Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ขอบคุณภาพ : วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา

วันที่ 22 ส.ค. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป แถลงกรณียื่นขอเลิกกิจการพรรคประชาชนปฏิรูป ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า มีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคและมีมติเอกฉันท์ให้เลิกพรรคเพราะกรรมการบริหารพรรคติดภารกิจไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มที่ ทั้งเรื่องการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง และการประสานงานสร้างตัวแทนพรรคการเมือง

สำหรับการดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 91 (7) คือ พรรคการเมืองจะสิ้นสุดสภาพได้โดยที่เลิกพรรคตามข้อบังคับของพรรค ข้อที่ 122 ที่ระบุว่าการเลิกพรรคให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคฯ ยังมีมติให้คืนอุดหนุนที่ได้รับจากกองทุนสนับสนุนอุดหนุนพรรคการเมือง จำนวนเงินประมาณ 880,000 บาทด้วย

ไพบูลย์ นิติตะวัน

 

ขณะที่ตนเองสามารถย้ายไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นได้ภายในระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 101(10) ซึ่งตนได้คุยกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐแล้วว่า จะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และจะไปช่วยงานด้านกฎหมายของพรรค ซึ่งจะทำให้จำนวน ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐ เพิ่มจาก 116 เสียงเป็น 117 เสียง แต่เสียงขั้วฝั่งรัฐบาลยังเท่าเดิม ซึ่งกรรมการบริหารพรรคหลายคนจะย้ายไปพรรคพลังประชารัฐพร้อมกันด้วย

ทั้งนี้ ในการทำงานในส่วนคณะกรรมาธิการ ตนตั้งใจจะเป็นกรรมาธิการด้านศาสนา เพื่อให้การดูแลทรัพย์สินของวัดเป็นไปด้วยความโปร่งใสเปิดเผย สามารถตรวจสอบได้ พร้อมส่งเสริมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้พระพุทธศาสนิกชนน้อมนำไปปฏิบัติ

ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ตั้งข้อสังเกตการเลิกพรรคและย้ายพรรคของนายไพบูลย์ว่า  ไม่สามารถจะตัดสินใจย้ายเข้าพรรคใดได้เอง และ กกต.จะต้องคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อใหม่ โดยตัดคะแนนพรรคประชาชนปฏิรูปออก โดยระบุว่า

1. โอนคะแนนไปให้พรรคใหม่ไม่ได้ เพราะตอนประชาชนกาบัตร เขาไม่ได้กาให้พรรคใหม่

2. กกต.ต้องคำนวณ ส.ส บัญชีรายชื่อใหม่ทั้งระบบ โดยตัดคะแนนพรรคคุณไพบูลย์ออก และจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อจาก ส.ส.ที่พึงจะมีแต่ละพรรคใหม่

3. คุณไพบูลย์ ต้องเลือกไปอยู่พรรคที่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่ม (หากเขารับ) และคงสถานะเป็น ส.ส. (แต่หากไม่รับ ความเป็น ส.ส.สิ้นสุดลง)

4. ไม่ควรจบง่ายๆ ว่า ยุบแล้วไปอยู่พรรคไหนก็ได้ทันที เพราะเช่นนั้น บรรดาพรรค 1 เสียงทั้งหลายจะทำตาม เพื่อหลีกความเสี่ยงในความไม่แน่นอนที่ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งใหม่ใน 1 ปี หลังจาก 24 มีนาคม 2562 ว่าอาจถูก กกต.คำนวณใหม่ และหมดสภาพการเป็น ส.ส. เช่นเดียวกับ กรณีพรรคไทยรักธรรม

นายสมชัย ระบุด้วยว่า เรื่องนี้ควรเป็นเรื่องที่สังคมต้องจับตามองและดูแนวการวินิจฉัยจาก กกต.ชุดปัจจุบันว่าจะมีมติอย่างไร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า