SHARE

คัดลอกแล้ว

workpoinTODAY อาสาถามแทนคนกรุงเทพฯ ชั้นใน ในเรื่องปัญหาความเป็นอยู่ในชุมชนแออัด คุณภาพชีวิต กับผู้สมัครผู้ว่าฯ กรุงเทพ แต่ละคนจะมีนโยบายอย่างไร

หมายเลข 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล

บ้านมั่นคง เราต้องเลิกความคิดแบบทหารเกณฑ์ คือบังคับให้ทุกคนเอาบ้านมั่นคงทั้งแนวไม่ได้นะ บ้านมั่นคงคิดว่าคุณควรต้องให้ชุมชนเป็นคนตัดสิน ตรงไหนเขาเอาก็เอา ตรงไหนไม่เอา อย่าบังคับ ต้องแก้ไขปัญหาด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ที่ผ่านมาที่มีปัญหากันคืออะไรล่ะ แล้วมันเกิดความแตกแยกระหว่างชุมชน แต่เรื่องที่สำคัญกว่านั้นมันไม่ใช่แค่บ้านมั่นคงนะ มันคือการจัดทำที่อยู่อาศัยที่คนกรุงเทพฯ จ่ายไหวต่างหาก หรือที่เราเรียกว่า Affordable Housing

สุดท้ายเชื่อหรือไม่ พวกเราทุกคนกำลังถูกไล่ออกจากกรุงเทพฯ โดยที่เราไม่รู้ตัว ไล่ออกจากกรุงเทพฯ เพราะว่าเราต้องไปซื้อบ้านที่อื่น เพราะเราไม่สามารถซื้อบ้านในกรุงเทพฯ ได้นะครับ จึงไม่แปลกใจใช่ไหมครับว่า ที่เขตรอบนอกอย่างบางแค คนเยอะขึ้น สายไหม น่าจะสองแสนคน คนเยอะขึ้น ถูกไหม ถามว่าการแก้ปัญหานี้ต้องทำยังไง ก็คือกรุงเทพมหานคร ต้องมีโครงการในการก่อสร้างบ้าน หรือที่อยู่อาศัยในลักษณะคอนโดมีเนียม ที่ไม่ต้องตีตราว่าตัวเองเป็นคนจนนะ ไม่ต้องมีคำว่าเอื้ออาทงเอื้ออาทรอะไรอยู่ในชื่อหมู่บ้านหรือในชื่อคอนโดมีเนียม ไม่งั้นกรุงเทพมหานครจะกลายเป็น Theme Park (สวนสนุก) นะ คืออะไรฮะ ตอนเช้าคนจะเข้ามาเหมือนสวนสนุก แล้วตอนเย็นก็กลายเป็นเมืองเงียบเหงาที่ทุกคนต้องย้ายตัวเองออกไปจากเมือง

นายวิโรจน์ กล่าวว่า ที่น่าโมโหมากๆ ไม่พูดไม่ได้เลย แล้วมันน่าจะเป็นโอกาสอันดีด้วยนะ เพราะที่ดินแปลงใหญ่ที่ครอบครองด้วยนายทุน คุณไปดูดิ น่าโมโหไหม ซอยเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวครับ แล้วก็ตรงกลางเจาะเป็นที่ตาบอดครับ เพราะเป็นที่ตาบอดปุ๊บ ราคาประเมินก็ถูกลงไง พอราคาประเมินถูกลง เสียอะไรน้อยลง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แฟร์หรือ ถ้าเป็นผู้ว่าฯ ก็เวนคืนมาทำ Affordable Housing เวนคืนมาทำสวนสาธารณะ มันไม่ดีกว่าหรือ

หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ

ชุมชนแออัดจะต้องเข้าใจว่าบางทีการบุกรุกรุกล้ำ คือถ้าดีที่สุดเลย ก็คือควรจะหาที่อยู่ใหม่เพราะว่า ชุมชนรุกล้ำอย่างนี้ บางทีคุณภาพชีวิตข้างใน มันไม่ได้ดีเลย คืออยู่ด้วยความแออัด แต่ว่าด้วยความเคยชินของเขาในการอยู่เป็นสิบๆ ปี อยู่ติดที่เนี่ย จะให้ย้ายไปไกลๆ ไม่อยากไป เพราะฉะนั้นเนี่ย อาจจะต้องหาคล้ายๆ เป็นปลูกเป็นเรือนแถวสูงขึ้น แต่ว่าอยู่บริเวณละแวกเดิมเพื่อให้วิถีชีวิตของเขา มันไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก แต่ว่าถ้ามันจําเป็นจริงๆ ก็อาจจะต้องย้ายที่

แต่ว่าถ้ายังย้ายไม่ได้ บางทีคุณภาพชีวิตของเขามันก็สําคัญ เพราะอยู่ในชุมชนอาชีพอะไรนี่มันก็ไม่ได้มีมาก ตอบโจทย์โดยที่ว่าโรงเรียน กทม.เรามีโรงเรียนฝึกอาชีพซึ่งถูกมาก เรียน 200 ชั่วโมง 105 บาทเอง บางทีเรียนทําอาหาร เรียนตัดผม เรียนนวดแผนไทยซึ่งมันเอาไปใช้ประกอบอาชีพได้จริง ซึ่งอันนี้มันก็จะเป็นการช่วยทางชุมชน รวมถึงมันมีเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพของสํานักพัฒนาสังคมซึ่งได้หัวละ 5,000 บาท ซึ่งเวลาคนประกอบอาชีพแล้วจนแล้วไม่ไหวแล้วทําเรื่องมาขอมา เขตก็จะพิจารณาให้เป็นรายๆ ไป แต่สุดท้ายเนี่ย ถ้าเราสามารถย้ายเขาไปอยู่ในที่ที่ใกล้เคียงแต่ว่าทําเป็นแนวสูงขึ้นมาได้ มันจะทําให้ภูมิทัศน์แล้วก็คุณภาพชีวิตตรงนั้นน่ะมันดีขึ้นได้หลายอย่าง

หมายเลข 4 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์

คนที่อยู่ในชุมชนแออัดเนี่ย จริงๆ แล้วเขาจำเป็นต้องอยู่ใช่ไหม ถามหน่อยซิว่าเขาอยู่แล้วเขาห่วงอะไรมากที่สุด มีไม่กี่เรื่องหรอก หนึ่งคือชีวิตเขาที่ต้องอยู่อย่างมีคุณภาพอะ คุณภาพคืออะไร คือลูกเขาได้เรียนหนังสืออะ เราคิดว่าวันนึงลูกเขาอะ จะได้ออกไปอยู่ที่อื่น มีชีวิตที่ดีกว่าเขา เขาก็ต้องดูแลพ่อแม่เขา ในชุมชนเนี่ยท่านเชื่อไหม ไปเจอ ไม่เจอคนติดเตียงนะ เพราะไม่มีเตียงให้ติดครับ ติดเสื่อ เพราะสิ่งพวกนี้ พูดง่ายๆ ว่าปัจจัยพื้นฐานเนี่ย กทม. ช่วยได้เลย

อันดับแรกคือศูนย์รับเลี้ยงเด็กในชุมชน ซึ่งวันนี้แย่มาก กทม. ดูแล 20 บาท เห็นแล้วมีส่งข้าวให้ ส่งแกงจืดวิญญาณหมู ผลไม้เสี้ยวเล็กๆ แบบนี้เขาจะโตเขาจะฉลาดได้ยังไงอะ เพราะงั้นอันดับแรก ตั้งใจจะดูแลลูกๆ ผู้ที่ลำบาก แต่ต้องทำให้ลูกทไม่ลำบาก ลูกท่านต้องดีกว่าท่านอะ เพราะงั้นข้อแรก จะดูแลเรื่องศูนย์รับเลี้ยงเด็กชุมชน พ่อแม่ ไม่มีใครไม่อยากดูแลพ่อแม่หรอก แต่ว่ามันจะยังไงอะ หมอต้องไปอออยู่โรงพยาบาลขนาดใหญ่

วันนี้ตั้งใจเลยว่าอยากจะให้ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน อย่างน้อยสัปดาห์นึงเนี่ย มีหมอไปเยี่ยม และที่อยากจะให้ก็คือ อยากจะติดตั้งอินเทอร์เน็ตให้ฟรีทั่วกรุงเทพฯ และในชุมชน 59 เมืองทั่วโลก อินเทอร์เน็ตเป็นสวัสดิการไปแล้วครับ ทำไมกรุงเทพฯ จะทำไม่ได้ สายระโยงระยางเต็มไปหมดอะ จะเป็นสายอินเทอร์เน็ตฟรีสักสายมันจะเป็นไรไปไหมครับ เพราะงั้นอันนี้ตั้งใจ นอกจากเรื่องชีวิตคน เรื่องสิ่งแวดล้อม คนอยู่กับน้ำเน่าน้ำครำชีวิตจะดีได้ยังไง มันก็อยู่กับน้ำเน่าอะ มุ่งมั่นเหลือเกินนะครับว่า อยากเป็นผู้ว่าฯ ที่แก้ปัญหาไอ้น้ำท่วมน้ำเน่าน้ำหนุนให้ได้ ยังไงบริเวณชุมชนเนี่ย ขอแก้ปัญหา อย่างน้อยที่สุดน้ำเน่ายังไงมันต้องใสขึ้น มันดีขึ้น

หมายเลข 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครอิสระ

คนในชุุมชนเนี่ย โอ้โห จริงๆ แล้วเขาเป็นคนฐานล่างจริงๆ นะ เขายากจน จนแล้วจนจริงๆ เมื่อตอนที่โควิดช่วยเขาได้แค่ไหน ก็พยายามช่วยให้ดีที่สุดอะ แล้วเราก็พยายามเอาชุมชน จะทําไงให้จัดคนฝ่ายพัฒน์ของเขตต่างๆไป ช่วยทําความเข้าใจกับชุมชนให้ความรู้ต่างๆ หาอาชีพโรงเรียนฝึกอาชีพไปตั้งให้ แล้วชุมชนพวกนี้เราก็ดึงเข้ามาสู่การศึกษาด้วยโรงเรียนของกรุงเทพมหานคร เด็กยากจนเรียนทั้งนั้นเลยนะ ว่าลูกคนฐานะกลางขึ้นบนเนี่ยไม่เรียนนะ ก็พยามจะไปเพิ่มตรงนี้ให้เขา เพิ่มเงินค่าอาหาร เมื่อก่อนค่าอาหารรัฐบาลกระทรวงศึกษาธิการให้วันละ 20 บาท ให้กินตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 เท่านั้นนะ

มันจะไปพอกินที่ไหน เช้า 5 กลางวัน 15 บาท 5 บาทกินอะไรได้ ผมอยากจะถาม ไปขอกับสภา กทม. ขออีก 20 บาทต่อวันก็เป็น 40 บาท แล้วทําถาวรไปเลยตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา เด็กในกรุงเทพประมาณ 300,000 คนที่เรียนอยู่ในมือเรา 437 โรง ลูกคนจน เช้าจูงลูกมาฝากไว้ที่โรงเรียนเลย ไปทํางานอะไรก็ไป กินข้าวมากินข้าวที่โรงเรียน เช้ากินพอเลยนะ 15 บาท มื้อเช้ากลางวัน 25 บาท ให้กินตั้งแต่ รัฐบาลให้อนุบาลถึงประถมปีที่ 6 นี่ผมให้ถึง ม.6 เลย ให้กินทั้ง 300,000 คนเลย ให้กิน

พยายามไปดูแลชุมชน เห็นว่าชุมชนเนี่ย คือกําลังหลักในกรุงเทพเลยนะ เพราะถ้าไม่มีคนในชุมชนออกมาทำงานเนี่ย เดี๋ยวนี้ต้องใช้แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งนั้นอะ คนใช้แรงงานมันไม่มีไง เพราะฉะนั้นเนี่ยก็ต้องให้ความสนใจกับชุมชนให้มากที่สุด ยืนยันเลยว่าชุมชนเนี่ยรู้จักเยอะมาก เพราะจะลงชุมชนเกือบทุกวันเลย ไปเยี่ยมคนโน้นคนนี้ ชุมชนนั้นชุมชนนี้ คนในชุมชนรู้จักอัศวิน เกือบหมด

หมายเลข 7 นางสาวรสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ

คือรัฐ เวลาเราบอกเราพัฒนาประเทศ เราต้องการสร้าง GDP เราก็อาศัยคนพวกนี้ แต่เราไม่เคยดูแลเขาไง คือเรามองแต่ GDP ระดับใหญ่ แต่เราไม่เคยมอง Local Economic Development จะทำยังไงที่จะให้คนเหล่านี้ที่เขาเป็นฐานในการสร้างเมืองอะ สร้างกรุงเทพฯ เศรษฐกิจที่ใหญ่โตมาขนาดนี้มันก็ต้องอาศัยคนที่อยู่ในชุมชนแออัดนี่แหละ เพราะฉะนั้นเนี่ยถ้าเรามองมนุษย์ในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์น่ะ รัฐธรรมนูญมันก็รับรองไว้นะ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแต่ละคนอะ แต่เวลาพูดมันพูดได้ไง แต่พอคุณมาพูดทางเศรษฐกิจคุณไม่ได้คิดเรื่องพวกนี้เลย

คิดว่าเรื่องพวกนี้เนี่ยมันเป็นเรื่องที่มันต้องมาคุยกันไงว่า เราจะทำให้ชุมชนแออัดทั้งหลายเนี่ย เขามีชีวิตความเป็นอยู่ในฐานะมนุษย์ได้ยังไง เห็นไหม เพราะฉะนั้นอันนี้เนี่ยมันเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก ที่เรามีหน้าที่ที่จะต้องลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำในทางเศรษฐกิจ แล้วจะลดยังไง ได้แต่พูด แต่ยังไม่มีรูปธรรมในการทำเลย ว่าจะทำให้คนที่เขารองรับฐานทางเศรษฐกิจ สร้างความเจริญให้กับ GDP เหล่านี้ เขามีชีวิตที่ดีขึ้นกว่านี้ได้ยังไง ต้องคิดเรื่องนี้ แต่ว่ารัฐบาลมือมันใหญ่เกินไปไงที่มันจะมาดูแลเรื่องพวกนี้ เพราะฉะนั้นท้องถิ่นเนี่ย มีหน้าที่ที่จะต้องทำ

ทำไมเราจะไม่สามารถตั้งกองทุนขึ้นมาสักกองนึงสำหรับคนเล็กคนน้อยที่เขาต้องไปกู้เงินนอกระบบ เราควรที่จะให้ไอ้เงินตรงนี้เนี่ยมาเป็นประโยชน์กับคนเล็กคนน้อยเพื่อให้เขาเนี่ยยืนได้ด้วยตัวเอง แล้วเขาสามารถที่จะลืมตาอ้าปากได้ คนที่มีน้อย รัฐต้องให้มาก คนที่มีน้อยนะ รัฐต้องให้มาก แต่เวลานี้คนที่มีมากรัฐให้มาก แต่คนที่มีน้อยคุณไม่ได้ให้ความสนใจเขาเลย แต่ดิฉันเนี่ย จะทำ

หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ

หัวใจของเมือง เมืองนี่คือตลาดแรงงาน อย่างเช่นอาจจะมีผู้บริหาร มีนักบัญชี มีวิศวกร มีแม่บ้าน มี รปภ. งั้นเมืองมันจะมีความหลากหลายของอาชีพมากเลย แล้วคนทุกคนก็จะทำหน้าที่ที่ขับเคลื่อนเมือง เพราะงั้นมันก็จะต้องมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไปหาที่อยู่ไกลๆ ไม่ได้ ต้องอยู่ใกล้ๆ งาน แล้วก็อาจจะหาที่อยู่ที่ราคาแพงไม่ได้ มันก็จะมีชุมชนแออัดอย่างนี้อยู่กระจายทั่วเมือง มันก็เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงเมืองนะ งั้นเราต้องดูแลเขา

ทีนี้ถามว่าดูแลก็ต้องมี 2 มิติ มิติแรกคือ ชุมชนแออัดเนี่ยส่วนใหญ่ไม่มั่นคง เพราะว่าเขาอยู่ที่เช่า อยู่ผิดกฎหมาย โดนไล่ที่อะ ทำยังไงให้เกิดความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยได้ หลักๆ ที่ใช้กันเยอะคือทำบ้านมั่นคง ที่ผ่านมาผมว่าที่คลองลาดพร้าว ที่เขาย้ายขึ้นก็เป็นบ้านมั่นคง หลักคือว่าให้ประชาชนออมก่อน พอออมปุ๊บ มีเงินเก็บบ้าง ไปทำโครงการกับ พอช. ซึ่งอยู่ พม. (กระทรวงพัฒนาสังคมฯ) แล้วก็ไปหาที่ดินที่ราคาไม่แพง แล้วก็ไปสร้างบ้านในที่ดินนั้น ให้เขามีหลักแหล่ง ถูกกฎหมาย มีบ้านที่สามารถจะให้ลูกหลานอยู่ต่อได้ อันนี้ต้องทำอย่างจริงจัง กทม. ทำเองไม่ได้ทั้งหมด แต่ต้องเป็นเจ้าภาพ

อันที่สองคือเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนที่อยู่ในชุมชนแออัด คืออย่าไปหวังว่าเขาจะทำบ้านมั่นคงได้ทั้งหมด คนที่อยู่เนี่ยมันอาจจะต้องอยู่ตรงนี้ไปก่อนแหละ เพราะว่ามันไปไหนไม่ได้ ก็ต้องดูแลเขา งั้นผมว่าต้องเข้าไปดูหมดเลย ตั้งแต่การศึกษาใช่ปะ โรงเรียนใกล้บ้าน เด็กไปอยู่ที่ไหน การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลเรื่องขยะ เรื่องน้ำเสีย เรามีแนวคิดนึงที่น่าสนใจคือเราจะทำ อสท. อาสาสมัครเทคโนโลยีประจำชุมชนใช่ไหม

เราไปเห็นแล้วว่าตอนโควิดมีข้อมูลคนที่อยู่ในชุมชน แต่ว่าเป็นอนาล็อก อยู่ในกระดาษ ไม่ได้ขึ้นออนไลน์ เราไม่รู้เลยว่ามีชุมชนแค่ไหน เพราะงั้นมันต้องมีเด็กรุ่นใหม่อย่างพวกเรานี่แหละ ที่มาเป็นอาสาสมัครช่วยเรื่องเทคโนโลยี คนในชุมชนจะเข้าแพลตฟอร์มยังไง จะทำกระเป๋าตังค์ จะทำแอปยังไง เอาข้อมูลในชุมชนเนี่ยขึ้นคลาวด์ ให้รู้ชุมชนนี้มีปัญหาตรงไหน มีคนอยู่เท่าไหร่ Digitize คนเหล่านี้แหละ มันก็จะทำให้เขาเข้มแข็งขึ้นถูกปะ กทม. ต้องลงไปดูแลในรายละเอียดทุกมิติของชุมชน เชื่อว่าเรามีหลายชุมชนที่เราเห็นแล้วว่าเขาสามารถทำได้ดี แล้วมันก็จะไปด้วยกันได้

หมายเลข 11 น.ต.ศิธา ทิวารี สังกัด ไทยสร้างไทย

ยกตัวอย่างชุมชนแออัดคลองเตย พื้นที่เป็น ส.ส. อยู่ตั้งแต่ปี 2544 ใน 2,000 ไร่ นี่เป็นชุมชนแออัดอาศัยอยู่ แล้วก็เปะปะไปหมดนะครับ แล้วชาวบ้านก็มีความเป็นอยู่ที่ไม่ดี คุณภาพชีวิตที่ไม่ดี จริงๆ ถ้าบริหารจัดการพื้นที่ตรงนั้นให้ดี แต่คุณต้องเข้าใจชาวบ้าน ของเดิมเขาทำยังไงครับ เขาย้ายชาวบ้านในเขตเนี่ย แล้วไปสร้างบ้านให้อยู่หนองจอก ลาดกระบัง มีนบุรี ไปอยู่ตรงนู้น

จากบ้านในชุมชนแออัดเป็นบ้านไม้ สร้างบ้านตึกให้เลยครับ บ้านสองชั้นกึ่งๆ บ้านเอื้ออาทรเมื่อก่อนนะครับ กทม. ไปสร้างให้เพื่อจะเอาชุมชนคืนไปทำอย่างอื่น มันคุ้มค่าเพราะว่าพื้นที่ที่ดินตรงนี้มันแพงมาก เขาก็ย้ายออกไป ปรากฏว่าไปอยู่ได้ไม่เท่าไหร่ ทั้งหมดขายบ้านครับ ย้ายกลับมาแอบปลูก (บ้าน) อยู่ข้างในเหมือนเดิม เพราะว่าเขาอยู่ไม่ได้ งานมันไม่ได้ไปด้วย ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี

หนึ่งท่าเรือที่บอกว่าทุกวันนี้อยากจะย้ายออกไปแหลมฉบัง ท่าเรือตรงนั้นดีกว่า เหมาะสมกว่า แล้วปัจจุบันเมืองมันขยายตัวแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องเอาเรือขนสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาตรงนี้ ถ้าให้ผมบริหารจัดการนะครับ ผมคุยกับชาวบ้านได้ และชาวบ้านมีความเชื่อมั่นว่าผมเนี่ยไม่ทำร้ายเขาแน่ อยู่กับเขา กินนอนอยู่กับชาวบ้านตั้งแต่ 22 ปีที่แล้ว จะบริหารจัดการพื้นที่ของคลองเตยใหม่ ทำท่าเรือ 100 ไร่ เขาว่าพอ จะเอา 300 ไร่ก็ 300 ไปเลย ที่ชาวบ้านอยู่เขาก็บอกว่าจริงๆ ที่อยู่กระจัดกระจายอยู่เนี่ย เอามาทำให้ดี ใช้งบประมาณลงไปเนี่ย คุ้มค่าในการที่จะสลับกลับมา แล้วกลับมาเป็นพื้นที่ที่เอามาใช้ประโยชน์ได้

ชุมชนอยู่ 300 ไร่ เขาบอกว่าเหลือเฟือ พอที่จะทำสวนหย่อม ทำนู่นทำนี่ให้กับชาวบ้าน มีพื้นที่ออกกำลังกาย มีโรงเรียน มีศูนย์เด็ก มีอะไรต่างๆ คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนจะดีขึ้นทั้งหมด แล้วจะได้ที่ดินคืนมา ตีว่าได้มา 1,000 ไร่กลมๆ นึกภาพเขตคลองเตยครับ ส่วนนึงสุขุมวิทแพงที่สุดนะครับ มีถนนพระราม 4 ก็รองลงมา ถ้าเกิดทำให้ดีเนี่ยมันเหมือนกับ Opera House ของออสเตรเลียได้เลยนะครับ ฝั่งตรงข้ามมีบางกระเจ้าซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียว แล้วกระบวนการแบบนี้ในทุกชุมชนแออัดของบ้านเราเนี่ย เราสามารถที่จะทำได้ เราเข้าไปเจรจาเข้าไปดูในแต่ละพื้นที่ มีเงื่อนไขที่ไม่ได้ไปเบียดเบียน แล้วทำให้เขาต้องมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเขามากมาย หรือเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีกว่าทุกคนอยากได้คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าทุกคน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า