SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปประเด็นกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของพรรคก้าวไกล ที่นำมาปรับใช้ในวงการนักประชาสัมพันธ์ สื่อสารองค์กรของคอร์ปอเรท รวมทั้งคนทำธุรกิจ SMEs ที่ต้องการเติบโต มีบทเรียนอะไรให้ได้เรียนรู้จากการเลือกตั้งครั้งนี้

ศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ให้สัมภาษณ์ในรายการ TOMORROW ของสำนักข่าวทูเดย์ แกะสูตรความสำเร็จแบบ “ด้อมส้ม” ของพรรคก้าวไกล ว่าคำตอบที่คนทำงานด้านพีอาร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อสารองค์กร แวดวงโซเชียลมีเดีย และคนทำธุรกิจ SMEs ถามและสงสัยกันมากว่า พรรคก้าวไกลใช้เอเจนซี่อะไรในการทำแคมเปญเลือกตั้งครั้งนี้ อะไรคือสูตรของความสำเร็จนี้ คำตอบคือ “พลังของการสื่อสาร” และการสร้างสินค้า คือแบรนด์พรรคการเมืองแบบใช้เงินน้อย แต่เข้าเป้า

– โดยเมื่อถอดสูตรสื่อสารการตลาดด้อมส้ม ตามแนวคิดของศาสตราจารย์สอนวิชาการตลาดชื่อดังชาวสหรัฐอเมริกา ‘บรูซ ไอ.นิวแมน’ (Bruce I. Newman) และผู้เขียนหนังสือด้านการตลาดทางการเมืองไว้หลายเล่ม สามารถถอดโครงสร้างออกมาดังนี้

Branding : พรรคก้าวไกลสร้างแบรนด์ของตัวเองให้เป็นเหมือนสินค้าใหม่ ล้ำสมัย ผ่านเรื่องการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย สร้างความเท่าเทียมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยสวัสดิการนิยม

Positioning : การวางตำแหน่งในใจของลูกค้า มองตัวเองเป็นพรรคใหม่เปลี่ยนประเทศระดับโครงสร้าง เป็นการวาง Positioning ได้เหนือกว่าสินค้าจากคู่แข่ง เช่น เพื่อไทยที่เสนอเรื่องอยู่ดีกินดี แต่ไม่ได้เสนอเปลี่ยนโครงสร้าง

Segmentation : การแบ่งกลุ่มเป้าหมาย โดยพรรคก้าวไกลแบ่งกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ ชนชั้นกลาง กับรากหญ้า โดยนโยบายเชิงแก้ปัญหาโครงสร้างต่าง ๆ เป็นสินค้าที่ขายชนชั้นกลาง เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ การทำให้ทหารออกจากการเมือง การแก้ ม.112 การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ราคาพลังงาน ฯลฯ ส่วนกลุ่มรากหญ้าเสนอสินค้าที่เป็นรัฐสวัสดิการ เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาท สวัสดิการคนชรา เป็นต้น

– ศ.ดร.นันทนา พาไปศึกษาแยกย่อยตามหลักทฤษฎี 4P เพิ่มเติมไปอีกจะพบว่า

Product = 300 นโยบาย, ตัวผู้สมัคร นั่นคือ พรรคก้าวไกลมีสินค้าที่คนอื่นมี เช่น มีนโยบายประชานิยม แต่ที่เด่นคือมีสินค้าที่คู่แข่งไม่มี นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงประเทศในระดับโครงสร้าง อาทิ ทลายทุนผูกขาด ยกเลิกเกณฑ์ทหาร ปฏิรูปกองทัพ เป็นสินค้าที่พรรคอื่นไม่เสนอ อีกโปรดักส์ของพรรคก้าวไกลที่สำคัญคือ ตัวผู้สมัครโดยมาก ที่ใหม่ สด อายุน้อย เป็นคนรุ่นใหม่

Push Marketing = การสื่อสารแบบถึงเนื้อถึงตัว หรือ Ground war ในทีนี่คือ การเน้นเคาะประตูบ้าน และการเปิดปราศรัยที่ทุกครั้งจะเป็นที่นิยมมาก

Pull Marketing = การใช้โซเชียลมีเดีย ถือเป็น Air War ที่ทำได้ดีมาก มีพลังของด้อมส้มที่มาช่วยตัดต่อคลิปลงยูทูป ติ๊กต่อก ทำให้สร้างบรรยากาศบนโซเชียลมีเดียที่ถูกด้อมส้มล้อมไปโดยไม่รู้ตัว จนในที่สุดเหมือนกับทั้งโซเชียลฯคิดเหมือนกัน นอกจากนี้ตัวพรรคได้ผลิตคลิปด้วยการถ่ายทำแบบง่ายๆ ตัดต่อแบบโฮมเมด สื่อสารตรงๆ ไม่มีโปรดักชั่นใหญ่โต รวมทั้งการขึ้นเวทีดีเบต ที่สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งตัวตึงออกไปทุกเวที ด้วยการเสนอที่คม ชัด ฉลาด

Polling = การทำได้จริงใกล้กับโพล ซึ่งคนไม่ค่อยพูดถึงแต่พรรคก้าวไกลทำได้ใกล้ที่สุด เมื่อพรรคประกาศจะคว้า 160 ที่นั่ง แต่ผลจริงได้ 150 ที่นั่ง

– ศ.ดร.นันทนา สรุปว่าทั้งหมดเป็นการทำ Political Marketing ที่สำเร็จ ทำได้ครบ และโดนใจผู้เลือดตั้งที่เปรียบเหมือนลูกค้า เป็นแนวคิดที่คอร์ปอเรท องค์กร ธุรกิจ SMEs สามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยเฉพาะ “เรื่องการใช้สื่อ”

– เมื่อประยุกต์สู่การทำธุรกิจ คือ การเลือกใช้สื่อที่เข้าถึงลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ต้องรู้ว่าลูกค้าของเราใช้สื่ออะไร และเข้าไปอยู่ในสื่อนั้นกับลูกค้าด้วยการสร้างสารที่โดนใจ และสามารถสร้างสารที่โน้มน้าวใจลูกค้าให้คล้อยตามได้ ในทางการเมืองโน้มน้าวโดยใช้อุดมการณ์ นโยบาย แต่องค์กรทางธุรกิจ สิ่งที่จะโน้มน้าวใจลูกค้าได้ คือ ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าแล้วประโยชน์ที่เขาจะได้รับคืออะไร ถ้าสามารถอธิบายและโน้มน้าวให้เขารู้ สร้างสารที่ชัดเจนว่าลูกค้าได้ประโยชน์อะไร ใช้สินค้าคุณแล้วดีขึ้นอย่างไร ลูกค้าจะตอบสนองกลับมา

– บทเรียนจากพรรคก้าวไกลเป็นบทเรียนของผู้ที่ทำธุรกิจ SMEs ได้เป็นอย่างดีว่า พรรคเล็ก ๆ ที่โตขึ้นมาอย่างรวดเร็วได้ โดยไม่ได้ใช้ทุนรอนมากมาย เทียบกับธุรกิจขนาดเล็กแล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จ ได้ลูกค้าถ้าจับใจลูกค้าได้ ทำแคมเปญการตลาดที่เข้าถึงลูกค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้านี้เป็นของของเขาเขาก็จะโอบอุ้มสินค้าของ SMEs นั้นตลอดไป

– เมื่อมาดูพรรคเพื่อไทย เคยมีตำแหน่งเป็นเจ้าพ่อการตลาดทางการเมืองเต็มรูปแบบพรรคแรกของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทยปี 2544 จนเป็นพรรคพลังประชาชนยาวมาจนถึงเป็นพรรคเพื่อไทย ในปี 2566 สินค้าของเพื่อไทยไม่ได้มีปัญหา แคมเปญยังสุดยอด ทำได้ดีตามมาตรฐาน แต่การทำการสื่อสารนำเสนอสินค้าของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งหนนี้เน้นแค่ Grond War คือผ่านป้ายหาเสียง และรถแห่ ไม่ได้เน้น Air War คือไม่ทะลุทลวงอยู่ในโลกโซเชียลมีเดียมากพอ รวมทั้งไม่ได้ส่งแคนดิเดตมาดีเบต

– พรรคประชาธิปัตย์ หากเทียบเป็นสินค้า ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ใกล้ตาย โดยวงจรแบรนด์มีเกิด เติบโต แก่ และมีตาย ทางเลือกคือจะ Rebrand หรือ Reborn ถ้าเลือก Rebrand คือการขุดซากขึ้นมาทำต่อไป ซึ่งยากมากในเวลานี้ แต่ถ้าเลือก Reborn คือการสร้างสินค้าวางโปรดักส์ โพสิชั่นนิ่งใหม่ทั้งหมด ต้องไม่คิดว่าเดิมมีอะไรอยู่ แต่คือทำให้เกิดสินค้าขึ้นมา

ชมคลิปวิเคราะห์ฉบับเต็ม Full Interview

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า