SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ศักดิ์สยาม’ ขีดเส้น 15 วัน ให้กระทรวงคมนาคมตั้งคณะกรรมการสอบเปลี่ยนป้าย ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ ขณะที่ ส.ส.ก้าวไกล เสนอให้ใช้ทั้งสองชื่อ โดยชื่อใหม่ใช้ในเอกสารราชการ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม(รมว.คมนาคม ) เป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินการรถไฟสายสีแดง เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการขนส่งทางราง โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวง (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) นายจิรุตม์ วิศาลจิตรอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (รักษาการรองปลัดกระทรวง ด้านอำนวยการ)  นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายพิเชษฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางรางหัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

รฟท. ได้กำหนดปรับเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ สายเหนือ สายใต้ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งหมดจำนวน 52 ขบวน ให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดทางรถไฟในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับผู้โดยสารที่มีต้นทาง – ปลายทาง ที่สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์และสถานีดอนเมือง สามารถใช้ตั๋วโดยสารรถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ขึ้นรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เพื่อเชื่อมต่อสถานีที่รถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ไม่หยุดรับ – ส่ง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ส่วนขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และสำหรับขบวนรถนำเที่ยวทุกสายยังคงให้บริการที่สถานีหัวลำโพงเหมือนเดิม อีกทั้งผู้โดยสารรถไฟชานเมืองที่ใช้ตั๋วโดยสารรายเดือน สามารถนำมาใช้กับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม รวมทั้งได้มีการปรับปรุงเส้นทางการเดินรถประจำทางสาย 1 – 33 (บางเขน – สถานีกลางบางซื่อ) สาย 2 – 15 (กระทรวงสาธารณสุข – โรงพยาบาลสงฆ์) และสาย 2 – 17 (วงกลมสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

เพื่อเป็นระบบเชื่อมต่อการเดินทางให้กับประชาชน อีกทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่จะมาใช้บริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ที่สถานีรังสิตจึงได้มีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ (Feeder)  เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะเสริม (Feeder) เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานด้านระบบขนส่งสาธารณะเสริม (Feeder) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการให้บริการบัตรโดยสารรายเดือนร่วมของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถโดยสารปรับอากาศ ขสมก. ปัจจุบัน รฟท. และ ขสมก. ได้จัดทำ MOU ร่วมกันแล้วโดยคาดว่าจะเปิดขายบัตรโดยสารดังกล่าวได้ภายในเดือนมกราคม 2566

ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม ได้สั่งการเพิ่มเติมว่า มอบหมายให้ รฟท. 1.ตรวจเช็คระบบสาธารณูปโภคภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการให้บริการแก่ประชาชน สำหรับการปรับเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกล เชิงพาณิชย์ ที่จะให้บริการที่สถานีกลางฯ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

2.มอบหมายให้ รฟท.ตรวจสอบความถูกต้องให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในพื้นที่ของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และให้มีช่องทางรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนต่อไป

3. มอบหมายให้ รฟท. และ รฟฟท. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และใช้ Influencer ที่มีผู้ติดตามที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การประชาสัมพันธ์ ให้เป็นรูปธรรมต่อไป

4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องของการปรับปรุงป้ายชื่อของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ มีรองปลัดกระทรวง (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เป็นประธาน อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นรองประธาน โดยให้มีผู้แทนจากสภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมสถาปนิกสยาม และกรมบัญชีกลาง ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ และให้ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นเลขานุการ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนต่อไป

‘ก้าวไกล’ แนะใช้ทั้ง 2 ชื่อสถานีกลางบางซื่อ ชื่อใหม่ใช้ในเอกสารราชการ

 นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ป้าย 33 ล้านบาท จะราคาแพงเกินไปหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งที่สังคมสงสัยเพียงอย่างเดียว สิ่งที่สังคมสงสัยมากกว่าคือมีความจำเป็นอะไรถึงต้องเปลี่ยนป้ายจริงๆ เพราะโดยหลักการตั้งชื่อของสถานีขนส่ง ควรเป็นชื่อที่คนจำง่ายและทำให้รู้ว่าตำแหน่งของสถานีอยู่ตรงไหน เช่น สถานีรถไฟชินจูกุ (Shinjuku) ที่ตั้งอยู่ที่แขวงชินจูกุของกรุงโตเกียว สถานีกลางบางซื่อตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ กทม. ประชาชนคนต่างจังหวัด คนต่างชาติได้ยินชื่อก็นึกออกว่าต้องไปที่ไหน 

“แต่วันดีคืนดีกลับมีชื่อใหม่ลอยลงมา ทำให้ต้องเปลี่ยนป้ายใหม่กะทันหัน รัฐบาลต้องเสียงบประมาณไปทำป้ายสองครั้งโดยใช่เหตุ และชื่อใหม่ใช่ว่าจะดี กลับยิ่งทำให้ชื่อสถานีงงกว่าเดิม ดังนั้น ทางออกของเรื่องนี้ง่ายมาก คือให้สถานีมีทั้ง 2 ชื่อ สำหรับชื่อสถานีกลางบางซื่อ ควรคงไว้เพราะเป็นชื่อที่ประชาชนจำง่าย ส่วนชื่อใหม่ให้ใช้ในเอกสารราชการ จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนป้ายให้งง 2 ต่อ” นายสุรเชษฐ์ กล่าว 

นายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า ประเด็นที่สอง ขอฝากให้ประชาชนติดตามการใช้เงินแบบแปลกๆ ที่รอบนี้มากกว่าแค่ 33 ล้านบาท หลังจาก รมว.คมนาคม เตรียมดัน 9 เมกะโปรเจกต์ วงเงินหลายแสนล้านบาทให้ผ่าน ครม.ภายในเดือน ม.ค.และ ก.พ.ของปีนี้ก่อนเลือกตั้ง เป็นวิธีการที่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้มาตั้งแต่เป็นรัฐบาล คสช. น่าสังเกตว่าช่วงก่อนเลือกตั้งกระทรวงคมนาคมจะขยันผิดปกติ รีบดันโครงการโดยไม่มั่นใจว่าได้คำนึงถึงความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งอาจก่อปัญหาได้ในอนาคต  

“การเร่งสร้างโดยไม่พร้อมก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น มอเตอร์เวย์กรุงเทพ-โคราช ใช้แบบเก่าจากปี 2551 มาอนุมัติให้สร้างในปี 2559 ตามแผนคือเสร็จปี 2563 แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่เสร็จ เกิดเป็นช่องว่างต้องหางบมาอุดเพิ่มโดยวิธีการเจรจากับเจ้าเดิม งบบานงานช้าแต่โฆษณาเอาหน้าไปเรื่อย เลื่อนเปิดไปเรื่อย ๆ แทนที่ตอนนี้รัฐบาลจะเร่งสร้างของเก่าให้เสร็จ ก็เอาแต่จะเร่งอนุมัติของใหม่ เราทุกคนจึงต้องตั้งคำถามว่าทำไมการอนุมัติโครงการเช่นนี้จึงเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าก่อนการเลือกตั้งทุกครั้ง” นายสุรเชษฐ์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า