Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปิดสมัยประชุมสภาแล้ว  ร่างกฎหมายส่งท้าย ‘พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ’ ลงมติไม่ได้ เนื่องจากสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม ทำให้ต้องค้างพิจารณาไปสมัยประชุมหน้า  

การประชุมร่วมรัฐสภา (ส.ส.- ส.ว.) ในวันศุกร์ที่ 17 ก.ย. 2564 มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ

โดยมี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาชี้แจงสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ โดยสรุปว่า เป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนา “นักเรียนทุกช่วงวัย” ได้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ พร้อมรับกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงทางสังคม สามารถนำองค์ควรรู้ในชั้นเรียนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ปรับวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ไม่ใช้วิธีการทดสอบที่เน้นเชิงวิชาการอย่างเดียว แต่มีวิธีการทดสอบแบบอื่นที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบเชิงรุก เน้นให้นักเรียนเกิดการตั้งคำถาม และหาคำตอบได้ด้วยตนเอง และปรับวิธีการบริหารงานสถานศึกษา กระจายอำนาจตัดสินใจให้โรงเรียน ลดภาระงานอื่นของครู ให้มีหน้าที่สอนเป็นหลักโดยสมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างกว้างขวางกว่า 60 คน

17 ก.ย. 64 – นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา หารือกับ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ

อย่างไรก็ตามหลังการอภิปราย และรมว.ศึกษาธิการ กล่าวขอบคุณสมาชิกรัฐสภาที่ให้ข้อเสนอแนะแล้ว นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมขณะนั้รได้ ‘กดออด’ สัญญาณเรียกสมาชิลงมติ ถึง 3 ครั้ง แต่สมาชิกในห้องประชุมบางตา ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ได้เสนอให้พักการประชุม 30 นาทีแล้วค่อยมาลงมติ
แต่ ส.ส.ฝ่ายค้านท้วงติงว่า ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เป็นกฎหมายสำคัญเทียบเคียงกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเป็นร่างกฎหมายปฏิรูปสำคัญของรัฐบาล หากต้องเลื่อนออกไปอีก 2 เดือนถือว่ารัฐสภาไม่รับผิดชอบกับประชาชน

เข้าสู่ขั้นตอนการนับองค์ประชุม ปรากฏว่า สมาชิกรัฐสภาแสดงตนเพียง 365 คน ซึ่งไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ 730 คน ประธานรัฐสภาจึงไม่ได้ให้ลงมติ

แล้วให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการประกาศ พ.ร.ฎ. ปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2564 เป็นต้นไป

จากนั้น ประธานรัฐสภาได้แจ้งสมาชิกว่า เจอกันวันที่ 1 พ.ย. ซึ่งเท่ากับว่า ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จะต้องไปลงมติสมัยประชุมหน้า

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว

น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการประชุมดังกล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ สมาชิกรัฐสภาให้ความสนใจมาก มีผู้อภิปราย ร่วม 60 คน ใช้เวลาร่วม 8 ชั่วโมง ปิดการอภิปรายสัญญาณอันตราย ไม่ได้โหวตเริ่มเกิดขึ้น เมื่อวิปรัฐบาลขอหารือประธานว่า จะขอเลื่อนไปโหวตในสมัยประชุมหน้า วิปวุฒิสภา อ้างว่า มีกฎหมายปฏิรูปเสนอมาร่วมกัน 2 ฉบับ ร่าง พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ ส่งเสริมการเรียนรู้ ปฏิรูป กศน. ควรเลื่อนพิจารณาไปด้วยกัน

ฝ่ายค้านเห็นว่า ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะไม่โหวตในวันนี้ เพราะการอภิปรายจบแล้ว ปิดการอภิปรายไปแล้ว จึงยืนยันว่าต้องโหวต ประธานจำเป็นต้องดำเนินการต่อตามข้อบังคับ เข้าสู่การลงมติในวาระรับหลักการ

“กดออดเรียกสมาชิกเข้าห้องประชุม เพื่อตรวจสอบองค์ประชุม อ๊อดดดๆๆๆ รอแล้วรออีก ก็ยังไม่ครบ จนมีผู้เสนอให้พักการประชุม 30 นาที ท่ามกลางโห่ ครางแบบเบาๆ ประธานจึงเฉย ไม่รับญัตติ สุดท้าย ประธานไม่รอ ไม่ประกาศผลตรวจสอบองค์ประชุม เพราะถ้าประกาศผลองค์ประชุมไม่ครบ ต้องสั่งปิดการประชุม จึงขอให้สมาชิกลุกขึ้นยืน เพื่อรับฟังท่านเลขาฯ อ่านพระบรมราชโองการฯ ปิดสมัยประชุม

และจำใจต้องปิดประชุมไป โดยไม่ได้แจ้งผลการดำเนินงานของการประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งปกติก่อนรับฟังพระบรมราชโองการฯ ประธานจะแจ้งให้ทราบทุกครั้ง ว่า ประชุมไปกี่ครั้ง กฎหมาย ผ่านไปกี่ฉบับ พิจารณาเรื่องสำคัญอะไรบ้าง จึงเป็นการปิดสมัยประชุมที่ขาดๆ เกิน ไม่ราบรื่นนัก”

นพ.ชลน่าน ยังตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมสภาถึงล่มแม้เป็นการประชุมร่วมรัฐสภา หรือเป็นสัญญาณที่บ่งว่า “ประยุทธ์” ไปต่อไม่ได้จริงๆ จนมุมในสภา ไม่เฉพาะในที่ประชุมไม่ใว้วางใจสภาผู้แทนฯ ลามถึงรัฐสภา “เกมส์การต่อรองแห่งอำนาจ” ส่อวิกฤตทางการเมืองจริงๆ “ประยุทธ์” อยู่ได้ คงต้องใช้ “กล้วย” หมดเป็นสวนๆ สุดท้ายก็ต้องยอม เกมส์โหดขี่คอกินตลอด ไปไม่รอด ต้องยุบสภา ไม่รู้ว่าใครเหนือกว่าใคร ใครได้ใครเสีย ที่แน่ๆ ผู้แพ้คือประเทศชาติและประชาชน ย่อยยับอับปรางค์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า