SHARE

คัดลอกแล้ว

‘อนุพงษ์’ ยันเบี้ยผู้สูงอายุยังเหมือนเดิม ตราบใด คณะกรรมการผู้สูงอายุยังไม่เปลี่ยนแปลงระเบียบ แต่เชื่อระเบียบใหม่ ประชาชนจะได้ประโยชน์

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้ชี้แจงเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 66 โดยสรุปว่า เรื่องเงินดูแลผู้สูงอายุ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่เป็นเจ้าของเรื่อง โดยมี ‘คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ’ เป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้ตามหลักเกณฑ์ แต่งบประมาณส่วนนี้นำมาให้ ‘องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น’ เป็นผู้จ่าย จึงเกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย

เคยมีปัญหาเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ลงทะเบียนแล้ว แต่เกิดประเด็นว่า ‘กรมบัญชีกลาง’ ท้วงคนที่มีรายได้ส่วนอื่นจากของรัฐจะรับอีกไม่ได้ ในช่วงนั้นก็แก้ไขปัญหากัน สรุปว่าที่จ่ายไปแล้วก็ไม่เรียกคืน ที่เรียกคืนไปแล้ว เราก็ไปจ่ายเงินคืนให้เหมือนเดิม มาถึงตอนนี้จะจ่ายอย่างไรนั้น จะต้องรอเกณฑ์ต่างๆ จากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ

ส่วนกรณีโซเชียลฯ เกิดกระแส “พิสูจน์ความจน” พล.อ.อนุพงษ์ ตอบว่า “มันก็มีวิธีคิดได้หลายแบบ คนอย่างผมได้ด้วยเนี่ยคุณว่ายุติธรรมไหม ผมก็เป็นข้าราชการเกษียณแล้ว ผมมีบำนาญ 6 หมื่นกว่าบาท คุณว่าผมควรได้ไหม นั่นแหละเป็นสิ่งที่เขาจะพิจารณาว่า คนแบบใดไม่ควรได้คนแบบใดควรได้”

เช้าวันนี้ (15 ส.ค. 66) ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.อนุพงษ์ได้ชี้แจงเรื่องนี้ซ้ำอีกครั้ง พร้อมระบุ เรื่องนี้ประชาชนไม่ต้องกังวล เพราะมองว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ทั่วถึง ตามรัฐธรรมนูญ เป็นธรรม และมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต หนทางเราเตรียมไว้ให้แล้ว ออกทางไหนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้

‘จุรินทร์’ ระบุ ‘คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ’ ยังไม่มีนโยบายปรับลดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีแต่การศึกษาหลักการเพิ่มเบี้ยยังชีพให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กล่าวว่า ในส่วนของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ยังไม่มีนโยบายปรับลดเงินและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และที่ผ่านมาได้เข้าไปแก้ไขปัญหาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซ้ำซ้อนจนได้ข้อยุติ กว่า 30,000 ราย โดยเปิดโอกาสให้รับเบี้ยซ้ำซ้อนได้ และไม่ต้องนำมาจ่ายคืน ส่วนแนวทางปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อลดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน มีแต่การศึกษาหลักการที่จะเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันในส่วนของข้อกังวลเกี่ยวกับนิยามในการเบิกจ่ายนั้น ต้องไปนิยามตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคาดว่าในหน่วยนโยบายยังไม่ดำเนินการเรื่องนี้

ทั้งนี้ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองแรกที่เริ่มต้นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุมีรายได้ในการยังชีพ และในอนาคตหากสามารถเพิ่มเงินได้ อย่างสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและงบประมาณของแผ่นดินก็ควรที่จะดำเนินการปรับเพิ่ม นอกจากนั้นยังพร้อมสนับสนุนกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุกว่า 40,000 กลุ่ม และมีแนวทางนำผู้สูงอายุมามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า