Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่ นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยกล่าวถึงกรณีสัญญาเช่าศูนย์สิริกิติ์ เอื้อประโยชน์ต่อการขายที่ดินราคาแพง ของบิดาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และการต่อสัญญาสัมปทานบีทีเอสเอื้อประโยชน์เจ้าสัว

ล่าสุดวิษณุ ยืนยัน รัฐบาลรอบคอบ รับฟังความคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด ทำตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้องกรณีสัญญาเช่าศูนย์สิริกิติ์ บอกให้ไปดูรัฐบาลชุดใดเปิดช่องให้แก้สัญญาเช่าศูนย์สิริกิติ์ 50ปี

วันที่ 24 ก.พ. 63 ที่รัฐสภา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณีที่ นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายถึงการแก้ไขสัญญาการให้เช่าและบริหารพื้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า พื้นที่ศูนย์สิริกิติ์เป็นของกระทรวงการคลัง ที่ทำสัญญาให้บริษัท NCC management and development จํากัด มาบริหารพื้นที่ โดยเป็นคู่สัญญากับกรมธนารักษ์มาตลอด มีรายละเอียดสัญญา คือ ต้องสร้างโรงแรม 4-5 ดาว มีห้องพัก 400 ห้อง ที่จอดรถ 3,000 คัน มีศูนย์การค้าร้านค้า หากไม่ก่อสร้างภายใน 25 ปีถือว่าผิดสัญญา

ซึ่งต่อมาเกิดปัญหาขึ้น เมื่อบริษัท NCC บอกว่าทำตามสัญญาไม่ได้ เพราะกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎหมายผังเมืองให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สีน้ำเงิน คือ ห้ามมีสิ่งก่อสร้างสูงเกิน 23 เมตร ดังนั้น ในปี พ.ศ.2544 กระทรวงการคลังจึงหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า จะสามารถยกเลิกสัญญากับเอกชนได้หรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบว่า การที่เอกชนไม่สามารถทำตามสัญญาได้ ไม่ได้มาจากความผิดของเอกชน ก็ไม่สามารถจะยกเลิกสัญญาได้ ทำได้แค่การแก้ไขสัญญา จึงเป็นที่มาของการแก้ไขสัญญาดังกล่าว มีการเอาเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการราชพัสดุ วันที่ 28 มี.ค.2557

นายวิษณุ กล่าวว่า ช่วงการแก้ไขสัญญา เป็นช่วง 2 เดือนก่อนการรัฐประหาร จึงอยากให้ไปดูว่ารัฐบาลไหนเป็นผู้ดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขณะนั้น ในฐานะประธานกรรมการที่ราชพัสดุมีมติให้แก้ไขสัญญาให้บริษัท NCC เช่าสัญญาพื้นที่ศูนย์สิริกิติ์นาน 50ปี ถือว่าเรื่องจบลง เพราะถ้าเป็นการแก้ไขสัญญาให้คู่สัญญารายเดิมไม่ต้องทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน (พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562) จนกระทั่งนำไปสู่การลงนามสัญญาครั้งล่าสุด รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาล ฟังคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด ทำตามขั้นตอนต่าง ๆ จนมาสู่บทสรุป ทั้งหมดนี้จะเอื้อใครหรือไม่ ต้องไปดูว่า เอื้อมาตั้งแต่รัฐบาลใด

ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในขณะนั้นสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า หากเอกชนไม่ได้เป็นผู้กระทําผิดก็มิอาจเป็นเหตุในการบอกเลิกสัญญา ส่วนการแก้ไขสัญญานั้นกระทําได้ แต่ต้องยึดประโยชน์ของรัฐเป็นที่ตั้ง ได้มีการแก้ไข เรื่องการไม่ต้องก่อสร้างโรงแรมในแนวสูง แต่ขยายพื้นที่ในแนวราบออกไป แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่ยังไม่จบสิ้นกัน กระทั่งปี พ.ศ.2556 สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการแก้ไขพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ซึ่งมีการประกาศบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2556 เป็นจุดเริ่มต้นใน การเปิดโอกาสให้มีการทบทวนโครงการที่เข้าข่ายในกฎหมายดังกล่าว โดยเปิดช่องไว้ใน มาตรา 43 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ให้สามารถตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาแก้ไขปัญหาในกรณีโครงการตามกฎหมายนี้ที่มีปัญหา

นายอุตตม กล่าวว่า ตนได้เสนอให้ทบทวนหลายโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหา อาทิ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาพื้นที่หมอชิต รวมทั้งโครงการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน บริษัท NCC management and development จํากัด ได้ส่งหนังสือถึงกรมธนารักษ์ เพื่อปรับแผนการลงทุนโดยข้อเสนอในปี พ.ศ. 2556 มีการเสนอที่จะปรับปรุงสัญญาเช่าโดยขอก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 23 เมตร เพราะมีการปรับปรุงผังเมืองใหม่แล้ว และมีการขอขยายระยะ เวลาเช่าออกไปเป็น 50 ปี ดังนั้นการเสนอสัญญาเช่าออกไปจึงเริ่มต้นในตอนนั้น ต่อมากระทรวงการคลังในขณะนั้นได้ตั้งกรรมการตามมาตรา 43 แห่งการให้เอกชนร่วมลงทุนใน กิจการของรัฐขึ้นมาพิจารณา ในการพิจารณาข้อเสนอของบริษัท NCC management and development จํากัด โดยกรมธนารักษ์ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2556 ผลการศึกษายืนยันว่า มูลค่าการลงทุนกว่า 6 พันล้านบาทในขณะที่ผลตอบแทนให้กรมธนารักษ์ จํานวน 18,998.60 ล้านบาท จะมีเวลาคุ้มค่าการลงทุนที่ 47 ปี จึงเห็นว่า ระยะเวลาการใช้เช่า 50 ปี เป็นระยะ เวลาที่เหมาะสม แต่เพื่อให้สอดคล้องกับมูลค่าการลงทุนและผลตอบแทนให้รัฐ โดยทรัพย์สินทั้งหมดที่เอกชนลงทุนพัฒนา เมื่อครบสัญญาหรือเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา หากมีการกระทําผิดสัญญา ยังตกเป็นของรัฐหรือกรมธนารักษ์ทั้งหมด ไม่ได้เป็นของเอกชนแต่อย่างใด

“สิ่งที่ผมกล่าวมาทั้งหมด เพื่อทําความเข้าใจปัญหานี้ หากมีการสืบค้นประวัติที่มาตั้งแต่เริ่มสัญญาในปี พ.ศ.2539 จนกระทั่งมีการแก้ไขสัญญาครั้งล่าสุดในปี 2560 จึงจะรู้ที่มาที่ไปของปัญหา ขออย่าหยิบแค่ท่อนเดียวหรือห้วงเวลาเดียวคือการแก้ไขสัญญาเมื่อครั้งล่าสุด แล้วทําให้เราไม่เข้าใจปัญหาทั้งหมดในเรื่องนี้” นายอุตตมกล่าว

ส่วนที่ นายยุทธพงษ์ กล่าวถึง กรณีหนังสือทักท้วงจากอัยการสูงสุดเมื่อปี พ.ศ.2556 นั้น นายอุตตม ชี้แจงว่า ล่าสุดกระทรวงการคลังได้นำร่างสัญญาฉบับสมบูรณ์เสนอให้อัยการสูงสุดพิจารณาอีกครั้ง โดยอัยการสูงสุดมีหนังสือตอบเห็นชอบร่างสัญญา เมื่อวันที่ 17 กันยายน ปี 2561 จึงเสนอให้ ครม.ให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

มท. ยืนยัน ต่อสัญญาบีทีเอส เพื่อช่วยประชาชน ลดภาระค่าโดยสาร ลดภาระหนี้รัฐบาล

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวชี้แจง กรณีนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเดิมจะสิ้นสุดปี พ.ศ. 2572 แต่กทม. ได้มีการต่อสัญญาในส่วนต่อขยายที่ 1 เพื่อจ้างบีทีเอสเดินรถ และ รฟม.ได้ทำส่วนต่อขยายในช่วงสีเขียวและสีเขียวใต้ ที่ผ่านมา รฟม.ก่อสร้างโดยใช้เงินกู้เพื่อสร้างทั้ง 2 ส่วน แต่ในการจะดำเนินการในอนาคตจำเป็นต้องจ้างเดินรถและมีแนวโน้มว่าจะขาดทุน เพราะเป็นส่วนต่อขยายในช่วงชานเมือง จนไม่สามารถคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้

พร้อมทั้งระบุว่า โครงการนี้มีหนี้แสนกว่าล้านบาท การบริการสาธารณะของกทม.ไม่มีสภาพคล่องจะแก้ไขปัญหานี้ได้ ในการแก้ไขปัญหาก่อนจะมีคำสั่งของ คสช. มีผลกระทบที่ตามมาคือ ประชาชนต้องแบกภาระค่าโดยสารเต็มระยะสูงสุด 158 บาท หากรอให้สัมปทานหลักหมดอายุลง เอกชนรายใหม่จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากสัมปทานเดิมและสัญญาจ้างเดินรถ หรือหากจะเปิดประมูลเอกชนรายใหม่จะต้องใช้เวลา 2-3 ปี เพื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และประชาชนต้องแบกรับภาระ จึงเป็นที่มาของการมีคำสั่ง คสช. ซึ่งยืนยันว่าคำสั่ง คสช.ไม่ได้เป็นการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เป็นการไปหาทางออกว่าจะทำอย่างไรเพื่อลดภาระของประชาชน โดยจะมีขั้นตอนคล้ายกับพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่มีคณะกรรมการที่มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานเข้ามาดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินการรวดเร็วเพราะเวลาที่เดินไปนั้นหมายถึงดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายออกไปด้วย

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า การเจรจายึดหลักประชาชนได้ค่าโดยสารเป็นธรรม กทม.และรัฐบาลต้องไม่มีภาระหนี้และผลตอบแทนการลงทุนของเอกชนอยู่ในอัตราที่เหมาะสม ทั้งนี้สัญญาสัมปทาน 30 ปี จากสัญญาเดิมที่เหลืออีก 10 ปีนั้นในปี 2562-2572 ในช่วง 10 ปีแรกยังคงเป็นสัญญาเดิม กทม.ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ โดยเอกชนจะเป็นผู้รับภารแทนตลอด 10 ปี และในปี 2573-2602 เริ่มสัญญาสัมปทานใหม่ หลังจากสัมปทานเดิมสิ้นสุดลง สัมปทานใหม่อายุ 30 ปี โดยจะมีการแบ่งรายได้ให้กทม. ทั้งหมดนี้เป็นการแก้ไขปัญหาโดยคำสั่งของคสช. ซึ่งไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ใคร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า