SHARE

คัดลอกแล้ว

สส. พรรคภูมิใจไทย ยื่นร่างกฎหมาย ต่อประธานสภาฯ รื้อคำสั่ง คสช. ชี้บางฉบับมีความจำเป็นในการปกครอง ขอเปลี่ยนชื่อเป็น ‘พ.ร.บ.’ ให้ดูดีในสายตาต่างชาติ

ที่รัฐสภา วันนี้ (5 ก.พ. 67) นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยกเลิกประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. … ต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมี นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร มารับแทน

นายสฤษฏ์พงษ์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีหลักการให้ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. บางฉบับที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพ สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมืองและสิทธิชุมชนของประชาชนและกำหนดสถานะทางกฎหมายของคดีความของบุคคลพลเรือนที่เคยพิจารณาโดยศาลทหารตามประกาศ คสช. โดยที่ร่าง พ.ร.บ. มีจำนวน 7 มาตรา

จากการศึกษาของพรรคภูมิใจไทยพบว่า มีประกาศของคสช. และหัวหน้าคณะ คสช. ที่ผ่านมามีปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้ รวม 240 ฉบับ โดยสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เป็นกฎหมายได้จำนวน 71 ฉบับ ซึ่งทั้ง 71 เรื่ิอง อยู่ในประกาศแนบท้าย พรรคจึงเรียก พ.ร.บ. นี้ว่า พ.ร.บ. พวง

ทั้งนี้ สภาฯ มีหน้าที่ออกกฎหมาย และกฎหมายที่มีความล้าหลัง และมีความซ้ำซ้อนควรจะได้รับการสังคายนาปฏิรูปและแก้ไขจากสภาฯ เพื่อเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ และต้องเป็นกฎหมายที่มีมาตรฐาน มีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับกฎหมายที่นานาอารยะประเทศในระบอบประชาธิปไตยใช้กัน

โดยมีเหตุผล คือ คสช.ทำการยึดอำนาจล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยพร้อมทั้งประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และได้ออกประกาศและคำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช. หลายฉบับที่มีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน โดยอ้างความจำเป็นเพื่อครอบคลุมสถานการณ์และความสงบเรียบร้อยในระหว่างการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมือง โดยสิทธิเสรีภาพที่ถูกจำกัดได้แก่ เสรีภาพในการชุมนุมหรือสมาคม เสรีภาพของสื่อมวลชนที่จะนำเสนอข่าวสารอย่างเป็นอิสระ สิทธิในร่างกายและเสรีภาพในการเดินทางที่ถูกจำกัดด้วยการเรียกไปรายงานตัว การกักตัว และให้ทำข้อตกลงที่จะงดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

รวมทั้งสิทธิในที่ดินทำกิน สิทธิชุมนุมที่จะมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจของรัฐ และสิทธิในการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว และประเทศกำลังกลับสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่บรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. ที่ใช้ตั้งแต่ช่วงเวลาของการยึดอำนาจก็ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ ทั้งในเวลาต่อมาหัวหน้า คสช. ยังอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.อีกจำนวนมาก ซึ่งบางฉบับมีเนื้อหาในทางจำกัดสิทธิของประชาชนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันรับรองไว้ ประกาศและคำสั่งเหล่านี้จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์บ้านเมืองให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นและสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

จึงสมควรที่จะยกเลิกประกาศและคำสั่งคสช. รวมทั้งคำสั่งหัวหน้าคสช.บางฉบับที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพ สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิชุมชนของประชาชน และให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการรับรองและถูกจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามกฎหมายในสถานการณ์ปกติ โดยทางพรรคได้ยื่นร่าง พ.ร.บ. ผ่านทางระบบของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 67 ที่ผ่านมา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า