Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘หมออ๋อง’ รองประธานสภาฯ มาถึงทำเนียบฯ ขอหารือร่างกฎหมายล่าช้า-หนังสือแจงรัฐมนตรีไม่มาตอบกระทู้ ขาดรายละเอียด

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา หรือหมออ๋อง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เดินทางมาถึงทำเนียบรัฐบาล ในเวลาประมาณ 13.30 น. วันนี้ (1 มี.ค. 67) เพื่อทวงถามถึงร่างกฎหมายการเงิน ที่ล่าช้า 31 ฉบับ จากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รวมถึงจะขอหารือกรณีรัฐมนตรีไม่มาตอบกระทู้ สภาฯ ตามข้อบังคับต้องทำหนังสือและมีรายละเอียดว่าเหตุใดจึงไม่สามารถมาได้ แต่ที่ผ่านมาขาดรายละเอียด พร้อมระบุว่าได้ทำหนังสือขอนัดล่วงหน้า เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 67

นายปดิพัทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า การเดินทางมาวันนี้ ไม่ได้เป็นการบุกทำเนียบรัฐบาลแต่อย่างใด แต่เป็นขอเข้ามาประชุมร่วม เพื่อหารือการติดตามความคืบหน้าของร่างกฏหมายต่างๆ อย่างไรบ้าง เท่าที่ตนได้ทำหนังสือมาสอบถามว่า การที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ยังไม่เซ็นรับรองร่างกฎหมาย เนื่องจากรอความเห็นจากหน่วยงาน แต่ไม่มีรายละเอียดบอกว่า แต่ละร่างกฏหมายรอหน่วยงานใด หรืออยู่ในขั้นตอนใดบ้าง ตนจึงอยากทราบว่า จะทำอย่างไรดีจึงเป็นที่มา มาขอหารือกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยได้ส่งหนังสือเพื่อขอหารือตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมา และมองว่า เป็นเรื่องดีที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจะได้หารือกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคเพื่อไทย บอกว่าการทำเช่นนี้คือการรุกล้ำ นายปดิพัทธ์ ถามกลับว่า “อ้าว ทำเนียบ ห้ามเข้าเหรอครับ”

ผู้สื่อข่าวจึงขยายความว่าเป็นการมองว่า อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติรุกล้ำอำนาจฝ่ายบริหาร นายปดิพัทธ์ จึงกล่าวว่า ตนไม่ได้มากดดันให้รัฐบาลต้องเซ็น แต่คิดว่ากระบวนการทำงานร่วมกันต้องปรับปรุง ไม่ได้มองว่าตัวเอง รุกล้ำเลย

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยมองว่าเป็นเรื่องของมารยาทด้วยนั้น นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า “ผมถามคำถามกลับ การมาพูดคุยกันเพื่อทำให้งานร่วมกันดีขึ้น ผิดมารยาทตรงไหน ถามตรงๆ เลย ถ้าผมเข้ามาแล้วผมมาปิดทำเนียบฯ มาแบบไม่สุภาพเหรอครับ แต่ผมมาขอความร่วมมือและหาทางออกการพิจารณากฏหมายเพื่อประเทศชาติ แต่ถ้าหากมองว่ารุกล้ำก็วิพากษ์พิจารณ์ไป แต่ตนมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์”

นายปดิพัทธ์ กล่าวย้ำว่า ที่ต้องการมาพบวันนี้ ต้องการความชัดเจนเรื่องการตีความว่า ร่างกฏหมายที่เป็นร่างการเงินมีหลักการพิจารณาอย่างไร และวันนี้ถือเป็นการพูดคุยกันครั้งแรกและยังไม่ได้คาดหวังว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงทันที แต่ถ้าไม่คุยกันเลยและโต้ตอบผ่านทางหนังสืออย่างเดียว คงไม่มีโอกาสที่จะปรับปรุงการทำงานร่วมกัน

ทั้งนี้ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า พร้อมพูดคุยกับนายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ดื่มกาแฟพูดคุยกัน แต่ไม่ได้มีโทรศัพท์นัดหมายกันส่วนตัว ติดต่อผ่านทางธุรการเท่านั้น

เมื่อถามการที่เดินทางมาเอง เป็นเพราะวิปรัฐบาลกับวิปฝ่ายค้านไม่ประสานงานกันหรือไม่นั้น นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่วิปรัฐบาล ตนเป็นรองประธานสภาฯ ที่รับผิดชอบเรื่องการตรากฏหมายโดยตรง และการมาติดตามวันนี้ มาดูร่างกฏหมายทั้งของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลด้วย ยืนยันว่า การเดินทางในวันนี้เป็นการทำหน้าที่ปกติ ไม่จำเป็นต้องแจ้งประธานสภาฯ หรือ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการตัดสินใจเองหรือทำในฐานะส่วนตัว ก็เป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์ได้

ผู้สื่อขถามว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ทางรองประธานสภาฯ ต้องมาติดตามกฏหมายเอง นายปดิพัทธ์ ตอบกลับว่า แล้วมันไม่ดีอย่างไร มองว่า ทำเนียบฯ กับสภาฯ ควรใกล้ชิดกัน แล้วถ้าทำงานร่วมกันบ่อยๆ การไม่เข้าใจกันก็จะลดลง ไม่คิดว่าต้องวางตัวห่างกัน เพราะฝ่ายบริหารก็เข้าสภาฯ บ่อย ฝ่ายสภาฯ ก็มีโอกาสมาพูดคุยหารือกันได้ ไม่ได้ผิดธรรมเนียมอะไร

“แน่นอนผมก็ไม่ได้ไร้เดียงสา มันมีจังหวะทางการเมือง ที่จะให้กฏหมายเข้าหรือไม่เข้า แต่อย่างน้อยต้องโปร่งใส มันต้องตรงไปตรงมาว่าติดเรื่องอะไร ยืนยันไม่มีวาระซ้อนเร้น รีบคุย รีบกลับ งานเยอะ” นายปดิพัทธ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนบริเวณรังนกกระจอก นายปดิพัทธ์ ได้ทักทายกับ นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เดินผ่านมา จากนั้นได้เดินต่อไปที่หน้าตึกบัญชาการ แต่ไม่มีใครลงมาพบ ยืนรออยู่หลายนาที และได้เดินต่อไปมุ่งหน้า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ด้านหลังของทำเนียบรัฐบาล

ซึ่งระหว่างทาง ได้มีผู้อำนวยการกองประสานงานการเมืองเข้ามาพบและเชิญขึ้นไปหารือในห้อง พร้อมกับแจ้งสื่อมวลชนว่า ที่วันนี้ดูขรุขระ เพราะหลังจาก รองประธานสภาฯ มีหนังสือมา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบให้ตน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองประสานงานการเมือง ไปพบ รองประธานสภาฯ ที่รัฐสภา ตนจึงทำหนังสือไปขอพบ แต่เป็นจังหวะที่หนังสือไป-มา

ทั้งนี้หลังการหารือ นายปดิพัทธ์ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า วันนี้ตนไม่ได้พบกับผู้บริหารรัฐบาล เพียงแต่พบกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ซึ่งได้รับฟังและเข้าใจว่าร่างกฎหมายต้องรับฟังความเห็นหน่วยงานต่างๆ จำนวนเยอะ แต่อยากให้เพิ่มรายละเอียดในเอกสารที่ตอบกลับสภาฯ ให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น คำว่ารอหน่วยงานว่า รัฐบาลส่งไปกี่หน่วยงาน มีหน่วยงานไหนตอบแล้วและยังไม่ตอบมา เพื่อทางสภาฯ จะได้เห็นความชัดเจน รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงก็จะได้ประเมินผลฝ่ายกฎหมายของตัวเอง

นายปดิพัทธ์ กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาที่รัฐมนตรีไม่ตอบกระทู้ สิ่งที่ตนวิจารณ์คือหนังสือที่ตอบกลับจากรัฐมนตรีที่บอกว่า ติดภารกิจไม่สามารถตอบกระทู้ได้ ตามข้อบังคับต้องเขียนว่าเป็นภารกิจที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ที่ผ่านมาที่ทั้งรัฐมนตรีที่ทำได้ดีและไม่ดี บางคนตอบเพียงว่าติดภารกิจ บางคนก็ลงรายละเอียด ตนมองว่า การไม่บอกรายละเอียดว่า เป็นภารกิจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นการทำผิดข้อบังคับ จึงจำเป็นต้องรายงานต่อสาธารณะ และจากนี้ก็ได้ประสานว่า การทำหนังสือขอให้ทำโดยสมบูรณ์ การหารือสองประเด็นวันนี้เรียกว่า เขายอมรับข้อเสนอ แต่จะทำได้หรือไม่คิดว่า เป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 19.07 น. วันเดียวกัน นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เปิดเผยหนังสือ 2 ฉบับที่ทำถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เรื่องขอเข้าหารือและเยี่ยมชมการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ผ่านแอปพลิเคชั่น X ส่วนตัว

โดยหนังสือฉบับแรก ลงวันที่ 7 ก.พ. 67 ระบุวัน-เวลาเข้าเยี่ยมชม ในวันศุกร์ที่ 16 ก.พ. 67 เวลา 13.30 น. และอีกฉบับ ลงวันที่ 21 ก.พ. 67 ระบุวัน-เวลาเข้าเยี่ยมชม ในวันศุกร์ที่ 1 มี.ค. 67 เวลา 13.30 น.

นายปดิพัทธ์ ระบุว่า “ผมยืนยันว่า ไม่ได้บุกไปพบนายก การตัดสินใจเซ็นร่างกฎหมายเป็นสิทธิและหน้าที่ของท่านเท่านั้น ผมไปติดตามสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีให้กระบวนการให้โปร่งใส นำข้อคิดเห็นของสมาชิกไปสะท้อน ทำความเข้าใจข้อบังคับการประชุมสภาในส่วนของกระทู้สดกันครับ หนังสือขอเข้าพบก็เขียนแบบนี้ครับ”

 

ภาพ ธนัญชัย แก้วโสวัฒนะ / Thai News Pix

‘เศรษฐา’ ถามพฤติกรรมถูกต้องหรือไม่ ‘หมออ๋อง’ รองประธานสภาฯ บุกทำเนียบฯ

‘หมออ๋อง’ ไปทำเนียบฯ พรุ่งนี้ (1 มี.ค.) ทวงร่างกฎหมาย 31 ฉบับ ถูกดอง ด้าน นายกฯ บอกยังไม่รู้เรื่อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า