SHARE

คัดลอกแล้ว

ประชุมร่วมรัฐสภา หลายเสียงค้านร่างกฎหมายจริยธรรมสื่อฯ ขณะที่ ส.ส.-ส.ว. จวกประธานสภาฯ ‘ชวน’ ใช้อำนาจเรียกประชุมนัดพิเศษ เจ้าตัวโต้ไม่มีลับลมคมใน 

ในการประชุมร่วมรัฐสภาเป็นพิเศษในวันนี้ (7 ก.พ. 66) เพื่อพิจารณาเรื่องด่วนคือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาสื่อมวลชน พ.ศ. … ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ โดยเวลาประมาณ 12.43 น. นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนของคณะรัฐมนตรี เป็นผู้นำเสนอร่างกฎหมาย

ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลหลายคน แสดงความเห็นไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายจริยธรรมสื่อฯ โดยเห็นว่า รัฐบาลควรถอนร่างฯ ออกไป พร้อมให้เหตุถึงความไม่สมบูรณ์ของเนื้อหา โดยเฉพาะคำว่า “จริยธรรมอันดี” ที่เขียนกว้างเกินไปในการให้คำจำกัดความ จนเป็นการใช้ดุลพินิจในการควบคุมสื่อซึ่งแต่ละคนก็มองไม่เหมือนกันได้ อีกทั้งสื่อมีการควบคุมกันเองอยู่แล้ว รัฐไม่จำเป็นต้องตั้งสภาวิชาชีพสื่อ ซึ่งรวมถึง “ประชาชน” ที่มีเสียงสะท้อนการทำงานของสื่ออยู่แล้วเช่น รัฐไม่ควรเข้าแทรกแซง

อาทิ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ บทลงโทษไม่ชัดเจน อีกทั้งมีกฎหมายหมิ่นประมาทกฎหมายแพ่งอยู่แล้ว ขณะที่โครงสร้างให้ตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการได้อีก อำนาจไม่ชัดเจน และอยู่ในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ในการเอาร่างฯ นี้เข้าสภา ควรกลั่นกรองให้ดีก่อน เป็นร่างฯ ที่ไม่ตรงปก ไม่รู้กาลเทศะ ถอนแล้วทำประชาพิจารณ์ โดยเชิญนักข่าวระดับปฏิบัติการไปหารือด้วยไม่ใช่มี บก.ข่าว เท่านั้น

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ชี้รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายที่ไม่จำเป็น ลิดรอนอิสรภาพของสื่อมวลชน อีกทั้งซ้ำซ้อน เป็นภาระในการจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะมาตราที่ต้องมีการจัดสรรหารายได้อื่นมาให้ ต้องสร้างองค์กรซ้ำซ้อนกับเอกชน มีการเสนอเงินเดือนหลักแสนให้กับคนในองค์กรนั้น เกรงจะเกิดปัญหาเส้นสาย

นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.พรรคก้าวไกล ถามเรื่องการขีดเส้นสื่อแท้ สื่อเทียม บางสื่อไม่เข้าเกณฑ์แต่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ เรียกว่าสื่อหรือไม่ พร้อมทั้งไม่เห็นด้วยกับการโยงกับกรมประชาสัมพันธ์

นางวลัยพร รัตนเศรษฐ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ติงเรื่องจำนวนผู้เข้าให้ความเห็นในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ว่ามีผู้เข้าถึงแค่ 1 คน ทั้งที่ควรเจาะกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ประชาสัมพันธ์ และมีเวลาที่เพียงพอ

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า ประชาชนทั่วไปที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง TikTok จะได้รับผลกระทบจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้หรือไม่ เพราะร่างดังกล่าวร่างมานานกว่า 5 ปี ตั้งแต่สมัยยังไม่มีแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งถือว่า ล้าสมัยแล้ว  ขอให้รัฐบาลทบทวนและพิจารณาว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จะไม่เป็นการครอบงำสื่อ และหากเป็นไปได้ ก็อยากให้ถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ออกไปก่อน

ขณะที่ฝ่ายที่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ อาทิ นายสมชาย แสวงการ ส.ว. บอกว่า สื่อมีทั้งคนดีและประชาชนไม่ได้ประโยชน์ บทลงโทษไม่ชัดเจน มีกม.หมิ่นประมาท กฎหมายแพ่งอยู่แล้ว ด้านโครงสร้างให้ตั้งคกก. และให้ตั้งอนุกรรมการได้อีก อำนาจไม่ชัดเจน และอยู่ในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ในการเอาร่างพ.ร.บ.นี้เข้าสภา ควรกลั่นกรองให้ดีก่อนละไม่ดี เวลาลงโทษทำได้แค่ตำหนิ สื่อนั้นก็ลาออกจากองค์กรสื่อ กลายเป็นเสือกระดาษ ตนเคยคิดว่าสื่อดูแลกันเองได้ แต่ผ่านมาหลายปี คิดว่า ต้องแยกสื่อที่ทำหน้าที่เพื่อประชาชน กับสื่อที่ทำตามอำเภอใจ พร้อมเสนอว่า ระหว่างตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) ให้ตั้งผู้ที่ลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) หรือคนที่ไม่ต้องหาเสียง มาประชุมให้ตกผลึก แล้วนำเสนอรัฐบาลใหม่ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

นายนิพนธ์ นาคสมภพ ส.ว. ชี้ว่า ร่างพ.ร.บ.นี้ จะแยกสื่อมวลชนออกจากคนที่สื่อสารโดยทั่วไปและให้สิทธิได้รับความป้องกันจากการถูกฟ้องร้อง พร้อมถามว่า คนที่เป็นสื่อมวลชนโดยสุจริตกลัวอะไร สื่อที่ผิดจริยธรรมต่างหากที่ต้องกลัว ไม่มีการลงโทษจากกฎหมายนี้ มีเพียงการภาคทัณฑ์ สำหรับคนที่อ้างตนเป็นสื่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวันนี้กว่าจะเปิดประชุมได้ ต้องเสียเวลารอสมาชิกมาเซ็นชื่อเข้าประชุมนานเกือบ 2 ชั่วโมง จนส.ส.หลายคนพากันตำหนิสมาชิกรัฐสภาที่ไม่ให้ความร่วมมือมาประชุมกัน กระทั่งเวลา 10.50 น. จึงมีสมาชิกมาลงชื่อครบ 334 คน จากจำนวนสมาชิกรัฐสภา ทั้งหมด 667 คน

แต่เมื่อเริ่มประชุมได้ก็ยังมีปัญหาต่อเนื่อง เมื่อ ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว. บางส่วน พากันรุมท้วงติงการประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษ โดยไม่เห็นด้วย ที นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ใช้อำนาจจัดประชุมนัดพิเศษ เลื่อน ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชนฯ มาพิจารณา แทนที่ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ค้างวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยเห็นควรนำร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มาพิจารณาตามวาระปกติ แล้วค่อยพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชนฯ ตามลำดับ

อาทิ นายตวง อันทะไชย ส.ว. กล่าวว่า การประชุมรัฐสภานัดพิเศษไม่เคยมีอยู่ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ดังนั้นการจะเลื่อนกฎหมายฉบับใดมาพิจารณาก่อน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาก่อน จึงขอเสนอญัตติให้นำร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มาพิจารณาก่อน และนายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การจัดระเบียบวาระของประธานรัฐสภาควรหารือร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อย ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการใช้ดุลยพินิจของประธานรัฐสภา

เวลาต่อมา นายชวน ประธานรัฐสภาได้ชี้แจงว่า การจัดระเบียบวาระประชุมนัดพิเศษไม่ได้คิดอะไรตามอำเภอใจ แต่การบริหารเวลาในช่วงที่มีอยู่อย่างจำกัด ต้องใช้สมองและความคิด เพื่อให้งานเกิดประโยชน์สูงสุด การจัดระเบียบวาระแบบปกติ จะทำให้ร่างพ.ร.บ.จริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชนฯ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการพิจารณา เพราะร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จะต้องพิจารณาไปอีกนาน ควรทำงานให้ออกมาภายในเวลาจำกัด ภายใต้อำนาจที่ประธานฯ ทำได้ ให้มีผลงานออกมา ถ้าประชุมวาระปกติ ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้านจะไม่ได้รับการพิจารณาแน่นอน ยืนยันว่า ไม่มีลับลมคมในให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน

หลังจากสมาชิกรัฐสภาฟังการชี้แจงจากนายชวนจึงไม่ติดใจ สามารถเข้าสู่การประชุมได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า