SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลงานของทีมประเทศไทย ‘ประวิตร’ ปลื้มสหรัฐฯ ยกระดับไทยแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ขึ้นเทียร์ 2 ดีขึ้นจากปี 2564 เผยเกิดจากการทำงานร่วมกันขับเคลื่อนจนมีผลดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมใน 3 ด้านสำคัญ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง เปิดเผยว่า ความก้าวหน้าของการดำเนินนโยบาย เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย เป็นไปตามเป้าหมายในการปฎิบัติการอย่างจรังจัง จนได้รับการยกระดับ เป็นเทียร์ 2 ( 2 Watch List )ที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำ รายงาน TIP Report 2022 (Trafficking in Persons Report) ประจำปี 2565 ระบุถึงสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยที่รายงานว่า รัฐบาลไทยได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่เพิ่มขึ้นในการต่อสู้กับการลักลอบค้ามนุษย์ภายใต้ข้อจำกัด ของการเผชิญวิกฤติการระบาดของโควิด-19มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทย ได้เร่งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ การบริหารจัดการคดี และการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ พ.ศ. 2565 ที่มีเป้าหมาย เพื่อยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในทุกขั้นตอนของกลไกการส่งต่อระดับชาติ

จากการปฏิบัติการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ส่งให้ผลการดำเนินคดี กับผู้กระทำผิดในคดีค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จากจำนวนจับกุม และดำเนินคดี ในปี 2563 จาก 133 คดี เพิ่มขึ้นเป็น 188 คดี และในช่วง เม.ย. 64 – มี.ค.65 ซึ่งได้ดำเนินการข้อเสนอแนะในรายงานทิพรีพอร์ต (2021 US TIP Report) จนสำเร็จครบทั้ง 15 ข้อ ขณะเดียวกัน ยังได้ริเริ่มโครงการสำคัญ (Flagship Project) อีก 4 โครงการ ได้แก่ 1. จัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วย กลไกการส่งต่อระดับชาติ การบริหารจัดการคดี และการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ พ.ศ. 2565 2. จัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ระดับประเทศ 3. จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ และ 4. ออกมาตรการเชิงรุกด้านการป้องกันเด็กจากการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในไทยระดับสากลอย่างยั่งยืน

“โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ระบุว่า สหรัฐฯ พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ แต่ยังมีความพยายามอย่างมีนัยสำคัญในการดำเนินการ และมีความพยายามเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาการรายงานปี 2564 และแม้ว่าไทยจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การสืบสวนคดีค้ามนุษย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น การพัฒนากลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism: NRM) และระยะเวลาการฟื้นฟูไตร่ตรอง (Reflection Period) การจัดทำคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ตามมาตรา 6/1 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การริเริ่มสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ จำนวน 17 คน การจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์แห่งใหม่ การจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานตรวจแรงงานในการส่งต่อกรณีที่อาจเข้าข่ายการค้ามนุษย์ไปยังทีมสหวิชาชีพ และการระบุตัวผู้เสียหายได้จำนวนปี 2564 เป็นต้น”

การจัดระดับที่ดีขึ้นของประเทศไทยในปีนี้ เกิดจากการทำงานร่วมกันขับเคลื่อนจนมีผลดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมใน 3 ด้านสำคัญ ทั้งด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง การพัฒนากลไกการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายโดยคำนึงถึงสภาวะทางจิตใจและยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการทำงานเชิงป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในกลุ่มเสี่ยงและแรงงานต่างด้าว โดยถือเป็นความสำเร็จอีกระดับหนึ่ง ของประเทศไทยจะยังคงมุ่งมั่นป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่องเพื่อขจัดการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า