SHARE

คัดลอกแล้ว

การเลือกตั้งอังกฤษในช่วงปลายปี 2019 และการเลือกตั้งอเมริกาในปี 2020 กำลังใกล้เข้ามา ส่งแรงกดดันต่อบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ว่าจะจัดการปัญหาการซื้อโฆษณาเผยแพร่ข่าวปลอมเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างไร ทีมข่าวเวิร์คพอยท์รวบรวมนโยบายการจัดการของแพลตฟอร์มต่าง ๆ มาให้ดูกัน

(1) เฟซบุ๊คซึ่งเคยถูกบริษัทเคมบริจน์ อนาลิติก้า (Cambridge Analytica) ใช้ในการยิงโฆษณาเพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาในปี 2016 มาแล้ว ยืนยันว่าจะเปิดเสรีการยิงโฆษณาการเมือง ให้นักการเมืองสามารถซื้อโฆษณาเพื่อเผยแพร่ข้อความของตน และไม่ลบแม้ข้อความจะเป็นเท็จ

มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊กอธิบายแนวคิดของนโยบายนี้ว่าต้องการหยัดยืนเสรีภาพทางการแสดงออกไว้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ก่อนยืนยันเรื่องนี้อีกครั้งระหว่างเข้าไต่สวนในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เรื่องสกุลเงินลิบรา โดยบอกว่าที่ยืนยันจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่เป็นเรื่องเท็จเพราะเชื่อว่า หากมีนักการเมืองโกหกก็ควรที่จะให้ทุกคนรู้ว่าเขาพูดอะไร และบริษัทเอกชนไม่ควรปิดกั้นการแสดงความเห็นของนักการเมือง

นโยบายนี้ของเฟซบุ๊กถูกโจมตีอย่างหนักจากหลายภาคส่วน พรรคเดโมแครตที่ชี้ว่าการที่เฟซบุ๊คเปิดช่องให้ล็อกเป้าได้ว่าจะส่งสารทางการเมืองไปยังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ จะทำให้ประชาชนไม่ได้รับข่าวสารตรงกันโดยไม่รู้ตัวและจะสร้างความขัดแย้ง และเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 62 ซาช่า บารอน โคเฮน นักแสดงชาวอังกฤษกล่าวว่าเฟซบุ๊กกำลังเป็น “เครื่องปล่อยโฆษณาชวนเชื่อที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์”

(2) หลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เฟซบุ๊คอย่างหนัก กูเกิลออกมาประกาศว่าจะไม่ให้คนซื้อโฆษณาหาเสียงที่ล็อกกลุ่มเป้าหมายว่าจะส่งโฆษณาไปให้คนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะได้แล้ว โดยจะให้โฆษณาหาเสียงกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้เพียง เพศ อายุ และถิ่นที่อยู่เท่านั้น

สก๊อตต์ สเปนเซอร์ ออกมาเขียนผ่านบล็อกว่าจะใช้วิธีการเหมือนกับที่โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ใช้ คือให้ทุกคนได้เห็นโฆษณาทุกตัวผ่าน Google และ Youtube โดยไม่แยกว่าใครเห็นหรือไม่เห็นตัวไหนเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีนโยบายจะไม่ใช้วิธี “remarket” หรือตรวจจับว่าผู้ชมเคยเข้าเว็บไซค์ของพรรคไหนเพื่อยิงโฆษณาของพรรคนั้นเป็นพิเศษอีกด้วย

ส่วนในเรื่องโฆษณาที่เผยแพร่ข้อความเท็จ กูเกิ้ลระบุว่าจะแบนโฆษณาที่ “ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความเท็จซึ่งอาจส่งผลต่อการไปใช้สิทธิหรือความเชื่อมั่น”

ไมเคิล โพสเนอร์ (Michael Posner) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนิวยอร์กให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่อาจไม่ดีพอที่จะรับมือปัญหาการส่งข้อมูลคลาดเคลื่อน (misinformation) ที่เกิดขึ้นได้

(3) ด้านทวิตเตอร์ ประกาศหักดิบโดยจะไม่รับโปรโมทโพสต์ที่เป็นการเมืองเลย โดยแจ็ก ดอร์ซี่ ซีอีโอของทวิตเตอร์ประกาศผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ว่าจะไม่รับบูสโพสต์หาเสียงของผู้สมัครเลย เว้นแต่กรณีการรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น

อย่างไรก็ดีมีข้อวิจารณ์ว่าจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการได้พื้นที่สื่อ เนื่องจากผู้สมัครรายใหญ่มีผู้ติดตามมากอยู่แล้วจึงไม่เคยต้องซื้อโฆษณา ขณะที่ผู้สมัครรายย่อยที่มีผู้ติดตามน้อยจะทำให้คนเห็นทวีตของตนได้ยาก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า