SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม.เตรียมแผน 3 ระยะ รับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ คาดรับมือได้หากไม่มีฝนตกหนักต่อเนื่องเกินศักยภาพการระบายน้ำหรือมีน้ำทะเลหนุนและน้ำเหนือร่วม พร้อมแผนสำรองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

วันนี้ (7 มิ.ย. 65) น.ส.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯ กทม.ร่วมประชุม กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เพื่อติดตามและเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน 2565 โดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม ซึ่งในที่ประชุมได้มีการสรุปภาพรวมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน 2565 และการติดตามผลการดำเนินการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในระดับพื้นที่

ด้าน กทม. น.ส.ทวิดา เป็นตัวแทนรายงานการเตรียมความพร้อมในส่วนของ กทม. ว่า ได้เตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัยมาตั้งแต่เดือน ก.พ. โดยสำนักการระบายน้ำร่วมกับสำนักงานเขตและสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตรวจสอบแนวป้องกันน้ำท่วมให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงตรวจสอบอุโมงค์ระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ บ่อสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความพร้อมในการใช้อยู่เสมอ รวมถึงมีการเตรียมติดตั้งเครื่องสูบน้ำและแผนสำรองไว้ด้วยกรณีมีเหตุฉุกเฉิน

นอกจากนี้ กทม. ดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้ว 2,065 กิโลเมตร จากทั้งหมด 3,027 กิโลเมตร อีกทั้งมีการประสานงานการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและหน่วยงานภายนอกเพื่อบูรณาการความร่วมมือกรณีที่ต้องมีการปรับแผนรองรับการเผชิญเหตุไว้ด้วย

ส่วนระยะที่ 2 เตรียมการตั้งแต่ภาวะปกติจนถึงขั้นตอนการเตือนภัยให้ประชาชน ซึ่งขณะนี้ได้เร่งรัดการตรวจสอบคูคลองสายหลักและสายย่อยเพื่อให้สามารถรองรับน้ำและส่งน้ำไหลไปตามสายต่างๆ จากสายย่อยสู่สายหลักได้เร็วที่สุด มีการแจ้งเตือนภัยประชาชนเป็นระยะๆ โดยศูนย์ป้องกันน้ำท่วมกทม. มีการติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ต่อเนื่องตลอดเวลา อีกทั้งมีการคาดการณ์ความเสี่ยงล่วงหน้าเพื่อให้หน่วยเคลื่อนที่เร็วสามารถออกไปประจำจุดต่างๆ เตรียมพร้อมคลี่คลายสถานการณ์ให้ได้เร็วที่สุด

กรณีฝนตกไม่เกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง กทม. มีศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ได้ ไม่ทำให้เกิดปัญหารุนแรง แต่หากกรณีมีฝนตก 60-90 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ตลอดจนมีน้ำเหนือหลาก หรือน้ำทะเลหนุนร่วม ซึ่งเป็นปัญหาหลักของกรุงเทพมหานคร เตรียมแผนและหน่วยเคลื่อนที่พร้อมปฏิบัติงานดูแลประชาชนและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพร้อมทั้งมีการแจ้งเตือนภัยรวมถึงข้อการปฏิบัติตนให้ประชาชนทราบเป็นระยะ กรณีเกิดเหตุรุนแรงขึ้นจะมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่และฟื้นฟูพื้นที่ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติกำหนดไว้

สำหรับระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย อยู่ในช่วงเดือน พ.ย.-ม.ค. เป็นช่วงที่สามารถตรวจสอบและถอดบทเรียนหลังเกิดเหตุ กทม.จะดำเนินการถอดบทเรียนและเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ครั้งต่อไป

รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวด้วยว่า ขณะนี้กรุงเทพมหานครได้เตรียมความพร้อมทุกด้านสำหรับการรับมือสถานการณ์อุทกภัยช่วงฤดูฝนในพื้นที่กรุงเทพฯ ไว้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำได้หากไม่มีฝนตกหนักต่อเนื่องเกินศักยภาพการระบายน้ำหรือมีน้ำทะเลหนุนและน้ำเหนือร่วมด้วย แต่หากเกิดกรณีฉุกเฉินกรุงเทพมหานครได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ไว้แล้วเพื่อคลี่คลายความเดือดร้อนให้ประชาชนให้ได้เร็วที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า