SHARE

คัดลอกแล้ว

พรรคร่วมฝ่ายค้าน ยื่นญัตติต่อประธานสภาฯ ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นวาระด่วน โฟกัส นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 5 คนตามโผ ปมล้มเหลว ‘บริหารโควิด เศรษฐกิจ ทุจริต’ ขณะที่ ‘พิธา’ ชี้ ต้องการใช้กลไกสภาถอดสลัก ‘ประยุทธ์’ แก้วิกฤตและลดความขัดแย้งนอกสภาตอนนี้

วันที่ 16 ส.ค. 2564 เวลา 09.45 น. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ และพรรคพลังมวลชนไทย ได้ยื่นญัตติ อภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีรายบุคคล ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า ในระยะเวลาปีที่ผ่านมา เราเห็นการบริหารวัคซีน สถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจต่างๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องยื่นอภิปรายรัฐมนตรีรายบุคคล และขอบรรจุเป็นวาระด่วนในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 6 คน คือ 1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 2. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 3. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 4. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ 6. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการะทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)

เราได้พิจารณาและหารือกันอย่างถ่องแท้ผ่านระบบซูม (zoom) หลายครั้ง จนสรุปมาจบที่ 6 คนนี้ พรรคฝ่ายค้านตั้งเป้าอภิปรายอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ในเรื่องโควิด เศรษฐกิจ และทุจริต และอยากจะได้เวลาอภิปรายเท่าเดิมคืออย่างน้อย 3 วัน

“ผู้แทนราษฎร ฝ่ายรัฐบาล คงจะต้องมีการพิจารณาเรื่องนี้ และอยากฝาก ไปทางประชาชนที่เลือกผู้แทนราษฎรมา คงจะต้องพิจารณว่า บุคคลเหล่านั้นที่ท่านเลือกมาเขาเห็นกับใคร เขาเห็นกับพี่น้องประชาชนหรือเปล่า ที่กำลังล้มตายกันอยู่ตอนนี้ อยากให้เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นผมก็วิงวอนจริงๆ ดังนั้น สมาชิกผู้แทนราษฎร ฝ่ายรัฐบาลน่าอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาเรื่องนี้และตัดสินใจ เพราะเที่ยวมันสุดๆ แล้วล่ะ ไม่มีอะไรสุดไปมากกว่านี้ ขอให้ประชาชนที่เลือกมาพิจารณาแล้วกัน เพราะการเลือกตั้งครั้งหน้าก็ยังมีอีก” ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าว

ทางด้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ไม่มีชื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทางพรรคก้าวไกลเสนอ ว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจทุกครั้ง แต่ละพรรค มีรายชื่อบุคคลไม่น่าไว้วางใจของตัวเอง แต่ในที่สุดเราต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน และเรามีมติว่า อภิปรายไม่ไว้วางใจโฟกัสที่ 6 คนนี้ และมีความจำเป็นต้องพูดคุยกัน และรักษาบรรยากาศการทำงานของพรรคร่วมฝ่ายค้าน

“เราต้องใจที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงนี้เพื่อที่จะใช้กลไกสภาในการที่จะแก้ไขวิกฤตและลดความขัดแย้งมีความจำเป็นที่จะต้องถอดสลัก ที่ชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อที่จะให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งผมคิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ที่เป็นครั้งที่ 3 แตกต่างจาก ครั้งก่อนๆ พอสมควร ครั้งนี้เนื่องจากความเดือดร้อน ความลำบาก มันไปในวงกว้าง มีความกว้างขวางของวิกฤตของปัญหา ทำให้พี่่น้องประชาชนมีส่วนร่วมมากพอสมควร พอพวกเราได้ประกาศไปว่าจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเร็ว ก็มีพี่น้องประชาชนส่งข้อมูล ส่งภาพที่สแกนมาให้ที่พรรคก้าวไกล มาให้ที่ตัวผมอย่างไม่ขาดสาย
ผมคิดว่าบรรยากาศนอกสภากับในสภา การอภิปรายมันตรงกัน ตอนนี้ที่ว่าความชอบธรรมในการบริหารของพล.อ.ประยุทธ์ แทบจะไม่เหลือแล้วนอกสภา ก็ต้องการจะใช้กลไกในสภาตอนนี้เพื่อที่จะให้เกิดแรงสั่นสะเทือน และเกิดอาฟเตอร์ช็อกต่อไป” หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าว

สำหรับระยะเวลาในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ได้ชี้แจงขั้นตอนว่า ตามกระบวนการเมื่อผู้นำฝ่ายค้านและคณะ ได้เสนอญัตติ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญแล้ว ตามระเบียบข้อบังคับ สภาจะรับ โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจความถูกต้อง เช่น ตรวจรายชื่อครบหรือไม่ ชื่อซ้ำหรือ และตรวจเนื้อหาไม่ให้กับขัดข้อบังคับ ภายใน 7 วัน ซึ่งระเบียบข้อบังคับต้องบรรจุเป็นเรื่องด่วน แต่ในทางปฏิบัติต้องแจ้งให้นายกรัฐมนตรีและหารือตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ว่า จะเห็นสมควรอภิปรายในช่วงเวลาใด

ปกติแล้วครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ในการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2 ครั้งแรก จะเป็นการเสนอในช่วง เดือนมกราคม เป็นสมัยประชุมที่ 2 ของปีนั้น และอภิปรายในเดือนกุมภาพันธ์ เท่าที่ผ่านมา 2 ครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นการอภิปรายในสมัยประชุมแรกของปีนี้ คือเสนอในเดือนสิงหาคม ซึ่งวันเวลาที่เหมะสม จะหารือสองฝ่ายอีกครั้ง เพื่อกำหนดวันต่อไป

โดยผลตามกฎหมายเมื่อเสนอญัตติแล้ว เมื่อรับญัตติเรียบร้อยแล้ว จะยุบสภาในช่วงเวลานี้ไม่ได้ ยกเว้นมีการถอนมติ หรือลงมติไปแล้ว ทั้งนี้ ตามกฎหมายอภิปรายไม่ไว้วางใจทำได้ปีละครั้งเดียว แต่เสนออภิปรายเพื่อขอซักถามและให้แนะนำโดยไม่ลงมติ ยังมีสิทธิ์ทำได้อีกหนึ่งครั้ง ตามมาตรา 152 ของรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะเริ่มในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้หรือไม่ก็จะเป็นต้นเดือนกันยายน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า