็นเรื่องร้องเรียนมายัง กสม.เป็นระยะ ประกอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์แจ้งในการกระทำความผิด จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการดังนี้

1. เร่งสอบสวนและดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มดังกล่าวด้วยกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ตลอดจนจัดให้มีการคุ้มครองพยานที่รัดกุม โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรพิจารณาสั่งการให้มีการติดกล้องวงจรปิดในกระบวนการและสถานที่สอบสวนทุกแห่งด้วย ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน

2. เร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ตามที่ กสม.เคยมีข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล และล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ นร 0503/ว(ล)26227 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2564 เห็นชอบให้บรรจุเรื่องการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องด่วนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องตามอนุสัญญา CAT ที่ประเทศไทยเป็นภาคีโดยเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาและบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ อันเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการซ้อมทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายได้อย่างเป็นรูปธรรม

3. ผลักดันให้มีการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ทั้งในเชิงโครงสร้าง กระบวนการ และกฎระเบียบ โดยเฉพาะกระบวนการสืบสวนสอบสวนที่จะต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยให้อัยการเข้ามากำกับการสอบสวนตั้งแต่ชั้นตำรวจ  ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักสากลและหลักสิทธิมนุษยชน อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

กสม.หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นจะเป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมโดยเฉพาะองค์กรตำรวจได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้แก่ประชาชนทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ต้องขังหรือผู้ต้องสงสัยว่ามีความผิดหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า