SHARE

คัดลอกแล้ว

เพจการเมืองดีฯ อธิบายหลักเกณฑ์ พรรคการเมือง-ส.ส. บริจาคช่วยประชาชนแต่ละครั้งยอดเงินต้องไม่เกินกฎหมายกำหนด

เพจเฟซบุ๊ก พรรคการเมืองดี การเมืองดี บ้านเมืองดี สร้างการเมืองที่ดีด้วยพลเมือง ระบุถึงการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยของ ส.ส. และ พรรคการเมือง ว่า

“ส.ส.หรือ พรรคการเมืองช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยพิบัติได้จำนวนเท่าไหร่ และทางกฎหมายมีผลเป็นอย่างไร…

1.จำนวนเงินที่ช่วยเหลือได้
1.1 พรรคการ เมืองช่วยเหลือได้ในแต่ละโอกาสไม่เกิน 3,000,000 บาท (3 ล้านบาท)
1.2 ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองช่วยเหลือในแต่ละโอกาสได้ไม่เกิน
300,000 บาท (3 แสนบาท)

2.ผลทางกฎหมาย
การช่วยเหลือเกินกว่าจำนวนตามที่
กำหนดใว้ใน ข้อ 1 ให้นำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งต่อไป

3. หลักเกณฑ์ใน
การนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป มีดังนี้
3.1 จำนวนเงินที่นำไปรวม
ถ้าให้เงินช่วยเหลือไม่เกิน 3 ล้านบาท หรือไม่เกิน 3 แสนบาท ตามข้อ 1 แล้วแต่กรณี ไม่ต้องนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายเลย แต่ถ้าให้เงินเกิน 3 ล้านบาท กรณีเป็นพรรคการเมือง เช่น ให้เงินช่วยเหลือ 3,500,000 บาท หรือ กรณี เป็น ส.ส. ให้เงินช่วยเหลือ 350,000 บาท ต้องนำเงินทั้งจำนวนที่ให้เกินไปรวมเป็นค่าใช้จ่าย (กม.ไม่ได้ให้ใช้ส่วนที่เกิน) คือ ต้องนำเงิน 3,500,000 บาท หรือ 350,000 บาทไปรวมเป็นค่าใช้จ่าย แล้วแต่กรณี

ส่วนพรรคการเมืองหรือ ส.ส.จะให้เกินเป็นจำนวนเท่าใด ให้คำนึงถึงจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมาเป็นแนวทาง แต่ ส.ส.แบบแบ่งเขต มีเงื่อนไขที่ต้องคำนึงเพิ่มเติม คือ เป็นการให้ความช่วยเหลือในเขตเลือกตั้งของตน หรือ นอกเขตเลือกตั้งของตน เพราะจะมีผลทาง กม.ต่างกัน (การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พรรคการเมืองใช้จ่ายได้ไม่เกินพรรคละ35,000,000 บาท แบบแบ่งเขตเลือกตั้งไม่เกิน
คนละ 1,500,000 บาท)

3.2 เกณฑ์ในการนำไปรวม
(1) พรรคการ เมืองให้ความช่วยเหลือ “ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง”
(2) ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ความช่วยเหลือ “ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง”
(3) ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้ความช่วยเหลือ”ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง”
(4) ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ความช่วยเหลือ “นอกเขตเลือกตั้ง”ของตน “ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง”
(5) ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ความช่วยเหลือ”ในเขตเลือกตั้ง” ของตน “ให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของ ส.ส. ผู้นั้น”ในการไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

รายละเอียดการให้ความช่วยเหลือพรรคการเมืองสามารถศึกษาจาก พรป.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และ ระเบียบ กกต.ว่าด้วยจำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของการให้ตามประเพณีหรือเมื่อมีเหตุอันสมควร และการยื่นคัดค้านเกี่ยวกับการบันทึกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป พ.ศ. 2561

ทั้งนี้ เมื่อถึงคราวการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป พรรคการเมือง และผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจักได้รายงานค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่เกินวงเงินค่าใช้จ่ายตามที่ กกต.กำหนด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า