Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลยกฟ้อง ‘ทุน มินหลัด’ นักธุรกิจเมียนมา – ลูกเขย สว.อุปกิต กับพวก คดีสมคบค้ายาเสพติด ชี้พยานโจทก์ ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำผิด

ที่ห้องพิจารณา 801ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก วันนี้ (30 ม.ค. 67) ศาลนัดอ่านคำพิพากษา คดีดำ ย1249/2565 ที่พนักงานอัยการคดียาเสพติด 9 เป็นโจทก์ฟ้องนายทุน มินหลัด (Mr.TUN MIN LATT) นักธุรกิจชาวเมียนมา จำเลยที่ 1 นายดีน ยัง จุลธุระ จำเลยที่ 2 น.ส.น้ำหอม จำเลยที่ 3 น.ส.ปิยะดา จำเลยที่4 และบริษัท อัลลัวร์ กรุ๊ป (พีแอนด์อี) จำกัด โดยนายทุน มิน หลัด และน.ส.น้ำหอม ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจ จำเลยที่ 5 ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในความผิดฐาน ร่วมกันสนับสนุนกันกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมีลักษณะเป็นความผิดร้ายแรง องค์กรอาชญากรรม

คดีนี้ อัยการโจทก์ ระบุฟ้องความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 22 ก.พ. – 10 พ.ค. 2562 จำเลยทั้ง 5 กับพวกที่ยังหลบหนี และจำเลยบางส่วนที่ศาลจังหวัดธัญบุรีพิพากษาไปแล้ว ได้บังอาจร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยตกลงวางแผนและแบ่งหน้าที่กันทำ ในการจัดหายาเสพติดประเภท1 (ยาบ้า) โดยพวกจำเลยทำหน้าที่ดูแลรับฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงินซื้อขายค่ายาเสพติดเข้าบัญชีของบริษัทฯ จำเลยที่ 5 โดยอ้างว่า เพื่อไปชำระค่าไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อ.แม่สาย.จ.เชียงราย ลักษณะปกปิด อำพรางซึ่งการได้มาของเงินจำนวนดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นเงินที่ได้จากการค้ายาเสพติด โดยบริษัทฯ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่นำเงินที่ได้จากการค้ายาเสพติดเปลี่ยนสภาพเป็นสินค้าประเภทกระแสไฟฟ้า ส่งออกไปประเทศเมียนมา

พวกจำเลยให้การปฏิเสธ ต่อสู้คดี

โดยวันนี้ ศาลสั่ง เบิกตัวจำเลยทั้งหมดจากเรือนจำมาฟังคำพิพากษา

พิเคราะห์พยานหลักฐานเกี่ยวกับเส้นทางการเงินของกลุ่มเครือข่ายยาเสพติดจำนวน 6 กลุ่ม ที่ก่อนหน้านี้ศาลได้มีคำพิพากษาว่ามีความผิด ส่วนเส้นทางการเงินของเครือข่ายยาเสพติดทั้ง 6 กลุ่มมีบางส่วนที่มีเชื่อมโยงมาที่ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตรา ตามแนวชายแดน ขณะเดียวกันกลุ่มธุรกิจ ในเครืออัลลัวกรุ๊ป ก็ใช้บริการร้านแลกเปลี่ยนเงินตราร้านเดียวกัน เพราะมีความน่าเชื่อถือ และทางสถานทูต มีการตรวจสอบแล้วพบว่า ได้รับอนุญาตถูกต้อง จากหน่วยงานภาครัฐของทางเมียนมา

ทั้งนี้ จากการนำสืบของพยานโจทก์ ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายยาเสพติดทั้ง 6 กลุ่ม ให้การยืนยันว่า ไม่เคยรู้จักกับจำเลยทั้ง 5 มาก่อนและในขณะถูกจับกุมกลุ่มเครือข่ายยาเสพติด จำเลยทั้ง 5 ก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วย

เมื่อพิจารณาจากคำเบิกความของพยานบุคคล จากกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่มาเบิกความต่อศาล สอดคล้องต้องกันว่า เป็นลูกค้าที่ใช้บริการโอนเงิน เพื่อชำระค่าสินค้าที่ซื้อไป บางรายใช้วิธีการโอนเงินมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นช่วงสถานการณ์โควิด ที่ชายแดนปิดไม่สามารถเดินทางไปมาระหว่างกันได้

เชื่อว่าร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา มีผู้มาใช้บริการถึง 500 บัญชี และมี 22 บัญชีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่มาใช้บริการร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราด้วย ซึ่งตัวแทนบริษัทเมียนมา อัลลัวกรุ๊ป ก็ใช้บริการบัญชีเงินฝากร้านแลกเปลี่ยนเงินตราเดียวกันนี้ด้วย แม้ในช่วงที่จำเลยที่ 1-4 ถูกจับกุม ทางบริษัทของกลุ่มจำเลย ก็ยังใช้วิธีการชำระเงินแบบเดิม ซึ่งผิดปกติวิสัยว่า หากถูกจับกุม ในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้วจะใช้วิธีการเดิมในการชำระเงิน

ส่วนนายดีน ยัง จุลธุระ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกเขยของนายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้ถูกเชิดให้เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทอันลัวร์กรุ๊ป ก่อนที่นายอุปกิต จะเข้ารับตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้ไม่ต้องโดนตรวจสอบ เป็นเพราะความมักง่ายในการทำธุรกิจไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ปกปิดความเป็น สว. เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ที่นายอุปกิตได้เปิด อัลลัวร์ รีสอร์ต ซึ่งเป็นทั้งที่พักและบ่อนพนัน แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดแต่อย่างใด

พิเคราะห์แล้วไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยทั้ง 5 ร่วมกันทำผิด เกี่ยวกับการสมคบค้ายาเสพติด และองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พยานหลักฐานของจำเลย สามารถหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ทั้งหมด พิพากษายกฟ้อง

นายเรืองศักดิ์ สุขเสียงศรี ทนายความของนายดีน ยัง จุลธุระ จำเลยที่ 2 ลูกเขยนายอุปกิต และยังเป็นทนายความของนายอุปกิตด้วย เปิดเผยว่า คดีนี้เส้นทางการเงินกระจายไปทั่ว ไม่ใช่เฉพาะบริษัทเมียนมา อัลลัวร์กรุ๊ป แต่โจกท์ฟ้องเฉพาะจำเลย จึงหักล้างว่า นิติบุคคลอื่นที่มีเส้นทางการเงินคล้ายกับเรา มาหักล้างว่าเราไม่ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้าเราเกี่ยวข้องนิติบุคคลอื่นก็ต้องเกี่ยวข้องด้วย เพราะรับเงินจากร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราที่เดียวกัน ซึ่งศาลพิจารณาโดยมีรายละเอียดขัอเท็จจริง มีเหตุผลอย่างละเอียดมากๆ คำพิพากษานี้จะเป็นตัวอย่างให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะจับกุมใคร ต้องดูให้ละเอียดก่อนออกหมายจับ ซึ่งคดีนี้มีโทษถึงประหารชีวิต ดีที่เราสู้คดีไม่ได้รับสารภาพ ลองคิดดูหากพลาดจะเป็นอย่างไร

ในส่วนของนายอุปกิต ตนจะต้องใช้คำพิพากษานี้ถึงแม้จะยังไม่ถึงที่สิ้นสุดไปประกอบในสำนวน เนื่องจากข้อเท็จจริงเหมือนกันหมด ทั้งพยานบุคคลและพยานหลักฐาน ซึ่งในคำพิพากษาคดีนี้ก็มีชื่อนายอุปกิตด้วย ก็สามารถนำไปอ้างอิงได้ ส่วนจะเป็นประโยชน์หรือไม่ ตนไม่ทราบแต่จำเป็นต้องใช้แน่นอน

ส่วนเรื่องที่จะขอให้อัยการสูงสุดถอนฟ้องคงยาก เนื่องจากคดีฟ้องมาแล้วจะสู้กันในศาลให้ถึงที่สุด โดยคดีนี้จะเป็นคดีตัวอย่างการที่จำเลยในคดีนี้ต้องติดคุกถึง 1 ปีครึ่งไม่ได้ประโยชน์ จำเลยที่ 2 ทำงานบริษัทได้เงินเดือน 3.4 แสนบาท แต่ต้องโดนออกจากงานใครจะรับผิดชอบ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีศาลอ่านพฤติการณ์การอำพรางการเป็นเจ้าของธุรกิจของนายอุปกิตจะกระทบต่อตำแหน่ง สว. หรือไม่ ทนายความ ระบุว่า เป็นเรื่องของวุฒิสมาชิกว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ตนมองว่านายอุปกิตคงไม่ได้ปกปิดและคดีนี้ยังมีอุทธรณ์ ฎีกา อยู่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า