SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 16 เม.ย. 2565 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 3 ร่วมกับกลุ่ม Bike in the City ปั่นจักรยานสำรวจประเด็นปัญหาและแนวทางปรับปรุงเส้นทางจักรยานบริเวณแนวถนนเลียบด่วน ลาดพร้าว-รามอินทรา ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นจุดที่มีแผนการสร้างทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว สีเทา ประดิษฐ์มนูธรรมและสีน้ำตาล ประเสริฐมนูกิจ

นายสกลธี กล่าวว่า เป้าหมายการปั่นจักรยานสำรวจเส้นทางในวันนี้ เพื่อต้องการดูปัญหาและแนวทางการเพิ่ม เส้นทางจักรยานอื่นๆ ใน กทม. เนื่องจากเส้นทางนี้ถือว่าเป็นเส้นทางจักรยานที่สมบูรณ์ที่สุด สามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการสร้างเพิ่มเติมในเขตอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ ที่เคยทำอยู่แล้ว หรือบริเวณ ถ.โยธี พระรามหก ที่อยู่ในแผนของตนอยู่แล้ว รวมถึงอาจจะเป็นในส่วนของฝั่งธนฯ ที่ไม่ใช่ถนนที่ต้องใช้ความเร็ว แต่เป็นทางที่ประชาชน หรือนักท่องเที่ยวต้องการมาสัมผัสเสน่ห์ของชุมชนแม่น้ำเจ้าพระยา

จักรยานยังเป็นยานพาหนะสำคัญ ที่จะนำคนออกจากบ้าน ตรอกซอยต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกมากยิ่งขึ้น จึงคิดว่าหากสามารถทำเส้นทางจักรยาน ให้มีความปลอดภัย และผู้คนสามารถมั่นใจในการเดินทางก็จะช่วยให้คนหันมาใช้จักรยาน เป็นการลดปัญหาด้านการจราจรของ กทม.ไปได้ ที่จริง กทม. มีเส้นทางจักรยานที่สร้างไว้หลายเส้น โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพระนคร แต่ที่ผ่านมาถูกรถยนต์ไปจอดทับ ทำให้ผู้ที่ใช้จักรยานไม่สามารถใช้งานได้ เรื่องนี้ต้องสร้างความเข้าใจ สำหรับคนที่ใช้รถใช้ถนนให้เคารพสิทธิ์การใช้ถนนร่วมกัน

“ตามนโยบายของผมคือจะปรับปรุงเส้นทางจักรยานให้มีความปลอดภัย และเพิ่มเส้นทางในเขตอื่น ๆ เพื่อให้คนใช้จักรยานทั้งเพื่อสุขภาพ และใช้เป็นยานพาหนะ หรือการท่องเที่ยวที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น เช่น ในพื้นที่ฝั่งธนบุรีที่ประชาชน หรือนักท่องเที่ยวอาจจะอยากละเลียดกับบรรยากาศที่เป็นเสน่ห์ของชุมชนเล็กๆ หรือเสน่ห์ของแม่น้ำเจ้าพระยา” นายสกลธี กล่าว

นายสกลธี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ลงพื้นที่สำรวจก็จะเห็นได้ว่า พื้นที่ฟุตบาทต่างๆ จำเป็นต้องปรับปรุงให้มีความปลอดภัย ทั้งคนที่ใช้จักรยาน ผู้สูงอายุ หรือคนพิการด้วย เพราะที่เห็นอยู่ตอนนี้ส่วนใหญ่ชำรุด และการปลูกต้นไม้ที่ไม่เหมาะสมทำให้รากชอนไชทำให้ทางเดินทางพังในอนาคตหากจะทำทางเท้า ไม่เพียงแต่คำนึงถึงอุปกรณ์ทางเท้าแล้ว ยังต้องคำนึงถึงต้นไม้ที่จะนำมาปลูกก็ต้องให้เหมาะสม ไม่ใช่ว่าจะเอาต้นอะไรมาปลูกก็ได้ เพราะรากจะทำให้ทางเท้าเสียหายได้

“ตอนนี้ทางเท้าพังๆ แบบนี้มีเยอะ คิดว่าการดีไซน์ทางเท้าจะต้องควบคู่ไปกับพันธุ์ไม้ ที่ไม่มีรากจะชอนไชทำให้ทางเท้าพัง ต่อไปเราจะไม่สามารถทำอะไรแบบเดิมไปได้ แต่จะต้องดูองค์ประกอบทั้งต้นไม้ อุปกรณ์ที่จะมาทำ ซึ่งถ้าจะทำทางเท้าให้ดีเหมือนต่างประเทศหรือของเอกชน งบฯ จะต้องแพงกว่านี้อยู่แล้ว ส่วนที่เคยทำกันมา หนึ่งคือประหยัด และสองคือง่ายต่อการรื้อ ให้สะดวกกับการซ่อมหรือขุดเจาะของหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคอื่น ทั้งประปา ไฟฟ้า ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่จะต้องนั่งคุยกับหน่วยงานเหล่านี้ ว่าถ้ารื้อแล้วจะส่งคืนในสภาพเดิม และสำนักงานโยธาของกรุงเทพมหานคร ก็ต้องตรวจรับงานให้ดี เพราะถ้าปล่อยผ่านๆ ไปก็จะเป็นอย่างที่เห็น” นายสกลธี กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า