SHARE

คัดลอกแล้ว

เครือข่ายนิรโทษฯ ยื่นหนังสือถึงยูเอ็น ขอให้เรียกร้องต่อรัฐบาลไทย หนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน

ภาพ ชนากานต์ เหล่าสารคาม / Thai News Pix

เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน จากความร่วมมือขององค์กรทางกฎหมาย นักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม และ นักกิจกรรมทางสังคมกว่า 23 องค์กร นำโดย พูนสุข พูนเจริญสุข ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) เพื่อขอให้เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยในการสนับสนุนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน

โดยระบุถึงความกังวลอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่กำลังเกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย และประชาชน จำนวนมากกว่า 1,400 ราย สืบเนื่องจากการออกมาใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมโดยสันติ

อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วงเวลาของความขัดแย้งนับตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 ทั้งการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง (นปช.) การชุมนุมของกลุ่ม กปปส. และการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนถึงการชุมนุมของกลุ่มราษฎร มีประชาชนไม่ต่ำกว่า 6,000 คนที่ถูกดำเนินคดี อันเนื่องมาจากการทำกิจกรรมทางการเมือง อีกทั้งภายหลังการทำรัฐประหารในปีพ.ศ. 2557 ยังมีบุคคลกว่า 2,400 รายที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ยิ่งไปกว่านั้นแล้วภายหลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตยที่นำโดยเยาวชน และประชาชนโดยทั่วไป นับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2563 จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2566 มีผู้ถูกดำเนินคดีผ่านการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ อย่างน้อย 1,938 คน ซึ่งเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่น้อยกว่า 286 คน รวมกว่า 1,264 คดี

แถลงการณ์ของเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ระบุอีกว่า ภายใต้รัฐบาลผสมชุดใหม่ที่มี เศรษฐา ทวีสิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ยังปรากฏการดำเนินคดีทางการเมืองต่อนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง

ระหว่างเดือนกันยายนและเดือนธันวาคม 2566 ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 ทั้งหมด 31 คดี โดยคดีที่ศาลลงโทษจำคุกทั้งหมด 28 คดี หรือคิดเป็น 90% ของช่วงเวลาดังกล่าว และมีคดีมาตรา 112 ที่จำคุกมากที่สุดถึง 50 ปี

เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า หากไม่มีการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของประชาชนจากทุกฝักฝ่ายทางการเมืองในทุกมิติอย่างจริงจัง จะส่งผลเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการสร้างความปรองดองทางการเมือง

จึงมีความประสงค์ให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ภายใต้การนำของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แสดงความจริงใจต่อการสร้างความปรองดองทางการเมืองและความมุ่งมั่นต่อสิทธิมนุษยชน ด้วยการผ่านการสนับสนุนร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่ครอบคลุมไปถึงมาตรา 112 (หมิ่นประมาทกษัตริย์) แห่งประมวลกฎหมายอาญา สำหรับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยรณรงค์หาเสียงเพื่อเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก่อนการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 2567

พร้อมขอเรียกร้องให้สหประชาชาติ สนับสนุน ดังนี้

สนับสนุนให้รัฐบาลไทยรับประกันสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสันติตามข้อ 19 และข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

สนับสนุนให้รัฐบาลไทยระงับไว้ ซึ่งการดำเนินคดีต่อผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิดและการชุมนุม

สนับสนุนให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนักโทษทางความคิด โดยรวมไปถึงเยาวชนที่ถูกคุมขัง สืบเนื่องมาจากการแสดงออกทางการเมือง

สนับสนุนให้รัฐบาลไทยทบทวนและแก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวสอดคล้องกับข้อแนะนำภายใต้กระบวนการพิเศษแห่งสหประชาชาติ และคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ

สนับสนุนให้มีการผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมประชาชน ก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2567

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า