Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ส.ว.เตรียมแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 158 ยกเลิกวาระนายกฯ 8 ปี ‘เสรี’ ยกโมเดลจีน เป็นได้ไม่จำกัด ปัดกรุยทางให้ ‘พล.อ.ประยุทธ์’ อยู่ยาว ขณะที่ ‘กิตติรัตน์’ ชงให้ ส.ส.เว้นวรรค 2 ปี

นายเสรี สุวรรณภานนท์ วุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนฯ ให้สัมภาษณ์กรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ระบุ กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ มีแนวคิดจะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 ว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปี เพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อได้

โดยอธิบายว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องของการเสนอประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ซึ่งมีอยู่ 5 หัวข้อใหญ่ หนึ่งในนั้น คือ การพัฒนาปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่า มีข้อที่ต้องพัฒนาแก้ไขอย่างไรหรือไม่ ซึ่งเป็นหัวข้อเดิมหลักของการรายงานในสภาฯ อยู่แล้ว สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือ สถาบันพระปกเกล้า ที่จะเสนอมาหลายประเด็น แต่ทาง กมธ. จะพิจารณาว่ามีประเด็นอื่นอีกหรือไม่

ส.ว.เสรี กล่าวต่อว่า เมื่อดูแล้ว ทางกมธ. จึงเสนอประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 ที่กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ที่รัฐธรรมนูญเดิมก่อนฉบับ พ.ศ. 2550 ไม่มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ แต่ปัจจุบันเมื่อเรามาศึกษาดูพบว่าการกำหนดเวลา 8 ปี ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ เพราะบางประเทศยอมรับเสียงประชาชนเป็นผู้กำหนด ดังนั้นใครจะเป็นนานเท่าไหร่ หรือจะเป็นนานกี่ครั้ง อยู่ที่เสียงประชาชน ไม่จำเป็นต้องไปกำหนด 8 ปี ยกตัวอย่างจีน ที่สีจิ้นผิง ตอนแรกให้ 2 สมัย แต่ตอนนี้ให้ 3 สมัย ไม่ใช่เป็นกฎตายตัว เราจึงเห็นว่าเมื่อมีข้อเสนอจะแก้ไขเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องที่ใช้กับทุกพรรคการเมือง เพราะเรายังไม่รู้เลยว่า ใครจะชนะเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยบอกว่า จะแลนด์สไลด์ แล้วจะมาบอกว่า แก้รัฐธรรมนูญเพื่อ พล.อ.ประยุทธ์ แสดงว่าพรรคเพื่อไทยคิดจะเป็นฝ่ายค้านตลอดหรืออย่างไร ตอนนี้พรรคเพื่อไทยกลัว พล.อ.ประยุทธ์ ไปเองหรือเปล่า

“หากมีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่จำกัดวาระ 8 ปีได้จริง ใครเป็นรัฐบาลในสมัยเลือกตั้งคราวต่อไปก็ใช้กติกานี้ได้ หรือจะไปแก้ไขตอนหลังก็สามารถทำได้ ขณะนี้เป็นเพียงข้อศึกษาและข้อเสนอ การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ว่า กมธ.เสนอแล้ว จะแก้ได้เลยที่ไหน เพราะต้องใช้เสียงของทั้งสองสภาฯ อย่างน้อยต้องใช้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 และเสียงส.ส. ฝ่ายค้าน ร้อยละ 20” ส.ว.เสรี กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ต้องใช้เวลานานเท่าใด และจะเสร็จในรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลหน้า ส.ว.เสรี ตอบว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเสียงในสภาฯ จะเอาอย่างไร ถ้าสภาฯ ไม่อยากได้ ก็ล่มไปล่มมา

เมื่อถามว่า กังวลว่าสังคมจะกล่าวหาว่า ส.ว.ทำงานรับใช้ เพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ สืบทอดอำนาจหรือไม่ ส.ว.เสรี กล่าวว่า “ไม่หรอก เราต้องยอมรับว่า ถ้ามีประเด็นกี่เรื่องเราต้องเสนอให้หมด และพรรคเพื่อไทยก็เสนอให้ลดอำนาจ ส.ว. ไม่ให้เลือกนายกฯ โดยไม่ห่วงว่าใครจะคิดอย่างไร ส่วนประเด็นไม่จำกัดวาระนายกฯ เป็นเพียงแค่เงา แต่พรรคเพื่อไทยก็กลัวแล้ว”

เมื่อถามว่า จากรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคการเมืองต่างๆ ที่เปิดตัวมาใครพอที่จะมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี

ส.ว.เสรี กล่าวว่า ขณะนี้ ส.ว.ยังไม่ได้พูดคุยกันเลย เพราะถ้าคุยกันจริงก็ไม่มีเหตุผล เพราะยังไม่รู้เลยว่าพรรคการเมืองใดที่ได้ ส.ส.อย่างน้อย 25 ที่นั่ง เพื่อมีสิทธิเสนอแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เพียงแต่ว่าคิดกันไปเองว่า พล.อ.ประยุทธ์ หรือ คสช. เลือก ส.ว. มา ส.ว.ก็จะไปทางนี้ ส่วนหลักการที่บอกว่านายกรัฐมนตรีควรมาจากพรรคการเมืองที่ได้เสียงมากที่สุดของสภาฯ นั้น โดยหลักควรจะเป็นอย่างนั้น แต่ที่ผ่านมาแต่ละพรรคการเมืองใหญ่ ถึงเวลาจริงยังไปเสนอแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเล็กเป็นนายกรัฐมนตรีเลย คือไม่ได้เอาเสียงของตัวเองเป็นหลัก คราวที่แล้วพรรคเพื่อไทยยังไปเสนอ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ดังนั้นวัฒนธรรมนี้ จึงไม่มีใครยึดเป็นแบบอย่างในแนวทางนี้ จึงอยู่ที่ว่าใครมีเสียงในสภาฯ เกินกว่ากึ่งหนึ่ง และสนับสนุนให้บุคคลนั้นเป็นนายกฯ

“ยกตัวอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อยู่พรรคกิจสังคม มี 18 เสียง สภาฯ ยังให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้เลย นายอานันท์ ปันยารชุน ไม่มี ส.ส. ก็เป็นนายกฯ ได้ การยกหลักการนี้ขึ้นมาพูด เป็นเพียงการกล่าวอ้างเป็นหลักการสำคัญเท่านั้น ถึงเวลาจริงเปลี่ยนแปลงได้หมด นี่คือการเมืองไทย” ส.ว.เสรี กล่าว

ขณะที่ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. เห็นด้วยกับประเด็นนี้ บอกว่า ถึงเวลาที่จะต้องแก้รัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ จะแก้ทั้งทีควรจะปลดล็อกกฎหมายหลายอย่าง ยกเว้นมาตรา 1 และ 2 ที่เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้าหากแก้กฎหมายแล้ว จะต้องมาหารือร่วมกันจากสมาชิกวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรี ถ้าหากจะมีการแก้รัฐธรรมนูญจริง จะตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ตนไม่ขัดข้อง แต่เห็นด้วยที่จะแก้ไขธรรมนูญ

“ส.ว. หลายท่านสนับสนุนให้แก้ไข รวมทั้งการดำรงตำแหน่ง ส.ส. ที่กำลังหมดวาระ จะต้องปิดล็อกห้ามเป็น ส.ส. 2 ปีหรือไม่ นี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ ส.ว. กำลังคิดและทำ ส่วนนักการเมือง ส.ส. มีประเด็นใดที่ต้องการแก้ไข ต้องร่วมมือกันหาจุดร่วมที่จะไปด้วยกันได้” ส.ว.กิตติศักดิ์ กล่าว

นายกิตติศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวคิดว่านายกรัฐมนตรีที่ดี ไม่ควรจะมีการกำหนดให้ดำรงตำแหน่ง 8 ปี ควรจะแก้รัฐธรรมนูญข้อนี้ด้วย หากพล.อ.ประยุทธ์ พ้นวาระไปแล้ว แต่นายกฯ เป็นคนดี ก็ไม่ควรจะจำกัดวาระการทำงาน คนดีอยู่เกิน 8 ปี ไม่เป็นไร แต่ถ้าได้นายกฯ ไม่ดี ตนไม่ขอเจาะจงว่าเป็นใคร ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินเอง

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีที่ทำงานเพื่อประเทศและประชาชน สามารถอยู่ได้เกิน 8 ปี ฝั่งคู่ขนานจะมองว่า เป็นการยึดติดในอำนาจหรือไม่ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า หากแก้รัฐธรรมนูญข้อนี้จริงตนไม่ทราบว่า พล.อ.ประยุทธ์ ยังอยู่หรือไม่ และรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขใหม่มีผลบังคับใช้กับพรรคการเมืองทุกคนทุกพรรค ที่เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เฉพาะพล.อ.ประยุทธ์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า