Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 ประชุมสภาฯ นัดพิเศษ 28 ก.พ.นี้ พิจารณาพ.ร.ก.แก้ไขกฎหมายอุ้มหาย ที่ครม. เสนอเป็นเรื่องด่วน ‘วิษณุ’ ยอมรับห่วงองค์ประชุม โดยเฉพาะฝั่งรัฐบาล ที่ส่วนใหญ่ไปหาเสียงแล้ว 

นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า หลังจากที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566 ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ มาให้รัฐสภาพิจารณา

ล่าสุด นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มีหนังสือนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 4 ครั้งที่ 31 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ ในวันอังคารที่ 28 ก.พ.นี้ เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป เพื่อพิจารณาเรื่องด่วนดังกล่าว

วิษณุ ติว ผบ.ตร. ก่อนชี้แจงสภาฯ 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวภายหลังหารือกับพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)ว่า มีการหารือในเรื่องพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 เพื่อเลื่อนเวลาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ดังกล่าว

หลังได้ส่งสภาฯ ไปแล้ว โดยบรรจุวาระในสภาฯ เพื่อพิจารณาในวันอังคารที่  28 ก.พ.นี้ เพื่อให้ ผบ.ตร. ได้เตรียมชี้แจง พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้หารือถึงประเด็นที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์  ได้ยื่นหนังสือเปิดโปงคดีต่างๆ หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 66 แต่อย่างใด เนื่องจาก ตนไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า การพิจารณาพ.ร.ก.ฉบับนี้ รัฐบาลมีข้อกังวลอะไรหรือไม่ นายวิษณุ  กล่าวว่า การพิจารณาไม่ยาก เนื่องจากต้องเสนอให้สภาฯ อนุมัติหรือไม่อนุมัติอยู่แล้ว แต่กังวล คือ องค์ประชุมจะไม่ครบ แต่หากล่มก็ไม่เป็นไร พ.ร.ก.ก็ใช้ไป แต่กังวลที่ 2 คือกลัวว่า จะล้ม พ.ร.ก.นี้  หากล้มก็จะตกไป ซึ่งประเด็นที่กังวล เพราะส.ส.ส่วนใหญ่ไม่เข้าประชุม ส่วนใหญ่ไปหาเสียง และไม่นึกว่า จะมีการประชุมอีกแล้ว แต่ฝ่ายค้านที่เตรียมที่จะล้มกฎหมายนี้อยู่มาประชุมอย่างพร้อมเพรียง แต่ฝ่ายรัฐบาลอาจจะไม่พร้อมเพรียง

“พ.ร.บ.อุ้มหาย มีหลายมาตรา และมาตราที่สำคัญ คือ มาตราต่างๆ เยอะแยะ ไม่ใช่มาตราที่เลื่อนเลย โดยมาตราที่เลื่อน คือมาตราที่ 22- 25 นี้ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าเวลาจะไปจับใครต้องบันทึกกล้อง ด้วยภาพและเสียงเอาไว้ตลอด และต้องเก็บเอาไว้ตลอดเวลาจน กระทั่งคดีหมด จบอายุความ อันนี้ถ้าไม่เตรียมการให้ดี คุณจะไปหากกล้องมาจากไหน คุณจะเก็บภาพเอาไว้อย่างไร คุณจะส่งเข้าระบบคลาวด์อย่างไร เพราะว่า เวลาคดีขึ้นไปถึงศาล หลังจากจับวันนี้ อีก 2 ปี คดีไปศาล จำเลยก็มีสิทธิ์ที่จะบอกว่า ศาลที่เคารพ วันนั้นจับผมไม่ได้ถ่ายภาพไว้โดยไม่ชอบ ศาลก็จะสั่งให้ไปเรียกเอามาดู มันจึงต้องมีเซิร์ฟเวอร์ ต้องมีคลาวด์ มีตู้เก็บคลังข้อมูล อันนี้คือความพร้อม แต่มาตราอื่นๆ ซึ่ง กฎหมายนี้มีอีกหลายมาตรา เช่นเวลาจับห้ามอุ้ม เวลาอุ้มห้ามฆ่า ห้ามทรมาน แล้ว รวมทั้งมาตราที่สำคัญ คือว่า แม่เหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้ พระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ เอาพระราชบัญญัตินี้ไปใช้ด้วยโดยอนุโลม อันนี้ทั้งหมดที่ศักดิ์สิทธิ์และดี ไม่มีการยืดอายุมาตราเหล่านี้”

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ต้องเลื่อน เช่น มาตรา 22 บัญญัติว่าการควบคุมตัวผู้ต้องหา หมายถึงจับ และขัง ผู้ที่จับ ไม่ว่าใครก็ตามไม่ได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่น ผู้ที่ไปควบคุมตัวจะต้องบันทึกภาพและเสียง ผู้ต้องหาไว้ ตลอดเวลาที่ควบคุมตัวจนส่งมอบให้แก่พนักงานสอบสวน เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ต้องมีเครื่องมือ ต้องมีการซักซ้อมและที่สำคัญต้องมีระเบียบว่า ปฏิบัติอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้วันนี้ยังไม่มีเลย นี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงต้องเลื่อนการบังคับใช้บางมาตรา

นอกจากนี้ ยังอธิบายถึงสาเหตุที่ต้องเลื่อนการบังคับใช้บางมาตรา ออกไปถึง วันที่ 1 ต.ค.66 ว่า ครม. ได้อนุมัติงบประมาณในการซื้อกล้องไปจำนวน  444 ล้านบาท ด้วยระบบ e-bidding ห้ามเจาะจงว่า เป็นบริษัทใด ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน รวมไปถึงต้องมีการออกระเบียบรองรับ จึงเลื่อนออกไปให้บังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 66 ที่จะมีรัฐบาลใหม่ ยืนยันว่า มาตราอื่นยังคงบังคับใช้อยู่เหมือนเดิม ห้ามอุ้มห้ามฆ่า ห้ามทรมาน ห้ามซ้อม หรือห้ามทำตัวให้หายไป และคดีที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ก็ให้เอากฎหมายไปใช้โดยอนุโลม โดยหากไม่เลื่อนการบังคับใช้ออกไป ในมาตรา 22 ที่บัญญัติไว้ว่า จะต้องมีการบันทึกภาพและเสียงขณะจับกุม รวมไปถึงอีกมาตราที่บอกว่า อะไรที่เกิดขึ้นก่อน วันที่พ.ร.บ. นี้บังคับใช้ ก็ให้บังคับใช้โดยอนุโลม จะมาเถียงกันว่า ที่จับกุมก่อนหน้านี้แล้วไม่เคยบันทึกภาพจะทำอย่างไร นี่คือความยุ่งยากทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ครม.เลื่อนบังคับใช้ ‘ร่างพ.ร.บ.ป้องกันทรมาน-อุ้มหาย’ เป็น 1 ต.ค. 66

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า