SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ปกรณ์วุฒิ’ ก้าวไกล เสนอใช้ Cell Broadcasting แจ้งเตือนภัยตรงเข้ามือถือไปให้ไกลกว่า ‘วิทยุทรานซิสเตอร์’

กรณีที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการแจ้งเตือนประชาชนถึงภัยพิบัติอุทกภัย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.พรรคก้าวไกล ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะกับรัฐบาลว่าวิทยุทรานซิสเตอร์อาจใช้ได้ในบางกรณี แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าคือ Cell Broadcasting ใช้ในส่งข้อความการแจ้งเตือนภัยพิบัติถึงโทรศัพท์มือถือประชาชนโดยตรง

นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า วิทยุทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นเมื่อ 70 ปีที่แล้ว ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นยามภัยพิบัติรุนแรง ซึ่งในต่างประเทศมักใช้ในกรณีที่เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือใช้การไม่ได้ เช่น แผ่นดินไหว พายุถล่มรุนแรง สงครามกลางเมือง หรือน้ำท่วมระดับภัยพิบัติ แต่สถานการณ์ภัยบิบัติของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงถึงขั้นนั้นหรือไม่ สำหรับประเทศไทยในปีนี้ ยังไม่มีรายงานจาก กสทช. หรือกระทรวง DE ถึงพื้นที่ที่น้ำท่วมรุนแรงมากจนถึงขนาดสัญญาณโทรศัทพ์ถูกตัดขาด

“ถ้าเราเคยดูภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่เมื่อมีเหตุแผ่นดินไหวแล้ว โทรศัพท์ของทุกคนดังขึ้นมาพร้อมกัน นั่นคือการเตือนภัยพิบัติ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่จินตนาการ แต่เป็นสิ่งที่ในหลายๆประเทศทั่วโลกนำมาใช้ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา ฝรั่งเศส ฯลฯ ด้วยเทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่เรียกว่า Cell Broadcasting”

นายปกรณ์วุฒิ กล่าวต่อว่า Cell Broadcasting คือระบบส่งข้อมูลโดยตรงจากเสาสัญญาณไปสู่โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในพื้นที่ให้บริการพร้อมกันในรวดเดียว ซึ่งจะมีข้อดีคือ

– หน่วยงานรัฐสามารถส่งข้อมูลตรงได้เลยถึงโทรศัพท์มือถือของประชาชนโดยไม่ต้องผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ (บริษัท AIS, Dtac, True) แบบที่ กสทช. ทำ

– ส่งข้อความจากเสาสัญญาณไปถึงโทรศัพท์ทุกเครื่องในรวดเดียวโดยไม่ต้องระบุเบอร์มือถือ ทำให้สะดวก รวดเร็ว และเจาะจงพื้นที่ได้ (ความเร็วระดับส่งได้หลายสิบล้านเครื่องในเวลาไม่ถึง 10 วินาที)

– ไม่กระทบกับการสื่อสารปกติเพราะใช้คนละช่องสัญญาณกับโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต

– ประชาชนไม่ต้องดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นเพิ่มเติม

– รองรับการให้บริการครบทั้งคลื่นความถี่ 2G, 3G, 4G, 5G สามารถรับประกันได้ว่าข้อความสามารถไปถึงทุกคนไม่ว่าโทรศัพท์จะรุ่นเก่าหรือใหม่อย่างไร

นายปกรณ์วุฒิ กล่าวต่อว่า เทคโนโลยี Cell Broadcasting นี้สามารถแจ้งเตือนได้ทั้งทั้งสภาพอากาศ ระดับน้ำ และกรณีเกิดภัยพิบัติเพื่อให้ประชาชนรับมือและข้อแนะนำในการช่วยเหลือเยียวยาจากทางภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงานมีการเก็บและรายงานข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วแต่ยังไม่มีการนำมาสื่อสารถึงประชาชนอย่างเป็นระบบ”

“นี่ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ล้ำสมัยอะไร เพราะที่มีมานานแล้ว และสามารถนำมาใช้ได้แล้ว แต่ 8 ปีที่ผ่านมาที่ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผ่านภัยพิบัติมาครั้งแล้วครั้งเล่า กลับไม่เคยมีการผลักดันมีระบบ Cell Broadcast มาใช้เพื่อเตือนภัยพิบัติให้กับประชาชนเลย หากเพียงแค่ให้ กสทช. หารือกับผู้ให้บริการทุกรายให้หาหน่วยงานเจ้าภาพในการประสานระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกับทุกหน่วยงานทั่วประเทศหากเกิดภัยพิบัติ ประชาชนก็จะสามารถอพยพได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้” นายปกรณ์วุฒิ กล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณภาพ FB : ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล – Pakornwut Udompipatskul

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า