SHARE

คัดลอกแล้ว

ใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ เข้ามาทุกที ทำให้วลีที่ว่า “กรุงเทพฯ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว” ดังขึ้นในใจใครหลายคน พร้อมกับคำถามที่ว่า ตอนนี้เรามีชีวิตดีๆ ที่ลงตัวได้ในกรุงเทพฯหรือยัง 

TODAY Bizview บทความนี้ เสนอมุมมองของ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ที่เสนอไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า การทำเมือง ให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม คือส่วนสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ ดีขึ้น 

——– 

เมื่อส่องแว่นขยายในหลาย เมืองทั่วโลกที่มีการเลือกตั้ง เรามักจะเห็นนโยบายที่น่าสนใจที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และการสร้างเมืองให้น่าอยู่ 

แต่เรื่องหนึ่งที่เป็นที่น่าจับตาคือ “การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี” เข้ามาใช้เพื่อยกระดับเมือง สู่ความเป็นเมืองที่ชาญฉลาด และรองรับการแก้ปัญหาต่างๆ จะทำให้คนเกิดความตระหนักว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยี มีความสำคัญกับบริบทของผู้นำและความน่าอยู่ของเมืองอย่างมาก 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ตอกย้ำให้คนเมืองได้ตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม พร้อมผลักดันให้เกิดผู้นำด้านดังกล่าวให้มากขึ้นในประเทศไทย  

ดร.พันธุ์อาจ เผยว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่เติบโตขึ้นทุกปี การขยายตัวของเมืองถือเป็นเรื่องสำคัญ และเกี่ยวพันกับนโยบายการส่งเสริมหรือสร้างพื้นที่ ให้เอื้อต่อการทำนวัตกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

เพราะถือเป็นสมการสำคัญที่จะรองรับวิถีชีวิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหลวงและประเทศ อีกทั้งยังเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถที่ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือผู้ที่มีความสามารถต้องร่วมกันผลักดันอย่างจริงจัง  

[ สร้างเมืองให้เอื้อต่อการทำนวัตกรรม ] 

สิ่งสำคัญสำหรับความเป็นเมืองก็คือ จะต้องมีองค์ประกอบที่เอื้อต่อการทำนวัตกรรม ซึ่งหลายเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Smart City หรือ Innovation City เช่น เซินเจิ้น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ รวมทั้งเมือง ในยุโรป ล้วนมีความสามารถในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานภายในเมือง 

อีกทั้งยังมีภาพลักษณ์ของเทศบาลเมืองที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเมืองด้วยนวัตกรรม ซึ่งเมื่อเมืองเหล่านี้ถูกพูดถึงก็จะมีภาพจำที่ชัด เช่น ความเป็นเมืองสีเขียว เมืองเทคโนโลยีสะอาด เมืองศูนย์กลางค้าปลีก ฯลฯ จนกระทั่งกลายเป็นแบรนด์ของเมืองในที่สุด 

สำหรับการสร้างแบรนด์กรุงเทพมหานคร ควรสร้างภาพจำให้มากกว่าการเป็นเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งที่จะต้องผลักดันคือ “ธุรกิจนวัตกรรม” ทั้งที่เป็นของคนไทยและนานาชาติว่ าจะเกิดขึ้นบนพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างไร 

เช่น การอยู่อาศัยของนวัตกร สตาร์ทอัพ หรือเจ้าของบริษัทที่จะลงทุนในธุรกิจต่างๆ กฎระเบียบ การวางแผนและออกแบบพื้นที่บนหลักการของการพัฒนาเมืองที่ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม 

นอกจากนี้ ยังต้องทำให้เห็นภาพการเชื่อมโยงไปสู่เมืองอื่น เพื่อลดการกระจุกตัวของความเจริญ และโอกาสใหม่ๆ ในการใช้ทรัพยากรที่แต่ละพื้นที่มีอยู่ 

โดย NIA เชื่อว่าผู้นำหลายคน มีนโยบายและความคิดในเรื่องเหล่านี้ และหลังจากนึ้จะได้เห็นการปลดล็อกบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะโครงสร้างระบบการบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เอื้อต่อการสร้างเมืองนวัตกรรมได้มากขึ้น

[ กรุงเทพฯ เมืองหลวงแห่งสตาร์ทอัพ ] 

เมื่อวัดกันที่ระดับความสามารถทางนวัตกรรมจาก 1,000 เมืองทั่วโลก กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 71 ของเมืองที่เอื้อต่อการทำสตาร์ทอัพ 

ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีอยู่ของโครงสร้างพื้นฐาน บริบทเมือง ฯลฯ ที่ไม่น้อยหน้าเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือแม้แต่ในเอเชีย 

และเมื่อมองถึงตัวชี้วัดจากการจัดอันดับยังพบอีกว่า กรุงเทพมหานครยังมีความโดดเด่นในเรื่องของอีคอมเมิร์ซและเทคโนโลยีการค้าปลีก ซึ่งได้อันดับที่ 33 ของโลก 

มีความเพียบพร้อมด้วยปัจจัยเชิงปริมาณ เช่น โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ สิ่งอำนวยความสะดวก จำนวนบริษัท/สาขาของบริษัทที่ดำเนินงานด้านการวิจัยและเทคโนโลยี ความสะดวกและความเร็วอินเทอร์เน็ต 

แต่อย่างไรก็ตาม ภาพจำของสตาร์ทอัพไทยในกรุงเทพฯ อาจไม่ได้เหมือนกับจาการ์ตา อินโดนีเซียที่มียูนิคอร์นเกิดขึ้นมากมาย หรือสิงคโปร์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของสตาร์ทอัพทางด้านการเงิน 

แต่ไทยมีความโดดเด่นจากความหลากหลาย และสามารถนำความหลากหลายนี้เข้าไปเชื่อมต่อกับปัญหาของไลฟ์สไตล์คนเมืองกรุงได้ 

โดยความหลากหลายเหล่านี้ยังสร้างความน่าสนใจ ให้กับภาคการลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนกับสตาร์ทอัพประเภทต่างๆ โดยเฉพาะสายเทคโนโลยีเชิงลึก (DeepTech) ที่รัฐบาลรวมถึง NIA กำลังส่งเสริมอย่างจริงจัง 

[ กรุงเทพฯ กับเมืองนวัตกรรมทางด้านการเงิน ]  

โอกาสอีกด้านหนึ่งของกรุงเทพมหานคร คือมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางด้านนวัตกรรมการเงิน 

ซึ่งในอาเซียน เราเป็นรองแค่เมืองสิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์เท่านั้น 

แต่อย่างไรก็ตามการจะขับเคลื่อนให้กรุงเทพฯ ให้ไปถึงเป้าหมายนี้ได้ สิ่งสำคัญคือต้องมีสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีโอกาสสำหรับคนที่มีความสามารถ หรือทำในเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้ว และยังต้องพยายามส่งเสริมองค์ความรู้ โอกาสการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ หรือเชื่อมโยงกับธุรกิจใหม่ๆ 

โดยเฉพาะในส่วนขององค์ความรู้นั้น ในกรุงเทพฯ  มีสถาบันการศึกษาอยู่มากมายที่สามารถเป็นแหล่งอัพสกิล-รีสกิล 

องค์ความรู้นวัตกรรมทางด้านบริการการเงิน 

พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่การเพิ่มรายได้ การทำให้เกิดความคุ้นชินกับนวัตกรรม 

เมื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ได้จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบทั้งในเชิงการดึงดูดเม็ดเงินจากภายใน ต่างประเทศ  และโอกาสอื่นๆ ที่จะตามมา

เมื่อกรุงเพทฯ เป็นเมืองที่เอื้อต่อการทำนวัตกรรมการเงิน ก็จะทำให้กลุ่มธุรกิจร่วมลงทุนระดับโลก ตัดสินใจเลือกที่จะลงทุนในกรุงเทพฯ จากที่ก่อนหน้านี้มีตัวเลือกแค่สิงคโปร์ และจาการ์ตา

จากกรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ภาพของกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่อยู่สบาย มีความพร้อมรองรับการลงทุนได้ ซึ่งส่วนที่ดีเหล่านี้ต้องพยายามดึงออกมาให้คนเห็นมากขึ้น 

[ ศูนย์กลางด้านการบิน เมื่อโลกกลับมาเชื่อมต่อได้อีกครั้ง ]

จุดแข็งของกรุงเทพฯ อีกด้านหนึ่งก็คือ การเป็นฮับในการขนส่งทางอากาศของโลก ซึ่งในอาเซียนมีเพียงสิงคโปร์ และกรุงเทพฯ เท่านั้น 

ทำให้คนที่อยากไปมาในย่านนี้มีความสะดวกสบาย สามารถเดินทางไปในพื้นที่ต่าง ๆ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ง่ายขึ้น 

หลังจากนี้ หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง เชื่อว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาเหมือนเดิม และสิ่งสำคัญที่กรุงเทพฯ ต้องเตรียมตัวคือ โซลูชันในการรองรับนักเดินทาง สร้างความสะดวกให้กับกลุ่มนักธุรกิจ 

ต้องมีความสามารถรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากด้านการบิน พร้อมด้วยการทำให้เห็นถึงสิ่งที่เอื้อต่อการเมืองแห่ง Global Citizen ที่จะดึงดูดคนทั่วโลกที่เป็นนวัตกรให้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่แห่งนี้  

[ ย่านนวัตกรรมพื้นที่แห่งโอกาสที่ต้องสานต่อ ] 

หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งที่คนเข้ามาในกรุงเทพฯ ล้วนมองหาคือ ความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่ รวมถึงประโยชน์ที่จะได้จากพื้นที่เหล่านั้น 

และเมื่อมองถึงโอกาสทางด้านนวัตกรรมในเขตกรุงเทพฯ ก็หนีไม่พ้น “ย่านนวัตกรรม” ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีทั้งที่เป็นย่านการแพทย์  ย่านด้านดิจิทัล ย่านท่องเที่ยว ย่านด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ ที่เป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกร ผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรม และเป็นคันเร่งการสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ 

จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาย่านนวัตกรรมยังได้ทำให้เกิดมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมาย และกรุงเทพมหานคร ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ได้ร่วมผลักดันให้ย่านต่าง ๆ เกิดขึ้น 

โดย NIA เชื่อว่ากรุงเทพมหานคร จะยังคงเป็นหนึ่งในกำลังหลักที่ช่วยสานต่อให้มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการยกระดับเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวทิ้งท้าย ฝากฝังถึงผู้นำคนใหม่ของกรุงเทพฯ ว่า 

“การที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองนวัตกรรม ที่สามารถดึงดูดนักลงทุนและนวัตกรจากต่างประเทศได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยมากมาย 

ทั้งความร่วมมือจากองค์กร องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ความสามารถในการจัดการ สถาบันการศึกษา การวิจัย และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ 

และสิ่งสำคัญ คือคนในเมือง ต้องหันมาสนใจและมองนวัตกรรมให้เป็นเรื่องใกล้ตัว และนำมาปรับใช้กับการทำงานและการทำธุรกิจต่อไป โดยหวังว่าการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ จะทำให้กรุงเทพมหานครเฉิดฉายด้านการเป็นเมืองนวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ ” 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า