SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลกำลังเจอศึกหนักจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคฝ่ายค้านตั้งเป้าชำแหละลากไส้กรณีการบริหารจัดการสถานการณ์โควิดล้มเหลว ซึ่งตำบลกระสุนตกคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( ศบค.) และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข  การอภิปรายจะเริ่มระหว่างวันที่ 31 ส.ค.- 3 ก.ย. ก่อนจะโหวตในวันที่ 4 ก.ย. นี้

โดยกรอบเวลาการอภิปรายของฝ่ายค้านมี 40 ชั่วโมง นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้านบอกว่า “เฉพาะบิ๊กตู่กับเสี่ยหนูก็ 33 ชั่วโมง”  ขณะที่รัฐมนตรีอื่นที่จะถูกอภิปราย คือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม , นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน , นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ , นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ( ดีอีเอส ) คนละ 1 ชั่วโมง
ความเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร ?

เป็นสิ่งที่น่าสนใจเรื่องเสียงโหวต ที่มี “รายงานข่าว”การต่อรองเกิดขึ้น โดยเมื่อวันที่ 30 ส.ค. พรรคพลังประชารัฐ ( พปชร.) มีการประชุมที่นายวิรัช รัตนเศรษฐ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค พปชร. เป็นประธานการประชุม ใช้เวลาสั้นๆ ไม่ถึง 30 นาที

นายไพบูลย์ อ่านข้อบังคับพรรคเรื่องการโหวตและย้ำว่า “ส.ส.มีเอกสิทธิ์แต่ต้องดำรงไว้ซึ่งฐานะสมาชิกพรรค” ก่อนเสร็จสิ้นการประชุมที่ใช้เวลาประมาณ 30 นาที และนายวิรัช ให้สัมภาษณ์ว่าท่าทีการโหวตน่าจะเป็นในทิศทางเดียวกัน  พรรคร่วมรัฐบาลยังรักกันมั่นคง ..แต่ที่น่าสนใจคือคำว่า “ส.ส.มีเอกสิทธิ์” จึงไม่รู้ว่า จะเกิดการ“แหกมติ”เหมือนการอภิปรายครั้งที่ผ่านมาที่ ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์พร้อมใจกันเทไม่ลงคะแนนไว้วางใจให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ หรือไม่

หลังการประชุม ส.ส.พรรค พปชร. เสร็จลง  บรรดาแกนนำพรรคระดับรัฐมนตรี ส.ส. และสมาชิกพรรคประมาณ 30-40 คน ได้เดินทางออกจากพรรค เพื่อเข้าพบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรค พปชร. ที่มูลนิธิป่ารอยต่อฯ ซึ่งเป็นการคุยเชิงลับ ป้องกันการอัดเสียงหรือการแอบเปิดสายสนทนาให้ใครฟัง เลยมีการสั่งเก็บโทรศัพท์มือถือของทุกคน

จิ้งจกในห้องประชุมรายงานว่า “พี่ใหญ่ 3 ป.” ถามกลางที่ประชุมกันเลยทีเดียว ถึงกระแสข่าการกดดันนายกฯ เพื่อเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ซึ่งเรื่องนี้ “พล.อ.ประยุทธ์” เองก็รู้ว่า“สมาชิกพรรคบางส่วนไม่เอานายกฯ” และได้ไลน์มาเล่าให้ “พล.อ.ประวิตร” รู้เรียบร้อยแล้ว .. และ “พล.อ.ประวิตร” ได้เคลียร์ใจในที่ประชุม

โดยช่วงหนึ่งของการประชุมพล.อ.ประวิตร ได้อ่านข้อความในไลน์ ซึ่งเป็นคำถามของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ฝากมาถาม ส.ส. ให้ทุกคนได้ฟังว่า “ทำไม ส.ส.ถึงไม่สนับสนุนผม มีเหตุผลอะไร ผมผิดอะไร แล้วถ้าจะไม่สนับสนุน จะหาใครมาเป็นนายกฯ ผมทำงานเหนื่อยขนาดนี้ แล้วจะให้ใครมาเป็น”

จากที่ ส.ส.หลายคนระบายว่า น้อยใจ“พล.อ.ประยุทธ์ ” ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ ส.ส. ว่า นายกฯ เหนื่อยมาก ที่ไม่มีเวลามาดูแลก็อย่าเพิ่งน้อยใจ และ “พี่ใหญ่ 3 ป.” คงเห็นสัญญาณอะไรแปลกๆ เลยย้ำอีกว่า “ห้ามไปแจกกล้วยให้พรรคเล็ก เพื่อคว่ำนายกฯ หรือ 2 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย ให้โหวตในทิศทางเดียวกันทั้งหมด” ซึ่งระหว่างนั้น นายเนวิน ชิดชอบ พี่ชาย “เสี่ยโอ๋ ศักดิ์สยาม” ได้ต่อสายตรงถึง “บิ๊กป้อม” คาดว่าสอบถามเรื่องการโหวต และหัวหน้าพรรค พปชร.ยืนยัน“ไม่มีปัญหา”

“พรายกระซิบ” บอกว่า ฝ่ายที่เคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนขั้ว คือกลุ่ม “3 ช.” หรือ 3 รัฐมนตรีช่วยว่าการ ได้แก่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ , นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล ที่มีลูกชายคือนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ เป็น รมช.คมนาคม  และนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน ..เมื่อหัวหน้าพรรคดักคอ ในที่ประชุมต่างก็ประสานเสียงกันว่า  ไม่มีอะไรไม่มีการเปลี่ยนขั้วใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมทั้งยังสนับสนุนการทำงานของ “บิ๊กตู่”

อย่างไรก็ตาม ข่าวความพยายามสลับเก้าอี้รัฐมนตรีในส่วนของ พปชร. ก็มีมาเรื่อยๆ โดยกลุ่ม 3 ช. “จ้องเลื่อยขาว่าการหน้าใหม่” เพื่อขึ้นนั่งว่าการแทนเป็น “3 ว.” ร.อ.ธรรมนัส จ่อเสียบเก้าอี้ว่าการแรงงาน แทนนายสุชาติ ชมกลิ่น ส่วน นางนฤมล เล็ง รมว.ศึกษาธิการแทน น.ส.ตรีนุช เทียนทอง และนายอธิรัฐ เล็งเก้าอี้ว่าการดีอีเอส

“กล้วย” กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่กดดัน“บิ๊กตู่” ในการต่อรองคะแนนโหวตไว้วางใจเสียแล้ว.. เบื้องต้นที่ต้องจับตาเสียงโหวตก่อนคือ “เสียงพรรคเล็ก” ที่ขวางหูขวางตาพรรคใหญ่จากกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นทุนเดิม เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ พร้อมคิดสัดส่วน ส.ส.เขต 400 คน และปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน ทำให้พรรคเล็กมีโอกาสสูญพันธุ์ ต้องไปสู้กันตอนแก้ไข พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ว่า “จะใช้คะแนนกี่เปอร์เซ็นต์เพื่อได้ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน”

และยังไม่รู้ว่า มีกลุ่มก๊วนไหนใน พปชร. หรือกระทั่งพรรคร่วมรัฐบาลที่จะเป็น “งูเห่ากินกล้วย” หวังให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกบ้าง ซึ่งค่ากล้วยที่ว่านี้คงแพงอยู่ถ้าถึงขนาดนายกฯ รู้ว่ามีกระแสกดดัน
ถ้าจะประเมินนาทีนี้“กล้วย”แพงพอที่จะเปลี่ยนขั้วทางการเมืองหรือไม่ ? ..คิดว่า “บิ๊กตู่” เองน่าจะรอดคะแนนโหวตไว้วางใจผ่าน เพราะถ้า “บิ๊กตู่”ถูกคว่ำ ก็ต้องลาออกหรือยุบสภา ..ถ้ายุบสภา ความไม่พร้อมก็มีหลายอย่าง ทั้งการเป็นรัฐบาลรักษาการที่ใช้อำนาจได้ไม่เต็มที่ในช่วงบริหารสถานการณ์โควิด การหาเสียงที่ยังไม่สะดวกนักในภาวะแพร่ระบาดของโรค และการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยังไม่เสร็จสะเด็ดน้ำ

ถ้าลาออกต้องโหวตเลือกนายกฯ ใหม่ แม้จะมีเสียง ส.ว.ช่วยเลือก แต่ขณะนี้ยังไม่มีตัวที่น่าจับตาว่าใครจะมาเป็นแทน แม้จะให้มีการเลือกนายกฯ นอกบัญชีพรรคการเมือง..แต่การที่ “บิ๊กป้อม”อยู่ๆ พูดถึง กระแสการกดดันนายกฯให้เปลี่ยนขั้วทางการเมือง ก็น่าคิด ว่ามี “ตาอยู่” รอเสียบหรือไม่ ..มีใครไปคุยกับ ส.ว.หรือยัง ?

ก้าวแรกของการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง จึงน่าสนใจโฟกัสที่การปรับ ครม. หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีที่เสียงไว้วางใจน้อยกว่าชาวบ้าน อาจถูกใช้เรื่องนี้ปรับออกแบบ“สมบัติผลักกันชม” เปลี่ยนให้ “เจ้าของสวนกล้วยและเดอะแก๊งค์” นั่งว่าการบ้าง เก้าอี้ที่ดูจะ “ร้อน” ที่สุดคือแรงงานและดีอีเอสนี่แหละ เพราะเจ้ากระทรวงถูกซักฟอก

ในช่วง 3 วันที่มีการอภิปราย ก่อนการโหวต ..น่าสงสัยตงิดๆ ว่า จะมีการเดินเกมกดดันที่เข้มข้นขึ้นหรือไม่ ..อย่าลืมว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ คุยกันไม่ได้ ไม่ลงตัวก็ แตกหักกันได้
จับตาไว้ให้ดีเถอะ จะกลายเป็นทหารไม่ทันเกมนักการเมือง ถูกเปลี่ยนขั้วยึดพรรค นักการเมืองยึดอำนาจกันหรือเปล่า ..หรือนี่คือศึกวัดบารมี “บิ๊กป้อม-บิ๊กตู่”แล้วว่าจะสยบความเคลื่อนไหว คงเสถียรภาพของ คสช.ไว้ได้แค่ไหน นักการเมืองเข้ามาได้ด้วยอำนาจ คสช. พอถึงเวลาก็หาวิธีเอาอำนาจคืน ย้ำคำว่า “สมบัติผลัดกันชม”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า