อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ชี้ กรณีไพบูลย์ นิติตะวัน ยื่นกกต.ขอยุบพรรคตัวเองทำได้ โดยไม่ต้องจัดลำดับบัญชีรายชื่อใหม่ ส่วนคะแนนยังคงติดตามตัว จะเปลี่ยนแปลงกรณีเดียวคือมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 1 ปีโดยพบการทุจริต

(อุดม รัฐอมฤต อดีตกรธ. / แฟ้มภาพ)
นายอุดม รัฐอมฤต อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (อดีตกรธ.) ให้สัมภาษณ์ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ กรณีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่เลิกกิจการพรรคประชาชนปฏิรูป เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมาและเตรียมไปสมัครเข้าพรรคพลังประชารัฐ ว่า กรณีของนายไพบูลย์ เป็นกรณีที่พรรคสิ้นสภาพพรรค โดยในรัฐธรรมนูญ 60 ให้มีผลเท่ากับถูกยุบพรรค แม้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็สามารถไปหาพรรคใหม่อยู่ได้ภายใน 60 วัน ส่วนคะแนนที่ทำให้ นายไพบูลย์เป็น ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ได้มาจากพรรคประชาชนปฏิรูป (45,512 คะแนน เป็นคะแนนที่พรรคประชาชนปฏิรูปได้รับจากการเลือกตั้งทั่วไป 24 มีนาคม 2562)
ตราบใดที่ไม่มีการเปลี่ยนผลการเลือกตั้งภายใน 1 ปี ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ใน มาตรา 94 คือการจะเปลี่ยนแปลงผลที่คิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะเกิดขึ้นได้จากการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีการวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งนั้นไม่สุจริตเที่ยงธรรมเท่านั้นและต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 1 ปี (หลังการเลือกตั้งทั่วไป 24 มีนาคม 2562)

(ไพบูลย์ นิติตะวัน)
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อสังเกตที่ว่า กรณีนี้จะเข้าข่ายมาตรา 96 พ.ร.บ.พรรคการเมือง ที่เขียนไว้ว่าในระหว่างอายุสภาผู้แทนราษฎรจะมีการควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิได้หรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า กรณีนี้ไม่ใช่การควบรวม เพราะการควบรวมคือโอนย้ายสมาชิกไปอยู่ร่วมกัน เพียงแต่ว่ากรณีนี้เป็นข้อที่กฎหมายไม่ได้เขียนไว้ ว่าการยุบพรรคการเมืองโดยผลของมติของพรรคเอง จะมีผลเท่ากับเล่นบาลีหรือไม่ มันไม่ได้มีเขียนเอาไว้ มีแต่บอกว่าการสิ้นสภาพพรรค เนื่องจากไม่ครบคุณสมบัติจากการเป็นพรรคการเมืองแล้ว คือยุบพรรคไปตามข้อบังคับของพรรค กรณีนี้พรรคใดมีข้อบังคับในการเลิกพรรค กฎหมายก็เปิดช่องตรงนี้ แต่การควบรวมคือตั้งแต่สองพรรคขึ้นไปมารวมกัน เท่ากับพรรคที่สิ้นสภาพไปจะไปอยู่พรรคใหม่ได้ต้องไปสมัครใหม่ ส่วน ส.ส. พรรคใหม่จะรับหรือไม่ก็เป็นเรื่องของเขา เพราะกรณีนี้ไม่ผิดตามมาตรา 96
เมื่อถามว่า “ไพบูลย์โมเดล” จะเกิดขึ้นในกรณีพรรคเล็กอื่นๆ ต้องการความมั่นคงหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า ในทางความเป็นจริง สถานะ ส.ส.ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ตราบใดที่ไม่มีคะแนนเปลี่ยนแปลง จะเล็กและใหญ่แล้วจะมีผลว่า พอเล็กไปรวมกับใหญ่แล้วจะมั่นคงขึ้นไม่ใช่ ส่วนการที่เขาจะไปได้ดิบได้ดีในพรรคใหม่หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันอีกที ไม่เกี่ยวกับเรื่องสถานะของตัวเขาเองและไม่ต้องเข้าจัดลำดับบัญชีรายชื่อใหม่ นายไพบูลย์อยู่ในลำดับบัญชีรายชื่อเดิมและถ้าจะหลุดก็เพราะคะแนนเดิมของเขาหมด สัดส่วนไม่ได้ในการคำนวณใหม่ อยา่งไรก็ตาม นายอุดม เห็นว่า แนวโน้มเป็นเรื่องยาก ถ้าไม่มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ไม่มีผลอะไร

(สติธร ธนานิธิโชติ)
ขณะที่ นายสติธร ธนานิธิโชติ รักษาการผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระ
“คุณไพบูลย์จะพูดว่า ผมเป็นบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐไม่ได้นะ ไม่ควร เพราะไม่ได้อยู่ใน 150 บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ แม้สถานะจะเป็น ส.ส.บัญชีชื่อ”
อย่างไรก็ตาม ถ้า กกต. ตีความว่า พรรคพลังประชารัฐจะได้คะแนนเพิ่มจากการที่นายไพบูลย์เข้าไปสังกัดหรือตัดคะแนนของพรรคประชาชนปฏิรูปทิ้ง จะเท่ากับว่า นายไพบูลย์จะมีสถานะเป็นอมตะ ฆ่าไม่ตายเลยแม้จะมีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 94
ส่วนพรรคเล็กอื่นๆ จะทำตาม “ไพบูลย์โมเดล” หรือไม่นั้น นายสติธร มองว่า ต้องพิจารณาให้ดี เพราะการยุบพรรคตัวเองไปรวมกับพรรคใหญ่เท่ากับหมดอำนาจการต่อรอง เพราะสถานะภาพ ส.ส. เท่าเดิมและไม่ได้ทำให้พรรคเล็กมีความมั่นคงมากขึ้น เนื่องจากเป็นคะแนนเดิมที่ได้รับจากการเลือกตั้งมา