SHARE

คัดลอกแล้ว

ครม. ผ่านร่างกฎกระทรวงมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดหลังพ้นโทษคดีเกี่ยวกับเพศ สอดรับ พ.ร.บ.มาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำฯ ที่จะมีผลบังคับใช้ 23 ม.ค.นี้

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (10 ม.ค. 66) ว่า  ตามที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 จะมีผลบังคับใช้วันที่ 23 ม.ค. 66 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน สำหรับนักโทษเด็ดขาดซึ่งศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย และความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก การฆาตกรรม การทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่

เพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหายจากการกระทำผิดที่อาจเกิดขึ้นอีก รวมถึงได้กำหนดกระบวนการก่อนปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดดังกล่าว โดยให้กรมราชทัณฑ์จัดทำรายงานจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาด พร้อมทั้งความเห็นว่านักโทษเด็ดขาดสมควรให้ใช้มาตรการเฝ้าระวังใด เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ เพื่อกำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษแล้วเสนอต่ออัยการ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป

เป็นไปตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 ครม.จึงมีมติอนุมัติร่างกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณามาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ และการคุมขังฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการกำหนดกลไกในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณามาตรการเฝ้าระวังต่างๆ ก่อนปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง อาทิ

1. ร่างกฎกระทรวงมีขอบเขตการบังคับใช้ สำหรับนักโทษเด็ดขาด ซึ่งศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย และความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้

1.1 ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ  เช่น การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี การพาบุคคล อายุ 15-18 ปี เพื่อการอนาจาร การพาผู้อื่น ไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ

1.2 ผู้กระทำความผิดต่อชีวิต เช่น การฆ่าผู้อื่น การฆ่าผู้อื่นโดยเหตุฉกรรจ์ 3.ผู้กระทำความผิดต่อร่างกาย เช่น การทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสโดยเหตุฉกรรจ์ และ 4.ผู้กระทำผิดต่อเสรีภาพ เช่น การนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่

2. กำหนดให้มีคณะกรรมการประจำเรือนจำในแต่ละเรือนจำ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการเรือนจำเป็นประธานกรรมการ และเจ้าพนักงานเรือนจำ ซึ่งผู้บัญชาการเรือนจำแต่งตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน เป็นกรรมการ โดยคณะกรรมการประจำเรือนจำ มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณากลั่นกรองข้อมูลการจัดทำรายงานการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดตามที่เจ้าพนักงานเรือนจำเสนอ และให้ความเห็นว่านักโทษเด็ดขาดสมควรใช้มาตรการเฝ้าระวังใด ตลอดจนเสนอวิธีการและระยะเวลาในการใช้มาตรการที่เหมาะสม

3. การพิจารณากำหนดมาตรการเฝ้าระวัง กรมราชทัณฑ์ดำเนินการภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ก่อนปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดแต่ละราย ให้เจ้าพนักงานเรือนจำดำเนินการรวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาด และให้เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการประจำเรือนจำ ก่อนเสนอให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำพิจารณา

4. การดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังของพนักงานคุมประพฤติ กรณีที่ปรากฏเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ผู้นั้นจะไปกระทำความผิดและไม่มีมาตรการอื่นที่อาจป้องกันไม่ให้ผู้นั้นไปกระทำความผิดได้ ให้พนักงานคุมประพฤติเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการภายใน 15 วัน เพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งใช้มาตรการคุมขังแก่ผู้ถูกเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ หากปรากฏเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ถูกเฝ้าระวังจะไปกระทำความผิดซ้ำ และเป็นเหตุฉุกเฉิน คือ ผู้ถูกเฝ้าระวังมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่น อันสามารถใช้ในการกระทำความผิด ให้พนักงานคุมประพฤติเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลในท้องที่ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้คุมขังฉุกเฉิน ภายใน 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อยกเว้นการบังคับใช้ระยะเวลาในการจัดทำ และการเสนอรายงานการจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดของกรมราชทัณฑ์ และการเสนอรายงานและความเห็นของคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ไม่ให้ใช้บังคับภายในระยะเวลา 300 วันแรก นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า