SHARE

คัดลอกแล้ว

‘พิธา’ ถามนายกฯ มีภาวะผู้นำในศตวรรษ 21 หรือไม่ จี้ทำตามนโยบายที่หาเสียง-กล้าหาญ

18 ก.พ. 2565 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายทั่วไป ประเด็นภาวะผู้นำของไทยในศตวรรษที่ 21 โดยมีข้อเสนอ 3 ข้อ และข้อซักถาม 3 ข้อ

พิธา เริ่มจากแสดงความเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีประเด็นสถานการณ์ไทยปัจจุบันเป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเจอ เช่น โรคระบาดซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจ ที่การปิดเปิดประเทศที่ไม่แน่นอนทำให้เศรษฐกิจทั้งฟุบและเฟ้อในเวลาเดียวกัน โดยฟุบจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาและเฟ้อจากการกักตุนสินค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการที่แต่ละประเทศอัดเงินเข้าระบบทำให้สินค้าศุงขึ้น และยังมีชนวนความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่น กลุ่มประเทศนาโตและรัสเซีย ซึ่งสามารถกระทบราคาพลังงาน ซึ่งทั่วโลกเจอสถานการณ์เดียวกันทำให้ธนาคารกลางต้องหาวิธีทุเลาเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลกระทบต่อการเงินทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จนทำให้ค่าเงินบาทอาจอ่อนลงได้จนอาจทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้นไปอีก และยังมีปัญหาอื่น ๆ เช่น สังคมสูงวัย สิ่งแวดล้อม สงครามไซเบอร์ เป็นต้น

พิธา บอกว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ปรับตัวรับปัญหาเดิม เนื่องจากมีข้อจำกัดทางวัฒนธรรมเส้นสาย ความโปร่งใสที่ลดลง และอัตราคอร์รัปชั่นที่สูงขึ้น ทำให้สมาชิสภาผู้แทนราษฎรต้องตั้งคำถามต่อภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพิธามองว่าต้องทันสมัย ทันโลก สากล และกล้าหาญ เชี่ยวชาญเรื่องเศรษฐกิจ โรคระบาด และเข้าใจประชาชน ส่วนตัวไม่คิดว่าพล.อ.ประยุทธ์มีลักษณะของผู้นำในศตวรรษที่ 21

พิธา ระบุว่าา พล.อ.ประยุทธ์ไม่พร้อมเรื่องการสื่อสารสองทางที่มีคนตอบโต้ สองวันที่ผ่านมาตนขอท้วงติงการตอบคำถามของนายก เช่น การชี้แจงว่าไทยฟื้นตัวจากโควิดอันดับต้น ๆ ของโลกและเอเชีย แต่เลือกนำข้อมูลของการระบาดระลอกแรก โดยไม่ได้นำข้อมูลการระบาดระลอกต่อมาซึ่งประเทศไทยอยู่ระดับปานกลาง การสื่อสารแบบนี้ทำให้ “เกาไม่ถูกที่คัน” นอกจากนี้ชุดข้อมูลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลการส่งออกก็นำข้อมูลฐานต่ำมานำเสนอเพราะนำปี 2563 มาเป็นตัวตั้งประเมินปี 2564 แทนที่จะนำประเมินปีอื่น ๆ และประเทศอื่นๆ ให้บริบทรอบด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมแห่งอนาคตไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นศุงกว่าช่วงโควิด แต่พิธาระบุว่า สัดส่วนการลงทุนประเทศไทยน้อยลงกว่าเพื่อนบ้าน และไม่คำนึงถึงการลงทุนด้านนวัตกรรมในประเทศ ซึ่งเพียงแค่ตัวเลขการลงทุนไม่สามารถชี้ได้แต่รัฐบาลต้องลงทุนด้วยตนเอง กล่าวโดยสรุปพิธากล่าวว่านายกฯ มองโดยไม่มีบริบททำให้ยากที่จะก้าวไปข้างหน้าได้

พิธา ชี้ว่า หากนายกฯ มีวิสัยทัศน์ตามศตวรรษที่ 21 ก็จะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ให้เบี้ยคนชราถ้วนหน้า สนับสนุนเงินเด็กเล็ก 2,000 บาท/เดือน เงือนเดือนขึ้นต่ำคนจบใหม่ 18,000/เดือน ขณะที่ขณะนี้ผู้เรียนจบใหม่หางานลำบาก และทำตามนโยบายที่เคยหาเสียงอื่นๆ

จากข้อสังเกตดังกล่าวจึงมาถึงข้อซักถามว่า

1) เมื่อใดจะทำตามนโยบายที่เคยหาเสียงปี 2562 และหากเหตุพิพาทรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้นรัฐบาลจะมีมาตรการในการดูแลราคาพลังงานอย่างไร พิธาชี้ว่าหานายกฯ มีภาวะผู้นำศตวรรษที่ 21 การจัดสรรงบประมาณจะซื้อเครื่องมือทางการแพทย์แทนที่จะซื้ออาวุธ โรงพยาบาลภาครัฐภายในกทม.ต้องขอรับบริจาค โดยไม่ต้องเอ่ยถึงโรงพยาบาลในจังหวัดห่างไกล โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันศพ

2) เมื่อนำเสนอว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นอุตสาหกรรมดิจิทัล ตนของสอบถามนายกฯว่าคิดยอ่างไรกับบล็อกเชน ซึ่งแท้จริงแล้วใช้แก้ปัญหาที่ดินได้ ใช้จัดการเรื่องกัญชงกัญชาได้
พิธา ระบุว่า หากนายกฯ เป็นคนกล้าหาญต้องกล้าชนอำนาจมืด เช่น ปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์และการใช้แรงงานทาสยุคใหม่ดังที่รังสิมันต์ โรมได้อภิปรายไป

ข้อที่ 3) จึงถามว่ากรณีที่รังสิมันต์ โรมอภิปรายว่าการค้าทาสยุคใหม่จากที่นายกฯเข้ารับอำนาจ 3,000 คนต่อปีแต่กลับขยายไปถึง 80,000 คน/ปี ในยุคประวิตรและอนุพงษ์ จึงขอถามว่านายกฯคิดเห็นอย่างไรกับกรณีที่มีการค้ามนุษย์ของประเทศไทยและนายกฯ มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ตามการให้คำของอดีตนายตำรวจซึ่งปัจจุบันกลายเป็นผู้ลี้ภัย

พิธา ระบุว่า ต่อจากนี้ต้องนำประเทศไทยมาสู่สถานการณ์ปัจจุบัน ยกระดับการสู้กับโควิด-19 เป็นเชิงรุก แจก ATK ไปที่โรงเรียนซึ่งจะลดรายจ่ายเฉพาะหน้าของประชาชน และเดินหน้าฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ ผู้สูงอายุให้ครบคลุมทั่วประเทศ และเริ่มใช้เทคโนโลยีการใช้ลมหายใจตรวจโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์และเนเธอร์แลนด์เริ่มนำร่องแล้ว

ขณะที่ด้านเศรษฐกิจต้องแก้ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราว่างงาน ควรมีการทำสัญญาร่วมกันเพื่อให้มีสินค้าคงคลังร่วมกัน เมื่อสินค้าในประเทศตัวเองหมดก็นำเข้าจากประเทศร่วมสัญญาได้ภายใต้ความปลอดภัยที่ตรวจสอบแล้ว และควรมีหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาเพื่อดูแลปัญหาหนี้ ทั้งสองข้อเสนอรัฐบาลต่างประเทศเริ่มนำร่องแล้ว เช่น สิงคโปร์และสหราชอาณาจักร

และข้อเสนอสุดท้าย “คำสั้นๆ สุราก้าวหน้า รัฐบาลเอาของเราไปศึกษา แก้บรรทัดเดียว รัฐมนตรีพาณิชย์ช่วยส่งเสริม รัฐมนตรีอุตฯช่วยทำให้การพัฒนาดีขึ้น รัฐมนตรีวัฒนธรรมหาเรื่องราวในการเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ดื่มได้ของเรา รัฐมนตรีท่องเที่ยวช่วยให้วัฒนธรรมกินดื่มเป็นเรื่องการท่องเที่ยว แก้บรรทัดเดียวลุกทั้งแผ่นดินรายได้ประเทศไทย”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า