SHARE

คัดลอกแล้ว

ผ่าน วาระ 3 ไปแล้วเรียบร้อยเมื่อวานที่ผ่าน (22มิ.ย.2564) สำหรับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ด้วยคะแนน 611 ต่อ 4 งดออกเสียง 2 และไม่ลงคะแนน 1 เสียง ขั้นตอนหลังจากนี้คือ นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

ตามปฏิทินการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 23-24 มิถุนายน  ซึ่งมีวาระพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2560 รายมาตรานั้น จะมีร่างแก้ไขรัฐธรมนูญทั้งสิ้น 13 ร่าง คือ 1 ร่าง เป็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส พรรคพลังประชารัฐและคณะและอีก 8 ร่างเป็นของ 3 พรรคร่วมรัฐบาล คือพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา และอีก 4 ร่างเป็นของพรรคร่วมฝ่ายค้าน

โดย วิป 3 ฝ่าย (ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ส.ว.) แบ่งเวลาการอภิปรายระหว่างฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และวุฒิสภา ฝ่ายละ 6 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง

สำหรับ 1 ร่าง ของ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ  ได้เสนอแก้ไข 13 มาตรา ใน 5 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ แก้ปัญหากระบวนการไพรมารี่โหวตของพรรคการเมือง

ประเด็นที่ 2 แก้ไขระบบการเลือกตั้ง ใจความหลักให้บัตรเลือกตั้งสองใบ มี ส.ส.แบ่งเขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนตามรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ประเด็นที่ 3 แก้ไขเรื่องการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ มาตรา 144 ซึ่งเดิมมีปัญหากระทบต่อการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณ

ประเด็นที่ 4 แก้ไขอุปสรรคในการทำงานของ ส.ส.และ ส.ว. ให้สามารถติดต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้

ประเด็นที่ 5 อำนาจวุฒิสภา แก้ไขบทเฉพาะกาล มาตรา 270 ให้ ส.ส.ร่วมมีหน้าที่และมีอํานาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ จากเดิมที่ให้ ส.ว.ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว

พรรคร่วมรัฐบาล เสนอ 8 ร่าง

ส่วน 3 พรรคร่วมรัฐบาล อย่าง พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ยื่นเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมของรัฐสภา ทั้งหมด 8  ร่าง

ร่างที่ 1 รัฐต้องจัดให้ประชาชนได้รับรายได้พื้นฐานทั่วหน้า อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตทั่วถึง
ร่างที่ 2 ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์
ร่างที่ 3 ว่าด้วยสิทธิของประชาชน เช่น สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
ร่างที่ 4 ระบบการเลือกตั้ง ให้ใช้บัตร 2 ใบ คือ  ส.ส.แบ่งเขต 400 เขต ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน
ร่างที่ 5 บุคคลที่เสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมาจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอหรือมาจาก ส.ส. ร่างที่ 6 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในการลงมติเห็นชอบให้ใช้เสียง 3 ใน 5 หรือ 450 เสียงแทน จากเดิมใช้เสียงข้างมากของรัฐสภา
ร่างที่ 7 แก้ไขกระบวนการตรวจสอบและการดำเนินคดีกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนอิสระก่อนส่งเรื่องไปศาลฎีกา จากเดิมที่ให้ ส.ส. ยื่นเรื่องให้ประธานรัฐสภาเพื่อให้ดำเนินคดีต่อ ป.ป.ช.
ร่างที่ 8 การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น แนวนโยบายแห่งรัฐ

พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอ 4 ร่าง

ทางด้านพรรคร่วมฝ่ายค้านได้เสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญทั้งหมด 4 ฉบับ ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียงฉบับเดียวที่ทุกพรรคมีความเห็นร่วมกันเป็นเอกฉันท์ คือ ร่างแก้ไขมาตรา 272 ว่าด้วยการตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ

ร่างที่ 1 แก้ไขมาตรา 272 ว่าด้วยการตัดอำนาจวุฒิสภาในการเลือกนายกฯ ซึ่งเป็นร่างเดียวที่พรรคฝ่ายค้านทุกพรรคลงชื่อสนับสนุนเป็นเอกฉันท์
ร่างที่ 2 เรื่องสิทธิของประชาชน หลักประกันสุขภาพ และเรื่องสิทธิการประกันตัว
ร่างที่ 3  เรื่องระบบเลือกตั้งให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ ส.ส. แบ่งเขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนร่างที่ 4 ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยกเลิกอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

จับตา บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ – ที่มานายกฯ

ไฮไลต์การพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อยู่ที่มาตราที่ปิดสวิตช์อำนาจ ส.ว. 2560 ที่ให้ ส.ว. ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ ส.ส. ได้ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 272 ที่รัฐธรรมนูญ ประกอบมาตรา 159

ซึ่งเป็นมาตราที่ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรค (พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา) และพรรคฝ่ายค้าน (เพื่อไทย ก้าวไกล ประชาชาติ เพื่อชาติ พลังปวงชนไทย เสรีรวมไทย) ที่เห็นพ้องต้องกันในการปิดสวิตช์อำนาจ ส.ว. ต่างจากพรรคพลังประชารัฐ ที่ไม่มีประเด็นดังกล่าว

แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ การโหวตในวาระแรก ต้องใช้เสียงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ต้องมีเสียงอย่างน้อย 375 จาก 750 เสียงขึ้นไป โดยในจำนวนนี้ต้องมีเสียง ส.ว.เห็นด้วยอย่างน้อย 1 ใน 3 คือ 84 เสียง

ขณะที่ระบบเลือกตั้งพรรคการเมืองใหญ่ทั้งฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล เห็นตรงกันว่าอยากหันกลับมาใช้ระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 และ 2550 ที่ใช้บัตรเลือกตั้งแบบบัตรสองใบ เลือกคนที่ใช่-พรรคที่ชอบ แต่ไม่นับคะแนนตกน้ำ

เว้นแต่พรรคก้าวไกลมีความเห็นต่างในรายละเอียด โดยพรรคก้าวไกลเสนอให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต 1 ใบ และเลือกพรรคการเมือง 1 ใบ เหมือนพรรคร่วมฝ่ายค้านอื่นแต่ที่ต่างออกไป คือให่้ใช้วิธีคิดคำนวณแบบจัดสรรปันส่วนผสม เพื่อให้ไม่มีคะแนนตกน้ำ  โดยอ้างว่า ทำให้ผลการเลือกตั้งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ถูกมองว่าเกิดความขัดแย้งกันเองภายในพรรคร่วมฝ่ายค้านระหว่างเพื่อไทยและก้าวไกล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า