Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดแคมเปญ ‘เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%’ กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ล่ารายชื่อ 50,000 คน ชง ครม. ชุดใหม่ ทำประชามติ ตั้ง สสร. และเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชน สลัดทิ้งมรดกคณะรัฐประหารในคราบรัฐธรรมนูญ 2560

กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ และภาคีเครือข่ายหลายองค์กร ร่วมกันเปิดแคมเปญ “เขียนใหม่ทั้งฉบับเลือกตั้ง 100%” บริเวณณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมาหนคร (13 ส.ค. 2566) เชิญชวนประชาชนร่วมเข้าชื่อเสนอเพื่อทำประชามติต่อคณะรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งนี่จะเป็นบันไดก้าวแรกนำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชน สลัดทิ้งมรดกคณะรัฐประหารในคราบรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นต้นตอปัญหาทางการเมืองไทยในปัจจุบัน

ตามกลไก พ.ร.บ. ประชามติ 2564 เราต้องการอย่างน้อย 50,000 ชื่อ เพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติทำประชามติโดยใช้ “คำถามที่ประชาชนกำหนดเอง” ทันทีที่จัดตั้งรัฐบาลใหม่สำเร็จ โดยคำถามที่จะเสนอต่อครม. คือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่ารัฐสภาต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน”

นันทวัฒน์ ศักดิ์สกุลคุณากร คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 ถูกใช้มา 6 ปี โดยถูกอ้างมาตลอดว่าดีไซน์มาเพื่อประชาชน แต่ในทางกลับกันรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาทั้งกระบวนการ อย่างในเนื้อหาพบว่ามีการริดรอนจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน ตัดการมีส่วนร่วมหลายอย่าง เพิ่มอำนาจรัฐ ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ สมาชิกวุฒิสภา (สว.)

ในคำแถลงจัดตั้งรัฐบาลระหว่างพรรคเพื่อไทยกับภูมิใจไทย ช่วงหนึ่งระบุว่าการประชุมคณะรัฐมนตรีวาระแรก จะเร่งให้มีการจัดทำประชามติเพื่อขอจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็ว กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญจึงมีเห็นตรงกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นวาระสำคัญ โดยต้องผ่าน 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.การทำประชามติครั้งแรก ตาม พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 กำหนดไว้ 3 วิธี ผ่านมติสภา ผ่านมติ ครม. และประชาชนเข้าชื่อเสนอ ครม.

2.รัฐสภา ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 โดยกำหนดให้มี สสร. เข้าไป

3.การประชามติ ครั้งที่ 2 ตามมาตรา 256

4.หลังรับรองประชามติผ่านแล้ว ต้องเลือกตั้ง สสร. ซึ่งอาจจะต้องออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง สสร. และคาดว่า สสร.จะใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญ 6-9 เดือน

5.ประชามติครั้งที่ 3 รับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

แม้จะมีขั้นตอนมากมาย แต่ก็มีหลายอย่างที่ดูไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องทำประชติ ขอฉันทามติจากประชาชนให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด ปลายปีนี้ จะมีการทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับและเป็นคำถามประชามติที่จะมาจากประชาชน

รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล เจ้าหน้าที่ iLaw กล่าวว่า เราได้รับบทเรียนจากากรทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ดูซับซ้อนและมีคำถามพ่วงให้อำนาจ สว. เลือกนายกฯ กลายเป็นทางตันของไทย โดยคำถามที่เราจะเสนอให้ทำประชามติครั้งนี้คือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่ารัฐสภาต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” ซึ่งเจาะจงไปที่กลไกของรัฐสภา ส่วนเนื้อหาจะต้องจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยไม่มีเงื่อนไข และ สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และต้องไม่มาจากการแต่งตั้ง

สำหรับกิจกรรมนี้ตั้งเป้าใช้เวลารวบรวมรายชื่อ 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 13-20 สิงหาคม 2566 เน้นให้รวบรวมรายชื่อบนกระดาษ ซึ่งขณะนี้มีจุดให้ลงชื่อเข้า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า