SHARE

คัดลอกแล้ว

นัดประชุมรัฐสภา 22 ส.ค. ตั้งแต่ 10 โมงเช้า คาดรู้ผลโหวตนายกฯ หลัง 5 โมงเย็น

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เปิดเผยภายหลังประชุมฝ่ายกฎหมายและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางประชุมรัฐสภา ในวันที่ 22 ส.ค. 66 เพื่อจะเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย โดยสรุป นายวันมูหะมัดนอร์ ระบุว่า การประชุมรัฐสภาจะเริ่มในเวลา 10.00 น. จากปกติ เวลา 09.30 น. เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจรที่อาจจะปิดถนนบริเวณรอบรัฐสภา โดยจะแจ้งให้ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายรับทราบในวันพรุ่งนี้ (18 ส.ค. 66) อีกครั้ง

ส่วนญัตติของนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่กรณีขอให้ทบทวนมติรัฐสภาห้ามเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ ซ้ำ ซึ่งค้างวาระอยู่เมื่อการประชุมรัฐสภา แต่ขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้สภาฯ ดำเนินการเลือกนายกฯ ต่อไปได้นั้น ก็ถือว่ายังค้างอยู่ในวาระ เพราะยังไม่มีข้อยุติ ดังนั้นเมื่อเปิดการประชุมรัฐสภา วันที่ 22 ส.ค. จะพยายามให้เรื่องดังกล่าวได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด เพราะมีเรื่องการโหวตนายกฯ รออยู่

“ขณะนี้เกือบ 3 เดือนแล้ว ที่ไม่มีนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ ทำให้การบริหารต่างๆ ทั้งเรื่องงบประมาณ ความเดือดร้อนประชาชน กฎหมายที่จำเป็น หรือกฎหมายที่ค้างอยู่เพื่อให้รัฐบาลใหม่ยืนยันยังทำไม่ได้ จึงหวังว่า ผู้เสนอญัตติจะใช้เวลาไม่มากนัก เพราะไม่มีประเด็นสำคัญ คงจะให้ที่ประชุมลงมติว่า รับพิจารณาญัตติของนายรังสิมันต์หรือไม่”

ทั้งนี้ในการประชุมวิป 3 ฝ่าย วันพรุ่งนี้ (18 ส.ค. 66) จะหารือว่า วาระทั้งหมดจะใช้เวลาเท่าใด อาทิ ญัตติของทบทวนมติรัฐสภาฯ  และคาดว่า จะให้เริ่มโหวตนายกฯ ในเวลา 15.00 น. และรู้ผลโหวตในเวลา 17.30 น. ให้ทุกอย่างเรียบร้อย

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากแนวโน้มเสียงโหวตนายกฯ ยังไม่เพียงพอ จะสามารถประสานรัฐสภาเลื่อนโหวตนายกฯ ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ไปก่อนได้หรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ ตอบว่า ขณะนี้ไม่มีใครประสานมา เมื่อกำหนดวาระประชุมแล้ว ในวันที่ 18 ส.ค. 66 จะออกระเบียบวาระประชุม ถือว่าทุกคนมีความพร้อม ใครจะได้โหวตเป็นนายกฯ ต้องมีเสียง 375 เสียงขึ้นไป ระยะเวลานานมากแล้ว ฝ่ายการเมืองควรต้องมีความพร้อม

ประธานรัฐสภา ยังกล่าวถึงข้อเรียกร้องของ สว. ที่ต้องการให้นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย แสดงวิสัยทัศน์จากการพิจารณาของฝ่ายกฎหมายเห็นว่า ไม่มีประเด็นใดที่กำหนดหรือบังคับให้ผู้ถูกเสนอชื่อต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งต่างจากการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาฯ ที่ข้อบังคับกำหนดไว้

แต่หากมีผู้ประสงค์ให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ เข้ามาแสดงวิสัยทัศน์ สามารถเสนอเป็นญัตติและลงมติชี้ขาดได้ แต่ในมติของรัฐสภานั้น ไม่มีอำนาจบังคับบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกปฏิบัติตาม ดังนั้นในประเด็นดังกล่าว ต้องขึ้นอยู่กับพรรคการเมือง แกนนำจัดตั้งรัฐบาลว่าจะพิจารณาอย่างไร

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า