SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกรัฐมนตรี เผย ห่วงปัญหาหนี้สินของประชาชน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือ ขณะที่ ครม. มีมติ ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เหลือร้อยละ 60 เป็นเวลา 6 เดือน

.วันที่ 15 มิ.ย. 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในที่ประชุมยังหารือถึงการลดอัตราเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม คือ กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพอิสระ ซึ่ง ครม. มีมติเห็นชอบลดเงินสมทบลงเหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิมเป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายผลประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกันตน กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และยังทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้นอีกด้วย

สำหรับ แรงงานนอกระบบตาม มาตรา 40 มีประมาณ 3.5 ล้านคน โดยกลุ่มแรงงานเหล่านี้ ล้วนเป็นแรงงานอิสระ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ครม. ได้นำเรื่องปัญหาหนี้สินของประชาชนเสนอต่อที่ประชุม ครม. ให้ได้รับทราบ ตนมองเห็นถึงปัญหาของประเทศของเรา ถ้าประชาชนของเรามีหนี้สินเป็นจำนวนมาก มีหนี้ตั้งแต่อายุน้อยมันจะมีผลต่อทั้งชีวิตของเขา ซึ่งเราก็พยายามแก้ไขมาโดยตลอด แก้ไขในเรื่องของหนี้นอกระบบที่ต้องเข้มงวดให้มากยิ่งขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกประเด็น ทุกประการ

แต่ที่ร้อนใจมากที่สุดคือ หนี้ของ กยศ. จำนวน 3.6 ล้านคน ผู้ค้ำประกัน 2.8 ล้านคน หนี้ครู / ข้าราชการ 2.8 ล้านบัญชี หนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ 27.7 ล้านบัญชี หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 49.9 ล้านบัญชี ปัญหาหนี้สินอื่นๆ ของประชาชน 51.2 ล้านบัญชี โดยเราได้มีการกำหนดมาตรการออกมา ทั้ง มาตรการระยะสั้น ระยะต่อไป

มาตรการระยะสั้น จะทำให้เกิดขึ้นให้ได้ภายใน 6 เดือน ทั้งเรื่องการลดภาระดอกเบี้ยของประชาชนและสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อ PICO และ NANO สำหรับประชาชน ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ของครูและข้าราชการ รวมถึงสหกรณ์ ปรับรูปแบบการชำระหนี้ คุ้มครองความเป็นธรรมให้ประชาชนที่เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทบทวนเพดานอัตราดอกเบี้ยและการกำกับดูแลบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อจำนำทะเบียนอีกด้วย

ส่วนมาตรการระยะต่อไป คือ การเร่งส่งเสริมการแข่งขันให้อัตราดอกเบี้ยถูกลง การให้ความช่วยเหลือเด็กรุ่นใหม่ คนเกษียณที่มีภาระหนี้สิน โดยจะต้องออกมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัย ค่าเดินทางระบบขนส่งมวลชนในราคาถูก การจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ เพิ่มการดูแลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อรายย่อยเป็นการเฉพาะ การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกิจและการเงินเพื่อชะลอการฟ้อง อำนวยความสะดวกให้การฟื้นฟูหนี้รายบุคคล ที่มีเจ้าหนี้หลายราย เป็นต้น

สำหรับ หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันนั้นมีข้อมูลว่าก่อนปี 2557 มีอัตราเพิ่มขึ้นเดือนละ 88,000 ล้านบาท แต่จากปี 57 จนถึงปัจจุบัน มีการเพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 5 หมื่นล้านบาท

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า