SHARE

คัดลอกแล้ว

ผอ.ไบโอเทค โพสต์แจ้งพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่สองของไทย ต่อมาแจ้งว่าอาจเป็นตัวอย่างของผู้ป่วยไนจีเรียคนเดิม แต่ตั้งชื่อไวรัสต่างกัน จึงสับสน 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า ผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่สองของไทย

ไวรัสฝีดาษลิงที่ตรวจพบในประเทศไทยตอนนี้เป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม A.2 ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในยุโรปและอเมริกาซึ่งเป็นกลุ่ม B.1 (สีเหลือง) ไวรัสใน 2 กลุ่มนี้มีความแตกต่างกันไม่มากในภาพรวม แต่มากพอที่จะแยกจากกันเป็นกลุ่มที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นกำเนิดของไวรัสที่ระบาดในประชากรมนุษย์ เชื่อว่ามาจาก 2 แหล่งที่แตกต่างกัน และ เนื่องจาก A.1 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เก่ามากกว่าจึงทำให้เชื่อว่าไวรัสฝีดาษลิงอาจจะอยู่ในประชากรมนุษย์มาสักพักนึงแล้วก่อนที่จะมีการระบาดอย่างเห็นได้ชัดของกลุ่ม B.1 ในตอนนี้ สำหรับความแตกต่างของอาการของโรค หรือ ความรุนแรงระหว่าง A.2 กับ B.1 ยังไม่มีข้อมูลแบ่งแยกออกมาชัดเจน

ถ้าดูจากข้อมูลของ A.2 ในฐานข้อมูลจะเห็นว่า A.2 ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มมากเท่ากับ B.1 อาจจะเป็นเพราะไวรัสในกลุ่ม A.2 ยังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับไวรัสที่ระบาดหนักในตอนนี้ ข้อมูลนี้ชี้ว่าไวรัสในประเทศไทยพบแล้วในผู้ป่วย 2 ราย สายพันธุ์แรกคือจากชายชาวไนจีเรีย (Phuket-74)

และ อีกตัวอย่างหนึ่งมาจากผู้ป่วยอีกรายที่ถอดรหัสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-ID220016-FTV) โดยไวรัสสองตัวอย่างมีความใกล้เคียงกันมาก และ มากกว่าสายพันธุ์ A.2 ที่ไปพบในอินเดีย และ สหรัฐอเมริกา เป็นไปได้สูงมากว่า ผู้ป่วยรายที่ 2 ได้รับเชื้อฝีดาษลิงมาจากชายชาวไนจีเรียรายแรก และ ยังไม่ใช่สายพันธุ์ B.1 ที่เป็นสายพันธุ์หลักของโลกตอนนี้

.. เนื่องจาก A.2 มาก่อนหลายปี แต่มีผู้ป่วยน้อยกว่า B.1 มาก เลยแอบตั้งสมมติฐานว่า ไวรัส A.2 อาจจะมีคุณสมบัติการแพร่กระจายน้อยกว่า B.1 ซึ่งการที่ยังไม่พบ B.1 ในประเทศไทยอาจจะเป็นข่าวดีอยู่นิดๆครับ

ต่อมา ดร.อนันต์ ได้ลบโพสต์ดังกล่าวไป และได้โพสต์แจงว่าตัวอย่างฝีดาษลิงรายที่ 2 ในประเทศไทย น่าจะเป็นตัวอย่างจากผู้ป่วยไนจีเรียคนเดิมครับ แต่ตั้งชื่อไวรัสต่างกัน จึงสับสน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า