Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดเอกสารหลุด 23 หน้า 8 ข้อสรุป อ้างเป็นคำชี้แจง ‘พล.อ.ประยุทธ์’ วาระ 8 ปี ต่อศาล รธน. ด้านโฆษกรัฐบาล ยังไม่เห็นเอกสาร ขอทุกฝ่ายรอฟังคำวินิจฉัย

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีมีการเผยแพร่เอกสาร อ้างเป็นคำชี้แจงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่องวาระการดำรงนายกฯ 8 ปี ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่า เบื้องต้นยังไม่เห็นเอกสารดังกล่าว แต่สิ่งสำคัญที่ทุกคนควรพิจารณา คือ ให้เป็นกระบวนการของศาลจะดีที่สุด เพราะความเห็นในข้อกฎหมาย มีข้อคิดเห็นที่หลากหลาย แต่เพื่อให้ได้ข้อยุติสุดท้าย ขอให้รออีกสักระยะก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยอย่างไร ซึ่งสังคมก็ค่อนข้างให้ความมั่นใจว่าผลจะเป็นอย่างไร รวมถึงขอให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงคำร้อง คำชี้แจง และคำวินิจฉัย ที่ไม่สามารถเป็นอื่นได้ จึงต้องรอเวลาอีกสักนิดหนึ่ง คิดว่าทางศาลคงจะมีโอกาสให้ความกระจ่างกับเราในเร็ววันนี้

เมื่อถามว่าจะมีการตรวจสอบหรือไม่ว่าเอกสารหลุดมาได้อย่างไร นายอนุชา ตอบว่า คงเป็นกระบวนการที่อาจเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องมากกว่า เพราะคำชี้แจงหรือสิ่งต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไป ส่งตามช่องทางปกติอยู่แล้ว

• เปิดเอกสารหลุดบทสรุป 8 ข้อ พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงวาระ 8 ปี

สำหรับเอกสารที่มีการเผลแพร่ โดยอ้างว่าเป็นเอกสารชี้แจงข้อกล่าวหาวาระ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ รมว.กลาโหมที่ส่งถึงศาลรัฐธรรมนูญ มีทั้งหมด 23 หน้า ชี้แจงรายละเอียด 8 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1 ยืนยันว่า การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปี จากปี 2557 นั้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจากตนเป็นนายกฯ 2 ครั้ง ครั้งแรก ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ด้วยต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ ตนก็ยังคงดำแหน่งนายกฯอยู่ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 จนมีการเลือกตั้ง

จากนั้นได้รับเลือกเป็นนายกฯครั้งที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ร้องไม่อาจนำระยะเวลาการเป็นนายกฯครั้งแรก ได้เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้ว ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้ความเป็นนายกฯของตนตามพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2557 เป็นอันสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย.2560 ด้วยเช่นกัน

การสิ้นสุดดังกล่าวส่งผลให้ความเป็นนายกฯของตนครั้งแรก จึง “ขาดตอน” จากวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ (6 เม.ย.2560) จึงไม่อาจนับรวมระยะเวลา การเป็นนายกฯครั้งแรกกับการเป็นนายกฯหลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ได้

ส่วนการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ วันที่ 6 เม.ย.หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้นั้น เป็นการดำรงตำแหน่งตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมี ครม.ที่ตั้งขึ้นใหม่ หลังการเลือกตั้ง ในปี 2562

ดังนั้น การเป็นนายกฯ หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ จึงเป็นการดำรงตำแหน่งนายกฯใหม่ตามบทเฉพาะกาล และได้ขาดตอนจากการเป็นนายกฯครั้งแรกไปแล้ว

ข้อ 2 การกำหนดระยะเวลา 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรค 4 เป็นการกำจัดสิทธิทางกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติโดยชัดแจ้ง ว่าหมายรวมถึงความเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญอื่น โดยหลักตีความทางกฎหมายแล้ว หากรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ชัดเจน จะตีความในทางจำกัดสิทธิบุคคลไม่ได้ ซึ่งตรงกับแนวทาง ของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ ที่ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 17 ม.ค.2565 มาเพื่อพิจารณากรณีวาระ 8 ปี การดำรงตำแหน่งนายกฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีตำแหน่งเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 7 คน ได้แก่

  • นายมีชัย ฤชุพันธุ์
  • นายนรชิต สิงหเสนี
  • นายธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย
  • นายประพันธ์ นัยโกวิท
  • นายปกรณ์ นิลประพันธ์
  • นายอัชพร จารุจินดา
  • นายอุดม รัฐอมฤต

โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาทั้ง 7 คน เห็นว่าบทบัญญัติกำหนดวาระ 8 ปี ดังกล่าว หมายถึงนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 เท่านั้น

ข้อ 3 ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีคำวินิจฉัยถึงสถานะความเป็นรัฐมนตรี เมื่อปี 2562 และ 2561 เกี่ยวกับความเป็นรัฐมนตรีของว่า คณะรัฐมนตรีที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2560 บังคับใช้ถือเป็นรัฐมนตรี นับจากวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ และต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560

ข้อ 4 ยืนยันว่า การดำรงตำแหน่งนายกฯของตน ไม่ขัดกับหลักมาตรฐานสากลและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะการจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้นำประเทศ ตามมาตรฐานสากล เป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติธรรม ไม่ปล่อยให้ผู้มีอำนาจอยู่แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดยาวนานเกินไป ไม่ปล่อยให้คนทุจริต มีอำนาจทำการทุจริตได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และข้อกำหนดนี้มิใช่ทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าว ยังระบุคำชี้แจงของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า ข้าพเจ้าสำนึกและปฏิบัติหน้าที่นายกฯ ตลอดมาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และด้วยความจงรักภักดี ด้วยสำนึกในหน้าที่และประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน สูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด

ข้าพเจ้าเชื่อว่า สำนึกในการปฏิบัติหน้าที่และดำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยอันเป็นหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่ใช่เฉพาะแต่ฉบับ 2560

นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า ข้าพเจ้าจะดำรงตำแหน่งนายกฯเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ตราบใด ที่ข้าพเจ้าไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะที่เป็นเหตุให้เสียหายต่อประโยชน์ของประเทศ ประโยชน์สาธารณะของประชาชนแล้ว

ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของข้าพเจ้าก็ไม่ได้ขัดต่อหลักมาตรฐานสากลและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ 2560 แต่อย่างใด

“ข้าพระเจ้าเชื่อโดยสุจริต บนพื้นฐานของหลักกฎหมาย หลักนิติธรรมและมาตรฐานสากลว่าการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของข้าพเจ้าในปัจจุบันยังไม่เกิน 8 ปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เพราะไม่อาจนำระยะเวลาการเป็นนายกฯครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2557 ซึ่งสิ้นสุดลงไปแล้ว มานับรวมกับนายกฯหลังรัฐธรรมนูญปี 2560 บังคับใช้ได้

ข้อ 5 บันทึกการประชุมของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 500 เมื่อปี 2561 ที่ระบุความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า สามารถนับรวมระยะเวลาก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ได้นั้น พบว่า เอกสารดังกล่าวไม่ใช่บันทึกเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงบทสนทนาของนายมีชัย กับนายสุพจน์ ไข่มุก เท่านั้น

ข้อ 6 ข้ออ้างที่ระบุว่า ข้าพเจ้าไม่เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน โดยใช้สิทธิตามกฎหมาย ป.ป.ช. ว่า เป็นนายกฯ มาต่อเนื่องนั้น ไม่สามารถนำมาพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกันได้

ข้อ 7 ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องตีความและใช้รัฐธรรมนูญ วินิจฉัยลักษณะและลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายไม่ใช่ตามข้อเท็จจริงรับรู้โดยทั่วไปของประชาชน เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ เพราะการรับฟังข้อเท็จจริงที่รู้กันโดยทั่วไป เป็นหลักที่ใช้ในการฟังพยานหลักฐานของศาลเท่านั้น ไม่ใช่หลักกฎหมายที่ใช้ในการตีความกฎหมาย

ข้อ 8 ขอกล่าวโดยสรุปว่า การกล่าวหาว่า ตนดำรงตำแหน่งมาครบ 8 ปี ในวันที่ 24 ส.ค.2565 เกิดจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของผู้ร้อง และขอย้ำว่า การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่อาจนับ จากการเป็นนายกฯครั้งแรกเมื่อปี 2557 ได้ เพราะความเป็นนายกฯครั้งแรกของข้าพเจ้าได้สิ้นสุดลงแล้ว และขาดตอนไปแล้ว นับจากวันที่ 6 เม.ย.2560 ซึ่งเป็นวันที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้

การกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่เกิน 8 ปีนั้นหมายถึงการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ 2560 เท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงการดำรงตำแหน่งนายกฯตามรัฐธรรมนูญอื่น

ดังนั้น ข้อกล่าวหาของผู้ร้อง ยังไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและตามหลักนิติธรรม

จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การดำรงตำแหน่งนายกฯ ของข้าพเจ้ายังไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2560 และตามข้อกล่าวหาของผู้ร้อง ขอยื่นแก้ข้อกล่าวหา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า