Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ชวน’ เผยเตรียมเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหารือทางออกประเทศ เผยมติวิป 4 ฝ่ายเคาะโครงสร้าง คกก.สมานฉันท์ เชื่อคุยกันดีกว่าไม่ได้คุยกัน เตรียมเปิดประชุมถกร่าง พ.ร.บ.ประชามติ 1 ธ.ค.นี้

วันที่ 24 พ.ย.2563 นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงผลหารือร่วม 4 ฝ่าย ได้แก่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา, นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล และนายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน ระบุว่าที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 1 ธันวาคม 2563 เพื่อพิจารณาเรื่องทั่วไป ,ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม , ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ , และญัตติของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ที่ขอให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 3 ฉบับ ที่ให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมถึงมีมติงดประชุมในวันที่ 9 ธันวาคม 2563 เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาวและให้ประชุมชดเชยในวันที่ 18 ธันวาคม 2563

นายชวน กล่าวว่าวันนี้ที่ประชุมได้มีการพิจารณารูปแบบโครงสร้างคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ไปพิจารณามา โดยสรุป คณะกรรมการสมานฉันท์ จะมีจำนวน 21 คน มาจาก 7 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้แทนจากรัฐบาล 2 คน, ผู้แทนจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 2 คน, ผู้แทนจาก ส.ส.ฝ่ายค้าน 2 คน, ผู้แทนจาก ส.ว. 2 คน, ผู้แทนจากกลุ่มผู้ชุมนุม 2 คน, ผู้แทนจากกลุ่มผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น 2 คน และ 7. ผู้ทรงคุณวุฒิ  9 คน มาจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย 3 คน, จากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 1 คน, จากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย 1 คน, เทคโนโลยีราชมงคล 1 คน และจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านปรองดองสมานฉันท์ 4 คน โดยมีนายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นเลขานุการนายชวน กล่าวว่า เบื้องต้นใช้ชื่อว่าคณะกรรมการสมานฉันท์ แต่หากต้องการปรับเปลี่ยนภายหลังก็สามารถทำได้ รวมถึงตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ นั้นขึ้นอยู่กับมติของคณะกรรมการฯ

นายชวน กล่าวว่าขั้นตอนต่อจากนี้ฝ่ายเลขาธิการสภาฯ จะเป็นผู้ประสานคณะกรรมการ หากกลุ่มผู้ชุมนุมไม่รวมเป็นคณะกรรมการก็ไม่มีปัญหา พยายามจะให้ทุกฝ่ายมาร่วม แต่ถ้าไม่อยากร่วมก็ไม่เป็นไร ความเห็นต่างมีเป็นธรรมดา แต่บางเรื่องเราป้องกันได้ เราจึงต้องศึกษารูปแบบที่เคยทำมา บางเรื่องรู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าข้อขัดแย้งที่เกิดอาจจะไม่ต้องกับกรรมการศึกษา แต่จากประสบการณ์เรารู้ว่าเกิดขึ้นสามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้นในอนาคตเราไม่รู้ว่าขัดแจ้งเพราะอะไร แต่ในอดีตเรารู้แล้ว เรื่องอย่างนี้จึงไม่ควรจะเกิดอีก เราป้องกันอดีตเพื่อลดปัญหาในอนาคต ส่วนอนาคตมีการเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เราไม่มีวันรู้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า