SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่เชื่อติด ASF แค่เคสเดียว ‘หมออ๋อง ก้าวไกล’ บุก กรมปศุสัตว์ ให้เวลา 7 วัน ขอผลตรวจ ASF สุกรทั่วประเทศย้อนหลัง เผย เคยยกเป็นวาระเเห่งชาติ เบิกงบปี 64 เพื่อคุมสถานการณ์แล้วกว่า 900 ล้านบาท แต่กลับบอกไม่โรคนี้ในไทย

วันที่ 11 ม.ค. 2565 ‘หมออ๋อง’ ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 พรรคก้าวไกล อดีตสัตวแพทย์ ยื่นหนังสือขอข้อมูลผลการตรวจยืนยันฟาร์มและจำนวนสุกร ที่ติดเชื้อ ASF แยกตามจังหวัด ตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน โดยมี นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ เป็นผู้รับเรื่อง

ปดิพัทธ์ กล่าวว่า จากกรณีวิกฤตเนื้อหมูราคาสูงในท้องตลาดจนส่งผลกระทบคุณภาพชีวิตประชาชน ในวันนี้ค่อนข้างชัดเจนเเล้ว จากข้อมูลทางวิชาการของภาคีคณะสัตวแพทย์ 14 มหาวิทยาลัย ว่า เกิดโรคระบาดอหิวาต์ในสุกร AFS ในประเทศไทยจริง โดยช่วงเที่ยงที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์มีการเเถลงข่าวหลังจากที่มีการจี้ให้ตรวจสอบในประเด็นนี้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมายอมรับว่า พบเชื้อ ASF ในสุกร 1 เคส จากการตรวจโรงฆ่าสัตว์ใน จ.นครปฐม และราชบุรี จำนวน 300 กว่าเคส ซึ่งเป็นการแถลงที่สร้างความสงสัยให้กับสื่อมวลชนว่า เหตุใดอธิบดีจึงไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปทำข่าวเพื่อซักถามข้อสงสัย เเต่ใช้วิธีการอัดคลิปและส่งต่อในกลุ่มสื่อมวลชนเท่านั้น

“มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่เราเพิ่งจะมาเจอเคสเเรกในวันนี้ เนื่องจากโรคระบาดเกิดขึ้นมา 3 ปีเเล้วเป็นอย่างน้อย จึงเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้หมูตายกว่า 50-60% แต่เมื่อกรมปศุสัตว์ยืนยันว่าจะตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยความโปร่งใส ผมจึงเดินทางมาขอข้อมูลตลอด 3 ปีที่ผ่านมาของการระบาดในสุกร ซึ่งมองย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรคนก่อน ได้เคยพูดให้เรื่องนี้เป็นวาระเเห่งชาติ ดังนั้น กรมปศุสัตว์ควรจะต้องมีข้อมูลตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน”

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ ปดิพัทธ์ ยื่นของต่อกรมปศุสัตว์ โดยให้เวลา 7 วัน ได้แก่

1. ข้อมูลจำนวนผลการตรวจยืนยันฟาร์มและจำนวนสุกรที่ติดเชื้อ ASF แยกตามจังหวัด ตั้งแต่ปี 2562-ปัจจุบัน ว่าที่ผ่านมามีจำนวนฟาร์มที่ยืนยันการติดเชื้อเท่าไร

2. ข้อมูลจำนวนผลการตรวจยืนยันฟาร์มและจำนวนสุกรที่ติดเชื้อ PRRS แยกตามจังหวัดตั้งแต่ปี 2562-ปัจจุบัน ซึ่งต้องนำตัวเลขมาเทียบเคียงตัวเลขกัน

3. ข้อมูลรายเดือนการทำลายสุกรตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ แยกตามจังหวัด ตั้งแต่ปี 2562-ปัจจุบัน

“สิ่งที่ผมต้องยืนยันกับทุกคนคือ ที่ผ่านมาไม่เคยมีการทำลายสุกรที่มากขนาดนี้จากโรค PRRS มาก่อน เพราะ PRRS เป็นโรคเราเจอในประเทศไทยมากว่า 10 ปีเเล้ว เรามีทั้งวัคซีนเชื้อเป็นและเชื้อตายในการรักษาเเละฟาร์มก็คุ้นเคยเป็นอย่างดี กรมปศุสัตว์เองก็ไม่เคยสั่งทำลายสุกรจากโรค PRRS มากขนาดนี้มาก่อน เราจึงต้องการตัวเลขการระบาดของ PRRS ที่เป็นข้ออ้างในการทำลายสุกร  ซึ่งตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ได้ระบุไว้ว่า เมื่อมีเหตุต้องสงสัยต้องมีการตรวจแล็บ แต่การตรวจเลือดต้องใช้เวลา 24 ชม. เราต้องการทราบว่าผลตรวจแล็บยืนยันเรื่องเชื้ออย่างไร มีการทำลายสุกรแยกตามจังหวัดเป็นจำนวนเท่าไร มาจากสาเหตุอะไรบ้าง”

“ส่วนประเด็นสุดท้าย คือเราต้องการข้อมูลของเกษตรกร ได้แก่ จำนวนเงินชดเชยเเละสาเหตุของการชดเชย เพราะอย่างในจังหวัดพิษณุโลก เกษตรกรทำลายหมูไปตั้งแต่ปี 2563 ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2564 ตอนนี้ผ่านมา 10 กว่าเดือนแล้ว ยังไม่ได้รับเงินชดเชย และยังไม่มีคำตอบใดจากทางภาครัฐว่าจะมีมติ ครม. เรื่องนี้เมื่อไหร่ เราจะมาขอความชัดเจนในตัวเลขเพื่อยืนยันการชดเชยจากภาครัฐ เราต้องการให้มีความโปร่งใส ไม่ปล่อยให้มีการสวมสิทธิ์ ไม่ปล่อยให้มีการไปชั่งหมูโดยที่ชาวบ้านไม่มีหลักฐานในมือว่าจะได้รับเงินเยียวยาเท่าไรอย่างไรบ้าง”

ปดิพัทธ์ กล่าวต่อว่า 4 ประเด็นดังกล่าว ที่ขอข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากกรมปศุสัตว์ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน ที่อ้างว่าจะทำงานด้วยความโปร่งใสก็จะเป็นข้อกังขาขึ้นในสังคม สิ่งที่ตนทำวันนี้ไม่ใช่เพื่อที่จะโจมตีรัฐบาล แต่เพื่อศึกษาหาต้นตอของการระบาดให้ชัดเจน เพราะตามที่กรมปศุสัตว์แถลงยืนยันว่าพบมีการติดเชื้อเพียงเคสเดียวที่โรงฆ่านครปฐม ทำไมข้อมูลจึงไม่สัมพันธ์กันกับข้อสันนิษฐานของหลายฝ่ายขนาดนี้ ความผิดพลาดอยู่ตรงไหน จะต้องมีการศึกษาที่ชัดเจนเพื่อเผยเเพร่ข้อเท็จจริงต่อพี่น้องประชาชน

“โรค AFS แม้เจอเพียงเล็กน้อย เราสามารถอนุมานได้เลยว่ามีการติดเชื้อในฟาร์มนั้นทั้งหมด เนื่องจากเชื้อสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน อยู่ในสินค้าที่ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ลูกชิ้น ไส้กรอก เบคอน น้ำจากฟาร์มหนึ่งไปที่ฟาร์มหนึ่ง เลือดสุกรเเค่หยดเดียวก็สามารถติดเชื้อทั้งฟาร์มได้ ดังนั้น การเจอเคสใดเคสหนึ่งจึงต้องรีบจัดการการระบาด แต่สิ่งทีน่ากังวลคือ เหตุใดรัฐเพิ่งจะมาเเก้ไขตอนนี้  3 ปีที่ผ่านมาทำอะไรกันอยู่ ฟาร์มที่เสียหายก่อนหน้านี้ รัฐจะรับผิดชอบพวกเขาอย่างไร และที่สำคัญเหตุใดรัฐจึงปกปิดเรื่องนี้ต่อประชาชน”

นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตต่อการปกปิดข้อมูลของรัฐว่า ตั้งแต่ ปี 62 มีการยกให้ เรื่องการแก้ไขอหิวาต์ในสุกร หรือ ASF เป็นวาระเเห่งชาติใน และได้มีมติ ครม.อนุมัติงบประมาณลงมาหลายก้อนเพื่อป้องกันโรคนี้ พูดง่ายๆคือ อนุมัติราวกับว่ามีโรคเกิดขึ้นเล้ว เเต่กลับบอกต่อประชาชนว่าไม่มีโรคนี้ เฉพาะปี 2564 ที่ผ่านมามีการเบิกงบประมาณไปแล้วกว่า 900 ล้านบาท เพื่อชดเชยการทำลายหมู ดังนั้น หากไม่มีโรคจะนำไปชดเชยทำไม ปัจจุบันมีแม่หมูหายไปแล้วจากระบบร้อยละ 60 หรือจาก 1,200,000 ตัว เหลือไม่ถึง 500,000 ตัว จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเจอเคสในหมูแค่ตัวเดียวในตอนนี้ แต่หากรัฐจะชี้แจงว่าหมูจำนวนมากที่ทำลายไม่ได้มาจากสาเหตุโรคอหิวาต์หมู ก็เชื่อว่าจะมีนักวิชาการจำนวนมากพร้อมให้ความร่วมมือในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

ด้าน นายสัตวแพทย์บุญญกฤช กล่าวว่า ทางข้อมูลที่ทางพรรคก้าวไกลขอมา ทางกรมปศุสัตว์จะเตรียมหาข้อมูลให้ รวมถึงพร้อมเปิดเผยข้อมูลผ่านทางช่องทางประชาสัมพันธ์ของกรมปศุสัตว์ อย่างไรก็ตาม ตนไม่มีอำนาจในการตอบคำถามต่อสื่อมวลชน จึงจะขอไปศึกษาเรื่องดังกล่าวให้ละเอียดอีกครั้ง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า